วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

บทที่ 4 การทำลายเชื้อโรค

บทที่ 4
การทำลายเชื้อโรค

การทำลายเชื้อโรคโดยวิธีต่าง ๆ
หลักในการฆ่าเชื้อ
1. ทำความสะอาดสิ่งของที่เราต้องการฆ่าเชื้อให้สะอาดเสียก่อน
2. ควรใช้ยาให้ทั่วบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อ
3. การทำให้น้ำยาเจือจางต้องปฏิบัติตามคำแนะนำให้เคร่งครัด
4. อุณหภูมิเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณา เพราะยาฆ่าเชื้อส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพสูงเมื่ออุณหภูมิสูง
5. เลือกใช้ยาฆ่าเชื้อให้เหมาะสมเช่น ไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อร่วมกันกับการทำวัคซีน
การใช้ยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรคต่อ (Infected materials)
คำว่า Infected Materials หมายถึง วัตถุหรือสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ตาง ๆ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ซาก หรือส่วนแห่งซากสัตว์ , เนื้อ กระดูก เขา ขน หนัง น้ำมัน ไข่ สิ่งต่าง ๆ ที่ขับออกจากร่างกายสัตว์ และรวมตลอดถึงโรงเรือน คอกสัตว์ ตลาด ยวดยานพาหนะ ฯลฯ ซึ่งติดเชื้อมาจากสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เป็นโรคระบาด
วิธีการทำลายเชื้อโรค
แบ่งออกได้เป็น 2 ข้อใหญ่ คือ วิธีการทำลายเชื้อโรคโดยทาง ฟิสิกส์ ( Physical disinfectant ) และวิธีการทำลายเชื้อโรคโดยการใช้สารเคมี ( Chemical disinfection )
1. วิธีการทำลายเชื้อโรคโดยทางฟิสิกส์
หมายถึง การกวาด ถู ล้าง พวกเชื้อโรคออกไป คือ การทำความสะอาดนั่นเอง และ รวมถึงความร้อนจากแสงอาทิตย์ , ความแห้ง , ความร้อนสูงจากแหล่งกำเนิดอื่น ๆ เป็นต้น แสงอาทิตย์มีคุณสมบัติเป็น Disinfectant เพราะมีแสงอุลตราไวโอเลท (Ultra violet rays)
การใช้ความร้อนสูงมาก ๆ จะทำลายเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี การใช้ความร้อนแบ่งเป็น Dry heat และ Moist heat แต่นิยมใช้ Mosit heat เช่นน้ำเดือดหรือไอน้ำเดือดกันมากกว่า เพราะให้ผลในการทำลายเชื้อโรคดีกว่า การต้มเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้ผลดีในการทำลาย Vegetative from ของ แบคทีเรีย แต่ไม่ค่อยได้ผลในการทำลายสปอร์ของแบคทีเรีย (Bactenial spore ) นอกจากจะต้มให้เดือดเป็นเวลานาน ๆ เศษอาหารต่าง ๆ ที่นำไปเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสุกรซึ่งเจ้าของสัตว์ในบ้านเรานิยมกันมากเพราะหาง่ายและราคาถูกกว่าการใช้อาหารผสมเลี้ยง เช่น ได้เศษอาหารจากโรงเรือน โรงพยาบาล ร้านอาหาร ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเศษอาหารเหล่านี้อาจมีเชื้อโรคหลายอย่างปะปนอยู่ เช่น ไวรัส ของโรคปากและเท้าเปื่อย , โรคอหิวาห์สุกร, โรคนิวคาสเซิล , หรือแบคทีเรียพวก Salmonalla speciec ต่าง ๆ ดังนั้นการใช้เศษอาหารเลี้ยงสัตว์จึงจำเป็นต้องต้มให้เดือดประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วจึงนำไปเลี้ยง เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับโคนม มักนิยมฆ่าเชื้อโรคโดยการพ่นด้วยไอน้ำเดือด ซึ่งให้ผลดีในการทำลายเชื้อโรคทั่วไป แต่ไม่ได้ผลสำหรับสปอร์ของแบคทีเรียบางชนิด
การพาสเจอไรซ์ น้ำนมใช้ความร้อน 142 - 149 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ ( 62 – 65 องศาเซ็นเซียส) นาน 30 นาที หรือใช้ความร้อน 159.8 – 161.6 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ (71 – 72 องศาเซ็นเซียส) นาน 15 วินาที โดยวิธีนี้จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรค และ บรูเซลโลซิสได้ แต่ถ้าเรา สเตอร์ริไลซ์น้ำนม โดยเพิ่มอุณหภูมิจนถึงจุดเดือดจะสามารถฆ่า Vegetative Microoganisme ได้ทั้งหมด
2. วิธีการทำลายเชื้อโรคโดยใช้สารเคมี
หมายถึง การใช้ยาฆ่าเชื้อโรค ( Disinfectant ) ต่าง ๆ ยาฆ่าเชื้อโรค คือ สารใด ๆ ก็ตามซึ่งเมื่อไปสัมผัสกับเชื้อโรคแล้ว จะเข้าไปทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับเชื้อโรคนั้นแล้วทำให้เชื้อโรคนั้นตาย
การทำลายเชื้อโรคตามบ้านเรือน คอกสัตว์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ นิยมใช้สารเคมีกันมาก เช่น ครีโซล (Cresol ) และ ไลโซล (Lysol) ซึ่งเป็น Coal tar derivatives นอกจากนี้ก็มีพวก ฮาโลเจน (Halogen) ฟอร์มาติไฮต์ , แอมโมเนีย , แอมโมเนียมคอมบาวนด์ โซเดียมคาร์บอเนต เป็นต้น
ยาฆ่าเชื้อโคลทาร์ (Coal tar disinfectant)
นิยมใช้กันมากเพราะราคาถูก และมีอำนาจในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย , สปอร์ และไวรัส แต่ Penetration power มีน้อย สำหรับการทำลายเชื้อโรคในตู้ฟักนิยมใช้ในรูปของแก๊ส โดยเอา โปรแตสเซี่ยมเปอร์แมงกาเนต (ด่างทับทิม) ใส่ลงในฟอร์มาลีนในถ้วยกระเบื้องเคลือบ โดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 2 เช่น ตู้ฟักไข่ ขนาด 100 ตารางฟุต ก็ให้ใช้ ด่างทับทิม 17.5 กรัม ใส่ในฟอร์มาลีน 35 ซี.ซี. แล้วปิดตู้ฟักไข่อบไว้
ยาฆ่าเชื้อพวกฮาโลเจน ( Halogen disinfectant) ที่นิยมใช้กันก็คือ โซเดียมไฮโปคลอไรด์ มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อได้สูง เพราะคลอรีนเป็นส่วนประกอบอยู่แต่ถ้ามี Organic matter ปะปนอยู่ คุณสมบัติในการทำลายเชื้อโรค ของมันจะลดลงอย่างรวดเร็ว โซเดียมไฮโปคลอไรด์ ใช้ฆ่าเชื้อโรคในตู้ฟักไข่ และใช้ปนกับไอน้ำเดือดพ่นฆ่าเชื้อโรคเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ของฟาร์มโคนม
ยาฆ่าเชื้อโรคแอมเนียมคอมเบานด์ต่าง ๆ
นิยมทำเป็นสารละลายเจือจาง (Dilute Solution) ใช้ล้างเต้านม, หัวนม, ของแม่โคก่อนทำการรีดนม และน้ำล้างเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ในฟาร์มโคนม นอกจากนี้ยังใช้เช็ดเปลือกไข่ไก่ , ไข่เป็ด ก่อนเอาเข้าฟักตู้
แอมโมเนีย (Ammonia)
ทำเป็นน้ำยาเจือจาง 10 % ใช้ได้ผลดีมากในการทำลาย
หมายเหตุ โซเดียมคาร์บอเนต หรือที่เราเรียกกันว่า โซดาซักผ้านั้น นิยมทำให้เป็นน้ำยาเจือจาง
4 % ในน้ำร้อน แล้วใช้ล้างโรงเรือน, คอกสัตว์เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ลักษณะและคุณสมบัติของมันคล้ายกับเป็นพวก Mechanicai oleonser มากกว่ายาฆ่าเชื้อโรค แต่ในประเทศอังกฤษได้รับรอง แล้วว่ามันเป็นยาฆ่าเชื้อโรคที่ ใช้ได้ผลดีมากในการทำลายเชื้อไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคปากและโรคเท้าเปื่อย , โรคอหิวาต์สุกร และโรค Fowt post
การทำลายเชื้อ (Sterization)
หมายถึง การฆ่าทำลายล้างสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่สุด คือ เชื้อไวรัส จนถึงสัตว์และพืชที่มีขนาดใหญ่โต แต่การทำลายเชื้อที่สมบูรณ์แบบดังกล่าวนนี้จะทำได้สำเร็จเฉพาะอุปกรณ์ หรือภาชนะที่มีขนาดเล็กเท่านั้น เช่น เครื่องมือผ่าตัด สำหรับโรงเรือนและอุปกรณ์ขนาดใหญ่แล้วไม่นิยมทำกัน เพราะทำสำเร็จได้ผลน้อยมาก
วิธีทำลายเชื้อโรค สามารถดำเนินการได้หลายวิธี เช่น
1. ทำลายเชื้อโรคโดยการใช้ความร้อน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
ก. แบบแห้ง (Dry heat) ฆ่าเชื้อโดยใช้เปลวไฟ
ข. แบบชื้น หรือเปียก (Moist heat) เป็นการฆ่าเชื้อโดยการต้มหรือ ลวก อบไอน้ำ และ อบไอน้ำภายใต้ความดัน
2. ทำลายเชื้อโรคโดยการฉายรังสี (Radiation)
ก. ฉายรังสีอุตราไวโอเลต (Ultraviolet Radiation)
ข. ฉายรังสีไอออน (Ionizing Radiation) ได้แก่รังสีแกมมา รังสีเบตา และรังสีนิวตรอน
3. ทำลายเชื้อโรคด้วยสารเคมี (Chemicals) เช่น แอลกอฮอล ฟีนอล และครีซอล

การกำจัดเชื้อโรคจะกระทำเมื่อ
1. เพื่อป้องกันการสะสมและหมักหมมเชื้อโรคในโรงเรือนคอกสัตว์ ภาชนะและอุปกรณ์ตัวอย่าง เช่น เมื่อคอกว่างหลังจากหย่านมลูกสุกร คอกขุนว่างหลังจากขายหรือ ย้ายสัตว์ออกเป็นชุด ๆ
2. เพื่อป้องกันการนำเชื้อจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม โดยการสร้างอ่างน้ำยาที่ประตูเข้าฟาร์ม อ่างจุ่มเท้า หน้าโรงเรือนทุกหลัง และการฆ่าเชื้อเครื่องมือแพทย์
3. ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ยกตัวอย่าง เช่นในกรณีที่สัตว์ป่วยตาย ซึ่งสงสัยว่าอาจตายด้วยโรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อบางชนิด จะต้องทำลายซากด้วยการฝังหรือ เผา ก่อนเผาหรือฝังซากให้ทำลายด้วยการราดน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วทำความสะอาดบริเวณคอกและโรงเรือนที่สัตว์ป่วยอยู่ทั้งก่อนและหลังตาย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดต่อไป

วิธีการใช้ยาฆ่าเชื้อโรคให้มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อได้ผลตามวัตถุประสงค์ จงปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ก่อนใช้น้ำย่าฆ่าเชื้อต้องเก็บกวาด ขัดถู พื้นฝาผนัง และหลังคาทุกซอกทุกมุม เพื่อขจัดโคลน อุจาระ ไขมัน และสิ่งปฏิกูลอื่น ๆ ที่เคลือบคลุมอยู่ออกให้หมด แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดและผงซักฟอก เพราะสิ่งเหล่านนี้มักป้องกันไม่ให้น้ำยาฆ่าเชื้อทำปฏิกิริยาทำลายเชื้อโรคได้ผลเท่าที่ควร
2. เมื่อได้ปฏิบัติการตามข้อ 1. แล้ว จงใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีปริมาณสูง และผสมน้ำ (น้ำอุ่นยิ่งให้ผลทำลายดี) ให้ความเข้มข้นถูกต้องตามคำบ่งใช้ของบริษัทผู้ผลิตน้ำยานั้น ๆ อาจจะราดอัดฉีด ขัดถู แล้วปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่งตามข้อกำหนดของยาแต่ละอย่าง
3. ทั้งคนและพาหนะที่เข้าออกฟาร์มจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง เมื่อคิดการสูญเสียเนื่องจากโรค จึงต้องดำเนินการควบคุมโรค และพยาธิให้ได้ โดยจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงสิ่งที่ทำให้เกิดจุดอ่อนขึ้นทุกแง่ทุกมุม สิ่งต่าง ๆ ที่จะนำมาพิจารณาเปรียบเสมือนห่วงโซ่ที่เกี่ยวพันกันอยู่ถ้าห่วงใดห่วงหนึ่งอ่อนแอ ในไม่ช้าห่วงนั้นก็จะขาดผลก็คือสุขภาพสัตว์เสื่อม โทรมลง

ไม่มีความคิดเห็น: