วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

บทที่ 5 การปฏิบัติเมื่อเกิดโรคระบาด

บทที่ 5
การปฏิบัติเมื่อเกิดโรคระบาด

วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดโรคระบาด
หลักปฏิบัติเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้น การปฏิบัติของผู้เลี้ยงเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นในฟาร์มนั้นนับว่ามีความสำคัญ อย่างยิ่ง ในการป้องกันโรคไม่ให้แพร่ระบาดออกไปอีก ในที่นี้จะขอกล่าวเป็นข้อ ดังนี้
การสังเกตลักษณะอาการที่ปกติ
ผู้เลี้ยงสัตว์ที่ดีนั้นต้องหมั่นเฝ้าดูการกินอาหาร และน้ำ และการให้ผลผลิตอยู่ตลอดเวลาแต่อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ คอยสังเกตดูลักษณะอาการท่าทาง ที่ปกติของสัตว์ในฝูงไว้ให้ดี ซึ้งถ้ามีอาการที่ผิดปกติไปจากที่เคยเห็นประจำก็สามารถลงความเห็นได้ว่า สัตว์ในฝูงมีอาการที่ผิดปกติซึ่งอาจเกิดจากโรคก็ได้ ผู้เลี้ยงความปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไป
1. ตรวจสอบว่าเกิดจากโรคติดต่อหรือไม่
มีบ่อยครั้งเหมือนกันที่ผลจากการวินิจฉัยาโรคจากห้องปฏิบัติการปรากฏไม่ได้เกิดจากโรคติดต่อ แต่เป็นผลเนื่องมาจาก การจัดการ เช่น ไก่มีการตัดปากที่ผิดวิธี การกินวัสดุปูพื้น และ เศษวัตถุต่าง ๆ
การอดอาหาร และน้ำ , การหนาวสั่นในลูกไก่ บาดแผลจากการจับที่รุนแรง หรือจากเครื่องมือชนิดอัตโนมัติ หรือ จากการฉีดยา ความล้มเหลวในด้านการให้แสง การจิกกันของไก่ การสำลักควัน เลี้ยงสัตว์ในคอกแน่นเกินไป ให้อาหารน้อยไป ใช้รางอาหารรางน้ำน้อยไป ไม่พอสำหรับจำนวนสัตว์ การระบายอากาศไม่ดี อาหารที่ใช้เลี้ยงมีคุณค่าทางอาหารต่ำ สภาพต่าง ๆ เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องส่งไปตรวจยังห้องปฏิบัติการแต่อย่างใด สำหรับพยาธิภายนอก ( เช่น ตัวหมัด ,เหา, หิด,เห็บ เป็นต้น) ผู้เลี้ยงสามารถตรวจดูรู้ได้โดยตัวเอง
2. ให้แยกกักกันสัตว์ป่วย
จากการตรวจดูถ้าแน่ใจแล้วว่าสภาวะที่เกิดกับสัตว์ในฝูงไม่ได้มีปัจจัยเกี่ยวกับการจัดการ มาเกี่ยวข้องแล้ว ขั้นต่อไปก็ให้ตั้งต้นกักกันคอก โรงเรือน บริวณฟาร์ม ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับลักษณะของฟาร์มเป็นสำคัญ ถ้าเป็นไปได้ก็ให้แยกคนเลี้ยงในฝูงสัตว์ที่ป่วย ไม่ให้ไปยุ้งกับสัตว์ในฝูงหรือคอกที่ปกติ และให้เปลี่ยนเสื้อผ้ารวมทั้งรองเท้าตัวใหม่ หรือคู่ใหม่ทุกครั้ง ระหว่างเข้าคอกแต่ละคอก ถ้าแยกไม่ได้จริง ๆ ก็ให้ผู้เลี้ยงเข้าคอกสัตว์ป่วยสุถดท้ายหลังจากเข้าคอกสัตว์ปกติแล้ว
3. ส่งตัวอย่างโรคหรือติดต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์โดยตรง
ผู้เลี้ยงหรือเจ้าของหรือเจ้าหน้าที่บริการจากบริษัท ควรที่จะได้ส่งตัวอย่างของโรคไปตรวจยังห้องปฏิบัติการวินิจฉัยโรค หรืออาจติดต่อกับเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ทางด้านโรคสัตว์ให้มาช่วยตรวจสัตว์คอกหรือฝูงที่ป่วย
4. ให้การวินิจฉัยโรคโดยทันที
เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะวินิจฉัยโรคโดยทันที ซึ่งที่ระยะเวลาในการวินิจฉัยที่ขึ้นอยู่กับโรคที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ การวินิจฉัยโรค โดยการผ่าซากบางครั้ง ถ้าผู้วินิจฉัยโรคมีความชำนาญก็อาจจะทราบได้ว่าสัตว์เป็นโรคอะไร แต่บ่อยครั้งที่จำเป็นต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันให้แน่นอนอีกครั้ง
5. ให้การระมัดระวังเป็นพิเศษ
ในกรณีที่สัตว์ป่วยเป็นโรคที่สงสัยหรือได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคที่สำคัญอันตรายต่อมนุษย์ เช่น โรค ไข้หวัดนก , โรคอีรอชีฟีแอส และการติดเชื้อรา ก็ให้ผู้เลี้ยงและผู้ตรวจเพิ่มความระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ สำหรับในต่างประเทศ บางประเทศนั้น ถ้าปรากฏว่า มีไข้หวัดนก การติดเชื้อชาลโมเนลล่า , โรคกล่องเสียงอักเสบ เกิดขึ้นเมื่อใด ก็ตามผู้เลี้ยง หรือเจ้าของต้องแจ้งให้ทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคสัตว์ทราบทันที ทันใด มิฉะนั้นถือว่าเป็นความผิด
6. การใช้ยารักษา
ไม่ควรใช้ยารักษาก่อนที่จะได้มีการวินิจฉัยโรคที่แน่นอน หรือได้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ที่ชำนาญทางด้านโรคสัตว์เสียก่อน การใช้ยาที่ผิดหรือไม่ถูกต้องโรคนั้น แทนที่จะเสียเงินเสียทองโดยไม่คุ้มแล้ว ทำให้เป็นอันตราย หรือเป็นภัยวิบัติตามมาก็ได้ ถ้าผลการวินิจฉัยโรคว่าเกิดจากโรคติดต่อ ก็ให้ใช้ยาทำการรักษาทันที โดยให้ใช้ตามาคำแนะนำ ในต่างประเทศมีหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการให้ความรู้ในการใช้ยาต่าง ๆ ในการรักษาโรคโดยเฉพาะ ทั้งนี้เพราะว่ามียาหลายชนิดถ้านำมาใช้กับสัตว์แล้วฤทธิ์ของยาจะตกค้างอยู่ในผลผลิตของมัน เช่น ในไข่ และในเนื้อได้ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องทำความเข้าใจกับยาชนิดต่าง ๆ ให้ดี และเข้าใจเสียก่อน
ถ้าเกิดโรคระบาดกับฝูงสัตว์หรือในคอกพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งสามารถแพร่ระบาดผ่านสู่ลูกได้ เช่นผ่านทางไขฝัก ได้แก่ โรคซาลโมเนลโลซีส , ไมโคพลาสโมซีส , โรคเยื่อหุ้มสมองอับเสบ (ไข่ที่ได้จากฝูงพ่อแม่พันธุ์ ไม่ควรนำมาใช้สำหรับฟัก ให้พึงระลึกอยู่เสมอว่า ฤทธิ์ของยาที่ใช้ในการรักษาพ่อแม่พันธุ์ที่ป่วย อาจจะตกค้างด้วย ผ่านสู่ไขและบางครั้งบางคราวอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนในไข่ได้เหมือนกัน)
7. ทำลายสัตว์ป่วย ที่มีโอกาศหายจากโรค
สัตว์ที่ป่วย หรือ พิการในคอก ควรจะฆ่า ทำลายโดยต้องไม่ให้เลือด หรือ เอ็กซูเดท ( exudate ) แพร่กระจาย สัตว์ที่ตายเนื่องจากโรคหรือ ที่ได้ฆ่าให้ตายให้จัดการกำจัดทิ้งโดยการ เผา หรือ ฝัง ให้ถูกหลักวิชาการ

การปฏิบัติเมื่อเกิดโรคระบาด
การทำความสะอาดโรงเรือนและการใช้ยาฆ่าเชื้อโรค
การทำความสะอาดโรงเรือนคอกสัตว์ และอุปกรณ์ภายในโรงเรือนเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการทำอยู่เสมอ ๆ เป็นกิจวัตร ครั้งนี้เพื่อทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เพิ่มจำนวนขึ้นในแต่ละวัน และเป็นการกำจัดของเสีย และสิ่งเหลือใช้ที่อาจเป็นพิษต่อสัตว์ได้ การทำความสะอาดควรจะทำทุกซอกทุกมุมเท่าที่จะเป็น
ไปได้ เพื่อให้เชื้อโรคและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ถูกกำจัดหมด ผู้ที่จะทำความสะอาดควรฝึกนิสัย ให้เป็นคนรักงาน มีความละเอียดรอบคอบและรู้จักใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ อีกด้วย
การใช้ยาฆ่าเชื้อโรคซึมเข้าถึงตัวเชื้อโรคได้ ยาฆ่าเชื้อโรคจะออกฤทธิ์ได้เต็มาที่เชื้อโรคบางชนิดมีระบบป้องกันอันตรายของตัวมันเอง เช่น มีสารฉาบอยู่ที่ผิว ทำให้ไม่เปียกน้ำ ใน กรณีเช่นนี้ เราควรใช้สารที่ทำให้เปียกน้ำด้วยเรียกว่า Wetting agent เช่น สบู่ ผงซักฟอก การใช้ยาฆ่าเชื้อโรคก็เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความรู้ด้วย ตามปกติควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จึงจะทำให้การใช้ได้ผลดีที่สุด
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำความสะอาดโรงเรือน
1. ไม้กวาดพื้นและเพดาน , ไม้กวาดทางมะพร้าว
2. แปรงถูพื้นแบบต่าง ๆ
3. ถังน้ำ
4. สายยาง
5. เศษผ้า
6. ฟองน้ำ
7. พลั่ว
8. รถเข็นขยะมูลฝอย
9. สบู่ ผงซักฟอก
10. รองเท้าบูท
ขั้นตอนในการทำความสะอาดโรงเรือน
1. จัดเตรียมอุปกรณ์การทำความสะอาดโรงเรือน
2. เตรียมตัวให้พร้อมเช่น เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย, สวมรองเท้า , ใส่หมวก เป็นต้น
3. เก็บอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเข้าที่
4. กวาดพื้นและเพดาน ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด
5. เก็บขยะมูลฝอย , อุจจาระ , เศษอาหาร
6. ใช้น้ำฉีดพ่นพร้อมกับใช้แปรงหรือไม้กวาดทางมะพร้าวล้างให้ทั่วทุกมุกคอก
7. ใช้สบู่ หรือ ผงซักฟอก ละลายน้ำแล้วทำการล้างให้ทั่ว
8. ทำการล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้งหนึ่ง
หมายเหตุ การทำความสะอาดคอกสัตว์ควรทำหลังจากในคอกสัตว์ไม่มีสัตว์แล้ว การใช้น้ำ , ใช้สารเคมีให้พิจารณาใช้เมื่อจำเป็น นอกจากนี้ไม่ควรใช้กับสัตว์บางประเภท เช่น ลูกสัตว์ เป็นต้น
ยาฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ประจำในคอกสัตว์ ยาฆ่าเชื้อโรคมีมากมายหลายชนิด ยาฆ่าเชื้อโรคที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1. ราคาถูกแต่มีคุณสมบัติดี
2. คงทนออกฤทธิ์ ได้นานไม่เสื่อมสลายได้ง่ายเมื่อผสมน้ำ
3. ไม่มีอันตรายต่อคนและสัตว์
4. ใช้ง่ายสะดวก วิธีการไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้เครื่องมือมาก
5. ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนจนสามารถทำลายอุปกรณ์และคอกสัตว์
6. หาซื้อง่าย
7. กลิ่นดีไม่เหม็นติดเครื่องใช้ต่าง ๆ
8. ออกฤทธิ์ได้กว้างขวาง ทำลายเชื้อโรคได้หลายชนิดและออกฤทธิ์ได้ดีที่อุณหภูมิได้ดี
9. ไม่ค่อยสะสมหรือมีฤทธิ์ตกค้าง ในร่างกายสัตว์นาน
10. เมื่อใช้แล้วไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อผลิตผลจากสัตว์
11. สามารถใช้ได้กับสัตว์ทุกชนิดทุกอายุ
12. มีความเข้มข้น
แม้ว่าจะไม่มียาใดที่มีคุณสมบัติครบทุกข้อก็ตามแต่กฏเกณฑ์ดังกล่าวนี้ ควรจะยึดถือเป็นแนวการพิจารณา
ยาฆ่าเชื้อโรคที่พบบ่อย ๆ มีดังนี้
1. Phenol หรือ Carbolic สารเคมีนี้ได้จากน้ำมันถ่านหิน (Coal tar ) ยานี้ส่วนมากมีขายในรูปสารละลาย แต่เนื่องจากราคาแพงจึงไม่แพร่หลายทั่วไปสารละลายเข้มข้น 2 % จะเป็นยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับบาดแผล แต่ถ้าความเข้มข้นมากกว่านี้ จะกัดผิวหนัง
2. Crude Carbolic acid เป็นส่วนผสมของ Phenol cresol และสิ่งเจือปนอื่น ๆ ประโยชน์ของยานี้ขึ้นอยู่กับเปอร์เซนต์ของ Cresol ที่ผสมอยู่เนื่องจากส่วนผสมไม่แน่นอนจึงไม่นิยมใช้มากนัก แต่บางคนใช้ปราบ เหา ไร ได้ดี
3. Cresol ลักษณะเป็นของเหลวข้น สีเหลืองหรือสีน้ำตาล ผสมน้ำได้ แต่ละลายน้ำได้เล็กน้อย สารละลาย Cresol ประกอบด้วย
Cresol 500 gm
น้ำมันสน 350 gm เติมน้ำให้ครบ 1,000 gm
Potassium Hydrate 80 gm
อัตราส่วนที่ใช้สารละลาย 4 ออนซ์ ต่อน้ำ 1 แกลลอน
4. Coal tar เป็นพวกผลิตภัณฑ์จาก Cresol เป็นสารแขวนลายสีขาวขนาดใช้ดูจากคำแนะนำ
5. Chlorine gas เป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในรูปของ Hypochloride ถ้าใช้ถูกต้องตามคำแนะนำจะมีประสิทธิภาพมาก แต่ยานี้มีข้อเสียที่ว่าละลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกอากาศหรือ อินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ราคาแพง มักนิยมใช้ฆ่าเชื้อตู้ฟัก เครื่องฟัก รางน้ำ และรางอาหาร
6. Chlorinated Lime เรารู้จักสารนี้ในรูปของผงฟอกสี ได้จากเดิม Cl2 ลงในปูนสุก มี Cl2 ประมาณ 30 – 35 % ในการใช้ยาฆ่าเชื้อควรจะให้มีความเข้มข้นของ Cl2 ประมาณ 1 – 2 % โดยน้ำหนัก
7. Quick Lime ( Cao) ในการฆ่าเชื้อมักผสมกับ Chlorinated Lime ปูนนี้นิยมผสมลงในปุ๋ยคอกเพื่อฆ่าเชื้อ Samonella และ Pasteurella
8. Lye เป็นตัวทำความสะอาดได้ดีเลิศและมีคุณภาพดี ในการฆ่าเชื้อด้วยสารละลายของ Sodium hydroxyl 2 % เป็นอัตราส่วนพอเหมาะกับการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้ เนื่องจากเป็นสารที่กัดผิวหนัง ดังนั้นจึงควรใช้อย่างระมัดระวัง
9. Pomaldehyde สารนี้เป็น Gas ขายกันในรูปของฟอร์มาลิน จึงมีตัวยาละลายอยู่ประมาณ 40 % ในการใช้ฉีดฆ่าเชื้อโรคต้องผสมน้ำให้มีความเข้มข้น 10 % ก็พอ ข้อเสียของยานี้ก็คือ ระเหยง่ายกลิ่นฉุนและกัดผิวหนัง แต่ข้อดีมีมาก เช่น สามารถใช้ในรูปของ gas หรือ ไออบห้องเล็ก ๆ เช่น ห้องฟักได้ดี ไม่ทำอันตรายต่อเครื่องใช้มีประสิทธิภาพสูง
10. Copper Sulfate เป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพต่อเชื้อโรค และสำหรับบางชนิดความเข้มข้น 0.5 % ก็สามารถฆ่าเชื้อในรางน้ำ รางอาหาร และบริเวณที่เลี้ยงสัตว์ ที่มีการระบาดของเชื้อโรคได้ ส่วนมากไม่ใช้อย่าง
กว้างขวาง แต่ควรใช้หลังจากการวินิจฉัยโรคเสียก่อน
11. Potassium Permanganate ด่างทับทิม เป็นยาฆ่าเชื้อที่ดี นิยมใช้ทำความสะอาดเต้านม ก่อนจะรีดหรือ ผสมลงในน้ำดื่มเพียงเล็กน้อยเพื่อฆ่าเชื้อ เนื่องจากด่างทับทิมกัดพวกโลหะ ดังนั้นควรจะอยู่ในภาชนะเคลือบขนาดขนาดที่ใช้ประมาณ 1 ช้อนชาต่อ น้ำ 1 แกลลอน
12. Sodium Orthoheny Phenate ไม่มีกลิ่นหน้ารังเกียจ สีเทา หรือ ขาว หรือ น้ำตาล ละลายน้ำได้ง่าย ต้องเก็บในขวดอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันการระเหย พบว่าใช้ฆ่าพวกเหา ไร ได้ดีมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุ่นให้ร้อน
13. Sodium hydroxide โซดาไฟเป็นยาฆ่าเชื้อที่สามารถฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เช่นโรคแท่งติดต่อ เชื้อไวรัส เชื้ออหิวาต์ ใช้ฆ่าเชื้อภายในคอกบริเวณคอกได้ดี
14. Iodine ไอโอดีนมีประสิทธิภาพดีแต่ทว่ามีราคาแพง ยาทิงเจอร์ไอโอดีนเป็นยาฆ่าเชื้อดีมาก สำหรับบาดแผล ผิวหนัง แต่ห้ามใช้ดื่มกิน
15. Murcuric chloride แม้จะมีประสิทธิภาพดีในการฆ่าเชื้อ แต่ทว่ามีราคาแพง เป็นพิษและกัดโลหะ นิยมใช้ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1000 (ในน้ำ) แต่ใช้ไม่ค่อยดี เมื่อถูกกับพวกสารอินทรีย์ ดังนั้นจึงไม่นิยมฆ่าเชื้อในโรงเรือน หรือ วัตถุรองพื้น
16. Quaternary ammonium Compound เป็นสารที่ใสไม่มีกลิ่น ไม่กัดผิวหนังและยังทำความสะอาดสิ่งของได้ด้วย นิยมใช้ทำความสะอาดไข่ หรือ บริเวณโรงฟักทั่วไป แต่อย่าใช้ปะปนกับสารละลายสบู่
17. แสงแดดเป็นตัวฆ่าเชื้อโรคได้ดีที่สุดเท่าที่ทราบกัน ดังนั้นการสร้างโรงเรือน จึงควรนึกถึงหลักข้อนี้ด้วยอุปกรณ์บางอย่าง ต้องทำความสะอาดก่อนที่จะผึ่งแดด บางครั้งจึงเป็นอุปสรรค บ้าง
18. น้ำร้อน (Hot water) น้ำร้อนช่วยเร่งปฏิกิริยาของยาฆ่าเชื้อหลายชนิดน้ำเดือดอย่างเดียวก็สามารถฆ่าเชื้อได้
19. ความร้อนแห้ง (Dry heat) อาจใช้ในรูปของเปลวไฟไปสัมผัสเชื้อโรค แต่พบว่าวิธีนี้ ไม่ค่อยปลอดภัย การฆ่าเชื้ออาจไม่ทั่วถึง
หมายเหตุ
นอกเหนือจากใช้ยาแล้ว การฆ่าเชื้อโรคยังอาจใช้วิธีอื่นได้อีก เช่น ใช้น้ำร้อน แสงแดด แสงอุลตราไวโอเลต Infrared ความร้อนแห้ง (dry heat) Pasteeurisation เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: