วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 2 การต่อต้านโรคของร่างกาย

บทที่ 2
การต่อต้านโรคของร่างกาย

กลไกการต่อต้านของร่างกาย
องค์ประกอบเกี่ยวกับการต่อต้านโรคที่มีอยู่ในตัวสัตว์ ( Factors oF host defence )
ได้แก่ ขน ผิวหนัง และเยื่อเมือกที่ปกคลุมผิวหนังภายนอกของร่างกายอยู่ในปราการกั้นตัวสำคัญมิให้เชื้อโรคบุกรุกเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนั้น ขนจมูก น้ำตา การไอ หรือ จาม การไหลของปัสสาวะ ยังเป็นกลไกของร่างกายที่จะช่วยขับเชื้อโรคที่บุกรุกผ่านส่วนต่าง ๆ มิให้ไปสู่ร่างกาย ในกรณีนี้เชื้อโรคอาจบุกรุกเข้าไปถึงส่วนลึกเข้าไปในร่างกาย เช่น ช่องจมูกหลอดลม หรือในช่องคลอด คุณสมบัติทางเคมีในส่วนต่าง ๆ ดังกล่าว จะมีภาวะเป็นกรด ( LOW ph) ซึ่งจะทำลายเชื้อโรคได้อย่างดี น้ำย่อย ไลโซไซม์ ที่มีอยู่เป็นปรกติในน้ำตา น้ำมูก และ น้ำลายสามารถจะฆ่าเชื้อโรคโดยเฉพาะ แบคทีเรียได้อย่างดี ที่ผิวหนังก็ยังสามารถสร้างกรดไขมันที่อิ่มตัว ( unsat fatty acid ) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวฆ่าเชื้อแบคทีเรีย bactericidal
ภาวะแวดล้อม เช่น ท้องที่เขตหนาว หรือเขตร้อน สัตว์เมืองร้อนอาจติดโรคจากเมืองหนาวได้ง่ายกว่าสัตว์ที่เกิดในเมืองหนาว หรือในทางตรงข้าม ในฤดูในมักมีโรคระบาดมากกว่าฤดูร้อน เช่น โรคคอบวม ( Homorrhagic septicemia ) ในโค กระบือ เป็นต้น
ปัจจุบันปัญหาเรื่องมลภาวะ ( pollution ) เป็นตัวการที่มีบทบาทสำคัญ ภาวะอากาศเป็นพิษ โดยเฉพาะจากท่อไอเสียรถยนต์ในเมืองใหญ่ ๆ ทำให้ระคายเคืองต่อคน หรือสัตว์ที่หายใจเข้าไปเกิดการระคายเคืองทำให้ติดโรคได้ง่าย เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านปราการภายนอกเข้ามาได้ก็ยังต้องผ่านการป้องกันและตอบโต้จากตัวการภายในร่างกาย ( Internal fectors ) โดยปกติร่างกายจะมีภูมิต้านทางโรค ( Immunity ) ต่อการติดเชื้อโรคอยู่แล้วภูมิต้านทานโรคอาจจะสร้างขึ้นโดยตรงในตัวสัตว์ ( Active Immunity ) โดยการที่ร่างกายสร้างขึ้นเองหลังจากได้รับเชื้อโรค หรือสร้างขึ้นจาก ได้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ นอกจากนั้นภูมิต้านทานโรคอาจจะได้รับมาในรูปของแอนติเซรุ่ม ( Anti serum) หรือ ( Antitoxins ) เซลที่บุผนังไซนัสที่ต่อมน้ำเหลือง ที่ม้าม และเซลล์ใน Reticuloendothelial system ซึ่งเป็น Monouclear ceels จะทำหน้าที่ในการกินสิ่งแปลกปลอม
แบคทีเรียบางชนิดที่พบเป็นปรกติอาศัยอยู่ในร่างกายโดยเฉพาะในกระเพาะและลำไส้ของสัตว์ เช่น Lactobacillus sp. ยังช่วยเป็นตัวขัดขวางการรุกรานของแบคทีเรีย ( Body response ) ในตัวสัตว์บางชนิด เช่น ภาวะมีไข้ ( Fever )
เรื่องราวที่กล่าวมาเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเสริมสมรรถนะร่างกาย ในการป้องกันการรุกรานของเชื้อโรค แต่ก็มีองค์ประกอบอีกหลายประการที่ทำให้ร่างกายมีโอกาส ติดโรคได้ง่ายขึ้นหรือ สัตว์มีความต้านทานโรคต่ำภาวะที่ใช้สัตว์ทำงานมากเกิน ไปหรือภาวะที่เกิดจากการขนย้ายสัตว์จากที่หนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งก็ดี ทำให้สัตว์อ่อนเพลียตกอยู่ในภาวะเครียด ( Strees ) ทำให้ความต้านทานต่อโรคต่ำลง
สัตว์ที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอหรือสัตว์ที่อดอาหารนาน ๆ ทำให้โอกาสติดโรคได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในลูกสัตว์เกิดใหม่โดยปรกติจะไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มโรค แกมม่าโกลบูลินได้ จะได้รับจากแม่ซึ่งจะลดต่ำลงเมื่ออายุ 2 – 3 เดือน ซึ่งระยะนี้ลูกสัตว์จะสามารถสร้างแกมม่าโกลบูลิน และจะสามารถสร้างได้ดีขึ้นเลื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นในช่วง 2 – 3 เดือนหลังคลอดลูก สัตว์จะมีแกมม่าโกลบูลิน ( phrsiologic hypogammaglobulinemia ) ช่วงระยะนี้จะติดโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปอดอักเสบติดเชื้อ ( phemonia ) นอกจากนั้นชนิดสัตว์ ( Genus ) พันธุ์สัตว์ ( breed ) เพศ ( sex ) ตลอดจนสีของผิวหนัง ( coloer ) ก็มีอิทธิพลต่อการติดโรคดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
องค์ประกอบในด้านความรุนแรงของเชื้อโรค ( Factors of Microbe Virulence )
โดยทั่วไปแล้วเชื้อโรคทำให้เกิดโรคได้ 2 แบบ คือ
1. สมรรถนะการรุนแรงของเชื้อโรคโดยตรง
2. สารพิษหรือทอกซินที่สร้างขึ้นจากเชื้อโรค ( Toxin production )
ก่อนที่เชื้อโรคจะทำให้เกิดพยาธิสภาพในร่างกายสัตว์ได้ ตัวเชื้อโรคเองจะต้องมีชีวิต และเพิ่ม
จำนวนได้ในอวัยวะหรือเนื้อเยื่อโดยปกติเชื้อโรคทุกชนิดมีความแตกต่างกันในการที่จะเพิ่มจำนวน ได้ดีในอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปตามปรากฏการของการเกิดโรคตามอวัยวะ (phemonia of Orgenotropism or Orgenotropism ) ตัวอย่างเช่น เชื้อ Brucella abortus ทำให้เกิดพยาธิวิการปฐมภูมิ ( primary Lesion ) ขึ้นที่อวัยวะระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ในขณะที่เชื้อ Pesteurella multcoida มักทำให้พยาธิวิการปฐมภูมิขึ้นที่ปอด และ ทำให้เกิดปอดอักเสบ เป็นต้น
เชื้อโรคบางชนิดเช่นเชื้อ Pheumocococus sp. สามารถสร้าง phagocytic capsules เพื่อป้องกันการโจมตีจากเม็ดเลือดขาว Neutrophil และ monocytes
เชื้อวัณโรคยังสามารถสร้างแคปซูลที่หนาเพื่อป้องกันน้ำย่อย Lysozyme จาก Neutrophil และ monocytes แม้ว่าวัณโรคจะถูกกินไปอยู่ในเซลล์ของ Neutrophil หรือ monocytes แล้วก็ตามก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ ( Intracellular Viabilit )
เชื้อแบคทีเรียตัวอื่น ๆ เช่นเชื้อ Brucella ก็มีชีวิตอยู่ใน monocytes ได้และจะทำให้เกิดจุดวิการ แห่งใหม่ ( Secondary foci of infection ) ขึ้นอีกได้เมื่อ monocytes เคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
แบคทีเรียบางชนิดก็สามารถที่จะต้านปฏิชีวนะบางตัว โดยเฉพาะยา penicilin ซึ่งฆ่าแบคทีเรียด้วยการทำลายผนังเซลล์ แต่แบคทีเรียบางตัวสามารถจะทนอยู่ได้ในสภาพไร้ผนังเซลล์ ซึ่งจะสามารถเป็นเชื้อที่รุนแรงขึ้น หลังจากสร้างผนังเซลล์ขึ้นมาใหม่ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่รุนแรงขึ้นอีกเป็นต้น
จุลชีพหรือเชื้อโรคบางชนิดสามารถจะบุกรุกและทำลายเนื้อเยื่อโดยการขับเอนไซด์บางชนิด นอกจากนี้ เชื้อ streptococus ptogenus สามารถสร้างเอนไซม์ “ Hyaluronidase” ซึ่งจะทำให้ยาปฏิชีวนะ penicilin เสื่อมสภาพลงและทำให้เชื้อตัวนี้สามารถต้านยา penicilin ได้ดี
ในบางครั้งจุดสภาวะแวดล้อม ทำให้มีการแปลเปลี่ยน ทาง gene ( genetic muration ) ของจุลชีพเกิดขึ้น เป็นผลทำให้จุลชีพมีความรุนแรง เพิ่มขึ้นทั้งทางด้านสมรรถนะการรุกราน ( invastiveness ) และการสร้างท๊อกซิน ( Toxigenicity ) แบคทีเรียบางอย่างเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อ อาจจะเกิดการแปลเปลี่ยนทาง gene หรือสามารถสร้างผนังเซลล์ให้หนาขึ้น เช่นการเปลี่ยนลักษณะ colonies ในอาหารเลี้ยงเชื้อ จากขลุขละ ( Rough ) เป็นเรียบ ( smoth ) ซึ่งมีความทนทานต่อยาปฏิชีวนะได้ดีขึ้น
แบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค คอตีบในคน ( diphtheriabacilli ) จะไม่สร้างท๊อกซิน จนกว่าจะมีการติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสที่ infect ทีเรียเรียก “ bacteriophage “ ไวรัสที่ติดต่อเข้าไปในเชื้อโรคตอตีบ เรียก beta-phage
ท๊อกซินที่สร้างขึ้นโดยแบคทีเรีย แบ่งเป็น 2 ชนิด
1. Exotoxinsเป็นผลิตผลจากเมตาบอริซึม ( metabolic product ) ของแบคทีเรียแล้วขับออกมาจากตัวในขณะที่แบคทีเรียยังมีชีวิตอยู่
2. Endotoxins สร้างจากผนังเซลล์จัดเป็นพวก phogpholipids มักจะขับออกเมื่อเซลล์แบคทีเรียตายลง หรือผนังเซลล์แตกฉีก

ภูมิคุ้มกันโรค ( Immunity )
เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรค จะโดยทางใดก็ตาม ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านเชื้อโรค ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอม เพราะร่างกายมีระบบป้องกันของร่างกาย ระบบการป้องกันของร่างกายนี้แท้จริง หน้าที่เพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมาก็อาจเป็นผลเสียแก่ร่างกายได้ยกตัวอย่าง เช่น การเกิด histamine ในร่างกายเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายเพื่อทำลายเชื้อโรค ก็มีผลเสียหลาย ๆ ประการต่อร่างกายของสัตว์เอง ภูมิคุ้มกันประเภทนี้เป็นภูมิไม่จำเพาะของร่างกาย ( non – specific immunity )
ภูมิคุ้มกันอีกประเภทหนึ่ง เป็นภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะของร่างกาย ( specific immunity ) ภูมิคุ้มกันแบบนี้ ได้แก่ antibody ซึ่งได้จากระบบน้ำเหลือง ( lymphatic system ) แต่การสร้าง antibody นั้นร่างกายต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นในระยะแรกที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายแบบ non specific immunity จะทำงานก่อน จนกว่าระบบน้ำเหลืองจะสร้าง specific immunity คือ antibody
Antibody คือ serum protein ที่เกิดการตอบโต้ของร่างกายต่อ anigen และมีปฏิกิริยาจำเพาะกับ antigen ด้วย
Antigen คือ สารที่เข้าไปในร่างกายแล้ว ทำให้ร่างกายสร้าง antibody อวัยวะที่ให้กำเนิดเซลที่ผลิต antibody

ภูมิคุ้มกันโรค (กล่าวว่า )
ความคุ้มโรค และการเกี่ยวข้องกันระหว่างสิ่งมีชีวิต
ลักษณะของการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ในสภาวะแวดล้อมเดียวกัน แบ่งออกได้เป็น
1.Commensalism คือการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในสภาวะแวดล้อมเดียวกัน แต่ไม่พึ่งพาอาศัยกัน และไม่ทำอันตรายซึ่งกันและกัน
2.Nutualism ( Symbiosis ) คือการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมเดียวกัน เช่น เชื้อแบคทีเรีย และ โปรโตซัวบางชนิดที่อาศัยอยู่ใน ( Rumen )
ของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ถ้าขาดชนิดใดชนิดหนึ่งอีกชนิดหนึ่งก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปไม่ได้
3. Parasites คือ การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด หรือมากกว่าซึ่งชนิดหนึ่ง จะต้องใช้เนื้อเยื่อหรือส่วนผลิตภัณฑ์ของอีกชนิดหนึ่งเป็นอาหาร
การที่สัตว์เกิดมีพยาธิรุกราน สัตว์นั้นก็จะมีปฏิกิริยาตอบโต้กับการรุกรานนั้น โดยจะเกิดตั้งแต่ง่ายที่สุดจนถึงยุ่งยากสลับซับซ้อน เช่น วัวแกว่งหาง ไล่แมลงที่มาดูดเลือดหรือ ระบบต่อต้านเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมที่เข้าในร่างกายที่ยุ่งยาก เช่น ( immuneresponse ) ของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรีย หรือ ไวรัสเข้าในร่างกาย
Prenunity หรือ Prenuniton หมายความถึง การที่สัตว์มีความคุ้มโรคที่เกิดขึ้นหลังจากมีการติดเชื้อชนิดเฉียบพลัน ซึ่งได้กลายเป็นการติดเชื้อชนิดเรื้อรัง และความคุ้มโรคนี้คงอยู่ในร่างกายได้นานตราบเท่าที่เชื้อชนิดนั้นยังคงอยู่ ในร่างกาย และยังสามารถที่จะป้องกัน การเกิดการติดเชื้อกลับ
( Reinfection ) ของเชื้อชนิดนั้นได้อีกด้วย ตัวอย่าง เช่นโรค ( piroplasmosos ) ซึ่งเกิดจาก
( blood parasite ) ชนิดหนึ่งนั้นถ้าสัตว์ป่วยยังคงมีเชื้อตัวนี้หรือชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ของเชื้อนี้อยู่ในร่างกาย สัตว์นั้นก็จะมี ความคุ้มโรคต่อโรคนี้ และยังสามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อกลับของเชื้อตัวนี้ได้อีกด้วย ถ้าสัตว์นั้นบังเอิญได้รับเชื้อตัวนี้อีก
บทบาทของแอนติบอดี ที่ร่างกายสร้างขึ้น ก็อาจมีผลเสียแก่ร่างกายเองก็ได้ เช่นการเกิด
( Histamine ) ที่เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อต่าง ๆ หรือการเกิด ( immune complex ) ที่เข้าไปอุดตันในไต
กลไกของภูมิคุ้มกันไม่จำเพาะของร่างกาย ( Nonspecific mechanism of immunity )
กลไกไม่จำเพาะของระบบป้องกันของร่างกายนับว่าสำคัญมากอย่างหนึ่ง ในการที่จะป้องกันไม่ให้สัตว์ชนิดหนึ่งถูกโจมตีโดยอนินทรีย์ ( Organisn ) ที่มีอยู่ในโรคนี้ ตัวอย่าง เช่น แผลมีดบาดหรือหนังถลอกเกิดขึ้นได้บ่อยมาก แต่การเกิดฝีหรือหนอง จากบาดแผลเหล่านี้ไม่บ่อยนัก ถึงแม้ว่า ซีรั่ม และเลือด จะเป็นตัวกลางที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญได้ดีก็ตาม
ระหว่างที่มีอินทรีย์เข้าร่างกาย ระบบแอนติบอดี หรือผู้กระทำให้เกิดภูมิคุ้มกันจำเพาะ ( Specific immune agents ) เช่น ( Lymphocyte ) จะต้องใช้เวลานาน และในระหว่างที่ยังไม่เกิดแอนติบิดี้ ระบบป้องกันของร่างกายแบบไม่จำเพาะ จะเป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้อินทรีย์นั้นลุกลามใหญ่โต
กลไกของภูมิคุ้มกันไม่จำเพาะของร่างกาย แบ่งออกได้ดังนี้
1. ความแตกต่างทางเผ่าพันธุ์ ( Species differences ) โรคบางโรคไม่เกิดในสัตว์ชนิดหนึ่ง แต่จะเกิดในสัตว์อีกชนิด เช่น โรคปากและเท้าเปื่อยไม่เกิดขึ้นในม้าแต่จะเกิดเฉพาะในสัตว์กีบคู่ กลไกที่แท้จริงของเรื่องนี้ไม่มีใครพิสูจน์ได้ แต่อาจจะเกิดขึ้นจาก ปัจจัยยับยั้ง ( inhibitery factors ) หรือการขาดเมตาโบไลท์ที่จำเป็นในสัตว์บางชนิด ที่จะเป็นประโยชน์ต่อเชื้อนั้น
2. ความแตกต่างทางกรรมพันธุ์ ( Genetic differences ) แม้ว่าสัตว์จะอยู่ในเผ่าพันธุ์เดียวกัน แต่ภูมิไวรับ ( Susceptibility ) ต่อโรคก็ไม่เหมือนกันเนื่องจากการแตกต่างกันในทางกรรมพันธุ์ ตัวอย่างเช่น ในอเมริกาจะเกิดขึ้นกับคนผิวดำมากว่าคนผิวขาว อาจจะเป็นเพราะว่า วัณโรคเกิดขึ้นมาในอเมริกานานจนกระทั่งคนผิวขาวเกิดยีนส์ที่คงทน ( Resistance gene ) ต่อเชื้อวัณโรคขึ้นมาก็ได้ หรือ โรครินเดอร์เปสต์ ที่มีความรุนแรง ของโรคน้อย เมื่อเกิดขึ้นในวัวทางอเมริกา หมูขาวหลายพันธุ์ ( Strain ) พบว่าคงทนต่อการติดเชื้อจาก ( Tripanosome )
3. ผิวหนัง ( Body integument ) สิ่งต่อต้านเชื้อโรคอันแรกของร่างกาย คือ ส่วนที่ปกคลุมร่างกาย เช่น ผิวหนังและ เยื่อเมื่อก พวกกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว ( Unsaturated fatty acit ) ที่พบในสิ่งคัดหลั่ง ( Sacretion ) ของต่อมไขมัน ( Sebaceous gland ) หรือกรดแลคติคจากเหงื่อ หรือเกลือที่แห้งจากเหงื่อ จะเป็นตัวช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้เป็นอย่างดี พวกน้ำเมือก ( mucos ) ที่อยู่ตามเยื่อเมือก เช่นท่อหายใจหรือ ท่อสืบพันธุ์ จะเป็นตัวเชื้อแบคทีเรีย พวกกรดต่าง ๆ ที่อยู่ในกระเพาะ ลำไส้ ก็สามารถที่จะทำลาย แบคทีเรียได้เช่นกัน
4. ปัจจัยทางสรีรวิทยา ( physiological factors )
4.1 อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายประมาณเกือบ 39 0 C หรือของไก่ประมาณ 42 0 C จะเป็นตัวทำให้เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่สามารถจะเจริญเติบโตได้ การที่สัตว์เล็กเกิดไขสูงขณะติดเชื้อ ก็เป็นกระบวนการอันหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในร่างกายได้
4.2 สภาวะทางเมาตาโบลิค ( matabotic state ) เชื้อโรค ( brucella ) ทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์หลายชนิด รวมทั้ง วัว , ควาย , แพะ , แกะ ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะมีน้ำตาลชนิดหนึ่งเรียกว่า ( erythritol ) ซึ่งอยู่ในเนื้อเยื่อรก ( placenta ) และในกลุ่มของสัตว์ เช่น คน , หนู , กระต่าย , หนูตะเภา ซึ่งขาดน้ำตาลชนิดนี้ แม้ว่าอยู่ในบริเวณที่เกิดโรคก็ไม่ติดโรค หรือเชื้อวัณโรคในคนมักจะเกิดขึ้นที่ ( apical lobe ) ก่อน เพราะว่ามีออกซิเจนมากกว่า ( lode )
4.3 อายุ โรคบางโรคเป็นรุนแรงในลูกสัตว์ แต่ไม่รุนแรงในสัตว์โตเต็มที่ เช่น เชื่อ ( E . coli ) ในหมูมักจะเป็นรุนแรงในหมูอายุน้อย ๆ
5. ปัจจัยทางเลือด และเซลล์ ( numoral and cellular factors ) มีสารหลายชนิดที่สามารถจะยับยั้งการเติบโตของ ( parasite ) เช่นสารสกัดจากเนื้อเยื่อของร่างกาย , ซีร่ม , สิ่งคัดหลั่งจากต่อมต่าง ๆ
( ltsozyme) ที่พบในเนื้อเยื่อ , เยื่อเมื่อกในช่องจมูก , ลำไส้, น้ำลาย , น้ำตา , ในเม็ดเลือกขาวหลายชนิด สามารถที่จะทำให้สารประกอบ (mucopeptide ) ที่ประกอบเป็นผนังเซลล์ของแบคทีเรียแตกได้
properdin เป็นสารชนิดหนึ่งในซีรั่ม ที่สามารถจะทำลายแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ ได้หลายชนิดสารที่มีคุณสมบัติคล้าย และ properdin และ complement ก็ทำให้เกิดปรากฏการที่เรียกว่า ซึ่งจะช่วยทำให้กลืนน้ำลาย ( ) ของเม็ดเลือดขาวทำได้ดียิ่งขึ้น
พวก ( ) ก็สามารถที่จะป้องกัน หรือทำลายจุลินทรีย์ได้ เช่น กรณีที่สัตว์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ก็จะเกิดแอนติบอดีต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ ขึ้นและแอนติบอดีนี้อาจจะมีปฏิกิริยาข้าม ( cross reaction ) ต่อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ซึ่งแอนติบอดีนี้ก็อาจจะทำลายจุลินทรีย์ชนิดนั้นได้เช่นกัน
ภูมิคุ้มกันที่ได้มาแบบจำเพาะ ( Specific acquircd immunity )
ภูมิคุ้มกันที่ได้แบบจำเพาะ คือ ภูมิคุ้มกันแบบจำเพราะที่เกิดขึ้นในร่างกายเพื่อต่อต้านกับสิ่งแปลกปลอมหรือตัวก่อโรค ( pathogen ) ที่เข้ามาในร่างกาย
ข้อแตกต่างระหว่างภูมิคุ้มกันที่ได้มาแบบจำเพาะ กับภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ของร่างกาย คือ
1. ความจำเพาะ ( Specificity ) เป็นสมบัติของการตอบโต้ของภูมิคุ้มกัน ที่สามารถแยก
ออกซิเจน ( Antigen ) ชนิดหนึ่งออกจากออกซิเจนอีกชนิดหนึ่ง
2. Heterogeniety การมีลักษณะของปฏิกริยาจากเซลล์หลายชนิด และการเกี่ยวข้องกัน (
Interaction ) ของตัวลูกอาศัย ( host ) กับออกซิเจนก็มีได้หลายแบบด้วย
3. ความทรงจำ ( Memory ) คือการจำได้ของ ( cell line ) ที่เกิดขึ้นหลังจากการมีออกซิเจนเข้า
มาในร่างกายเป็นครั้งที่สอง
ภูมิคุ้มกันที่ได้มาแบบจำเพาะ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ภูมิคุ้มกันจากน้ำในร่างกาย ( humoral immunity ) หมายถึงภูมิคุ้มกันที่เกิดจากแอนติบอดี
ภูมิคุ้มกันนี้มักจะมีผลต่อ ( parasite ) ตัวเล็ก ๆ เช่น ไวรัส , แบบทีเรีย หรือสารละลายน้ำลายได้ ( Soluble material ) เช่น พิษ ( toxin )
2. ภูมิคุ้มกันจากเซลล์ ( Cell mediated immunity ) หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากเซลล์นี้ก็
คือ ( small lymphocyte ) ภูมิคุ้มกันนี้มักจะมีผลต่อแบคทีเรียหรือ ( parasite ) ที่ตัวค่อนข้างโต
แอนติเจน ( Antigen or immunogen )
แอนติเจน คือ สารที่เข้าในร่างกายและจำทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี หรือปฎิกริยาจากเซลล์ขึ้น และทั้งแอนติบอดี หรือปฎิกริยาจากเซลล์นั้น จะมีปฎิกริยาจำเพาะต่อแอนติเจนนั้น
ลักษณะของแอนติเจน
1. เป็นสิ่งแปลกปลอมทางกรรมพันธุ์ ( Genetically foreign ) ต่อตัวลูกอาศัย ( host ) แต่ก็มีข้อยกเว้นในรายของ ( Autologous antigen ) ที่ทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อต้านกับเนื้อเยื่อของตัวเอง หรือในกรณีของ ( hidden antigen ) ซึ่งเป็นแอนติเจนที่ในสภาวะปกติจะไม่แสดงออกมา แต่จากสภาวะบางอย่างทำให้แอนติเจนนั้นลูกแสดงออกมา แล้วร่างกายก็สร้างแอนติบอดีขึ้นต่อต้าน ( Autoantibody )
2. มีน้ำหนักโมเลกุลอย่างน้อยที่สุด 5,000 แต่ยังมีสารที่เรียกว่า ( hepten ) ซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำกว่า 5,000 สารนี้กระตุ้นให้เกิดแอนติบอดีได้โดยที่จะต้องรวมกับตัวนำพาโปรตีน ( protein carrier ) ถ้า ( hapten ) อย่างเดียวจะไม่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี แต่สามารถรวมกับแอนติบอดีที่เกิดขึ้นได้
3. Complexity ปัจจัยต่าง ๆ ที่บ่งชี้ถึง ( complexity ) ของแอนติเจนรวมรวมทั้งสมบัติทั้งทางฟิสิกส์และเคมีของโมเลกุล สภาพการรวมตัวของโปรตีนก็มีผลต่อ ( immuno genicity ) ของแอนติเจน พวก monomeric protein อาจจะทำให้เกิด tolerance ได้ง่าย แต่พวก ( highly immunogenicit ) มักจะเป็น ( polymeric ) หรือ ( aggregated state )
4. Conformation รูปร่างของแอนติเจนก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะพวก ( linear ) หรือ
( branched polypeptide ) หรือ ( carbohydrate ) รวมทั้ง ( globular protein ) เป็นแอนติเจนที่ดีมาก
5. ประจุไฟฟ้า ( charge ) พวกโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้าลบ ล พวก หรือเป็นกลางเป็นแอนติเจน
ได้ทั้งสิน แต่อย่างไรก็ตาม ( net charge ) ของแอนติเจนจะมีผลต่อ ( net charge) ของแอนติบอดี พวกแอนติเจนที่มีประจุ บวก จะกระตุ้นให้เกิดแอนติบอดีชนิดประจุ ลบ
ส่วนใหญ่ของแอนติเจนเป็น โปรตีน เช่น ซีรั่มอัลบลูมีน, พิษของ ( Clostridium ) และ
( Staphylococus ) ไวรัส , พิษงู , ซีรั่มโปรตีน และที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ โมเลกุลของแอนติบอดีของสัตว์แต่ละพันธุ์ ( species )
Polysaccharide ก็เป็นแอนติเจนอันดับ 2 รองลงมาจากโปรตีน แม้ว่าบางกรณี ( pclysaccharide antigen ) จะรวมอยู่กับโปรตีนในรูปของ ( mucopolysaccharide polysaccharide antigen ) พบในแคปซูลของแบคทีเรียหลายชนิด ( pasteurella , Streptococcus )
ไขมัน ( lipid ) ปกติแล้วไขมันไม่เป็นแอนติเจนที่ดี แต่พบว่าในซีรั่มของคนที่ป่วยด้วยโรค ซิพิลิส จะสามารถทำปฎิกริยากับ glycolipid ( cardiolipid ) ซึ่งแยกสกัดมาจากกล้ามเนื้อหัวใจได้
ยังมีสารอีกหลายชนิดที่เป็นแอนติเจน เช่น
Lipoprotein Serum lipoprotein , ecll membrane
Lipopolysaccharide เช่น cell wall ของแบคทีเรียชนิดกรัม บวก ( Endotoxin )
Polypeptide เช่น อินซูลีน
Glvcoprotein เช่น กลุ่มเลือด ( Blood group ) A and B
1. จากสมบัติทางหน้าที่ ( Functional proterty ) การแบ่งชนิดของแอนติบอดีจากวิธีนี้ ขึ้นอยู่กับ
ความสามารุทางหน้าที่ของแอนติบอดีเป็นสำคัญ ซึ่งจะแบ่งแอนติบอดีออกได้เป็น
1.1 Lysis แอนติบอดีชนิดนี้ทำให้ ( protozoa ) แบคทีเรียหรือเม็ดเลือดแดงที่เกิดจากแตก
( Lysis )
1.2 Agglutinins แอนติบอดีนี้ทำให้แบคทีเรีย , เม็ดเลือดแดงจับตัวเป็นกลุ่ม
1.3 Precipitins แอนติบอดีชนิดนี้จำทำให้เกิดการตกตะกอน ( Precipitation ) เมื่อจับกับ
แอนติเจนที่มีขนาดเล็ก ๆ
1.4 Opsonins แอนติบอดีที่ทำให้เกิดการกลืนทำลาย ( phagocyiosis )
ในสัตว์พบว่ามีแอนติบอดี 4 ชนิดคือ IgG , IgA , Igm และ IgE
1. IgG เป็น A6 ที่พบมากที่สุดในซีรั่ม มันสามารถผ่านผนังหลอดเลือดฝอย และพบในน้ำเนื้อ ( fissue fluid ) เป็น ( Ig ) ที่สำคัญใน ( colostrum ) และเหงื่อ ( IgG ) สามารถผ่านนกได้ ( placenta ) จึงเป็น ( Ab) ที่ติดต่อลูกอ่อนหลังคลอดได้โดยเฉพาะในคน ( Half life ) ของ IgG ) ในเลือดประมาณ 23 วัน
2. IgM พบมากในเลือดแต่พบน้อยใน ( tissue fluid ) ขนาดโมเลกุลใหญ่ไม่สามารถผ่านออกมา
จากหลอดเลือดได้และไม่สามาถผ่านรกได้ เป็น ( Ab ) ชนิดแรกที่พบหลังจากการก่อภูมิคุ้มกัน ครั้งแรก ( first immunigation ) ( half life ) ในเลือด 5 วัน )
3. IgA มีในซีรั่มมากกว่า ( IgM ) และมีมากที่สุดในน้ำคัดหลัง ( Scretion ) เช่น น้ำตา น้ำลาย
น้ำเมือกในหลอดลม และจากต่อมต่าง ๆ ในทางเดินอาหาร ( Half life ) 2 วัน
4. Ige พบน้อยใน ( Serum ) ถูกสร้างขึ้นจาก ( lymphoid tissue ) อันใดอันหนึ่งของ
แอนติบอดีซึ่งเข้าได้กับตัวบ่งชี้แอนดีเจนวึ่งอยู่บนผิวของแอนติเจนตนั้น การติดกันนี้ขึ้นอยู่กับหมากปัจจัย ( Fectors ) เช่น ประจุไฟฟ้าของโมเลกุลที่ตรงกันข้าม , แรงดึงดูดเช่น แรง ( Vander waals ) หรือ ( hydrogen bond ) ในระหว่างโปรตีนโมเลกุล ความแข็งแรงของกำลังติดกันนี้จะขึ้นกับ ( ionic strength ) และ ( pH ) ถึง ( pH ) ถ้า ( pH ) ต่ำจะทำให้ ( Antigen – antibody complex ) แยกตัวออก
ปฎิกริยาระหว่างแอนติเจนกับแอนติบอดีแบ่งออกได้เป็น 3 พวก
1. Primary ( initial ) intoraction เป็นการรวมตัวขั้นแรกของแอนติเจนเข้ากับ combinaing site
ของแอนติบอดี ปฎิกริยานี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดขึ้นโดยวิธีต่าง ๆ เช่น การตกตะกอน antig en – antibody complex ด้วย ammonium aulfate ( Farr techniques ) หรือทำ Equilibrium dialysis เป็นต้น
2. gecondary intaraction เป็นปฎิกริยาระหว่างแอนติเจนกับแอนติบอดีที่สามารถมองเห็นได้ด้วย
ตาเปล่า เช่น การตกตะกอน ( Precipitation ) การจับกลุ่ม ( Agglutingtiou ) Gomplemont dopondent interaction , Neutralization และ Cytotropic effects ปฎิกริยาเหล่านี้สำคัญในการวินิจฉัยโรคหลาย ๆ อย่าง และเป็นวิธีการพื้นบานของการตรวจโรคต่าง ๆ ทางห้องปฏิบัติการด้วย
3. Tertiary manifostation ปฏิกริยานี้ลูกจำกัดอยู่ในร่างกายเท่านั้น ( Invivo ) และอาจจะเป็นทั้ง
ผลดีและผลเสียแก่ตัวลูกอาศัย เช่น ปฏิกริยาการตกตะกอนในโรค Lupus orythrematosus เกิดจาก mntigen – antibody – complex ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดในไต หรือเกิดการอมน้ำเนื่องจาก antigen – antibody complex ไปเปลี่ยน permcability ของหลอดเลือดเป็นต้น
ปฏิกริยาการตกตะกอน ( procipitation)
ปฎิกริยาการตกตะกอน เป็น ปฎิกริยาระหว่างแอนติเจนที่ละลายได้ ( Soluble or
Collodml antigen ) กับแอนติบอดีจำเพาะปฎิกริยานี้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อเกิดการตกตะกอน ( Ig ) ชนิดที่สามารถทำให้เกิดการตกตะกอนได้ดีที่สุดได้แก่ ( IgG ) รองลงมาเป็น ( IgM ) ส่วน ( IgA ) และ ( IgE ) ไม่ทำให้เกิดการตกตะกอน
ปฎิกริยาการตกตะกอนขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น Ionic strength ความเป็น กรด – ด่าง อุณหภูมิ จากปัจจัยเหล่านี้ ปฎิกริยาการตกตะกอนที่ถูกทำขึ้นในหลอดทดลอง ( in vitro ) จึงต้องทำให้อุณหภูมิที่จำเพาะ หรือใน builer ที่มี electrolyte พอเหมาะ
1. การตรวจสอบปฎิกริยาการตกตะกอนอย่างง่าย ( Simple precipitationest )
การตรวจสอบปฎิกริยาการตกตะกอนด้วยวิธีนี้ เป็นการสังเหตุดูการตกตะกอนที่เกิดขึ้นจากการใส่
แอนติเจนลงในแอนติซีรั่ม ซึ่งทำในหลอดทดลอง เช่น ในการตรวจสอบการจัดหาหมวดหมู่ ของ เชื้อ Streptococcus / ด้วยวิธีของ Lancefield , หรือ ในการแยกเผ่าพันธุ์ ( Speciec ) ของสัตว์ที่ถูกแมลงดูดเลือดกัด การตรวจเนื้อสัตว์และการทำ Ascoli test เพื่อการชันสูตรโรค Anthrax เป็นต้น
ในการตรวจสอบนี้ จะต้องใส่แอนติเจนของบนผิวหน้าของแอนติซีรั่มอยู่ในหลอดทดลองแคบ ๆ และตรวจดูการตกตะกอนที่เกิดขึ้นระหว่างรอยต่อของแอนติเจนและแอนติบอดี ในการแยกเผ่าพันธุ์ของสัตว์ที่ถูกแมลงดูดเลือดกัดหรือการตรวจเนื้อสัตวื ก็ใช้เลือดจากแมลงหรือเนื้อสัตว์มาแยกสกัด ( extract ) เอาแต่สารละลายออก แล้วทำการตกตะกอนในหลอดแคบ ๆ โดยทำปฎิกริยากับแอนตีซีรั่มจำเพาะที่เตรียมได้จากการนำเอาซีรั่มของสัตวืต่าง ๆ ไปฉีดเข้ากระต่าย แล้วเอาวีรั่มกระต่ายเหล่านั้นมาใช้เป็นแอนติซีรั่มจำเพาะ ถ้าในหลอดใดเกิดการตกตะกอน ก็แสดงว่าเป็น เลือกหรือเนื้อของสัตว์ชนิดนั้น
วิธีการของ Ascli test เพื่อชันสูตรโรคแอนแทร์ก จากซากสัตว์โดยใช้เนื้อเยื่อของสัตว์ที่สงสัย ต้มใน 0.01 % Acetie acid แล้วเอาสารสกัดนี้ใส่ลงบนผิวหน้าแของแอนติซีรั่มต่อต้านเชื้อ Antjrax ถ้าเกิดการตกตะกอนเป็นวงแหวนที่บริเวรรอยต่อระหว่าง สารแยกสกัด แอนติซีรัม ก็แสดงว่าสัตวืนั้นป่วยด้วยโรคแอนแทร์ก
2. การตรวจสอบการตกตะกอนด้วยวุ้น ( Gel precipitation test )
ถ้าให้แอนติเจน และแอนติบอดี ทำปฎิกริยากันในตัวกลางที่เป็นวุ้น ( Agargel ) ก็สามารถสังเหตุ
การตกตะกอนได้ดีกว่าที่จะให้แอนติเจนและแอนติบอดีทำปฎิกริยากันตามลำพังในหลอดทดลอง การตรวจสอบแบบนี้เรียกว่า Immunodifusion test หรือ Gel precipitation test วิธีนี้นิยมกันมากเพาะว่าทำง่าย ความไวของปฎิกริยาก็ดีพอสมควร และ ข้อมูลที่ได้รับจากผลของการตกตะกอนก็สามารถจะนำไปใช้ได้มาก

หลักการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
การสร้างภูมิคุ้มกัน ( immunization ) เป็นการทำให้เกิดภูมิคุ้มกันขึ้นด้วยความจงใจ ( intentional immunity ) หรือด้วยวิธีที่ไม่ใช่ธรรมชาติ ( artificial immunity ) เพื่อให้มีความหมายแตกต่างจากภูมิคุ้มกันที่ได้มาโดยวิธีธรรมชาติ ( natural immunity ) ซึ่งอาจเป็นภูมิคุ้มกันที่ได้จากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ( active natural immunity ) หรือภูมิคุ้มกันที่ได้จากแอนติบอดีของแม่ที่ผ่านรกเข้าสู่ตัวลูก ( passive natural immunity ) หรือภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวกับเม็ดโลหิตขาวในเลือด กรดในกระเพาะอาหาร น้ำย่อยในน้ำลายและทางเดินอาหาร จุลชีพเจ้าถิ่นที่อยู่ในลำไส้และในช่องคลอดที่คอยต่อสู้หรือกีดขวางจุลชีพก่อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย หรือผิวหนังหรือเยื่อบุผิวที่ขวางกั้นจุลชีพก่อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย เรียกภูมิคุ้มกันประเภทหลังซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในร่างกายว่าภิต้านทานโดยกำเนิด” innate immunty ”
Innate immunty แม้จะปฏิบัติงานได้ทันทีเพราะมีความพร้อมอยู่แล้วในร่างกาย แต่ก็ไม่มีความจำเพาะสำหรับจุลชีพใดจุลชีพหนึ่ง ดังนั้นประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหนึ่งๆจึงไม่ค่อยดีนัก passive natural immunity ก็หมดจากร่างกายทารกเร็ว เพราะช่วงครึ่งชีวิตของแอนติบอดีจะอยู่เพียง ๒๘ วันเท่านั้น
ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ( active natural immunity ) แม้ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอยูไปได้ตลอดชีวิต( life-long immunity ) แต่การติดเชื้อโดยธรรมชาติอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทรมาน ( morbidity ) และการตาย ( mortarity ) ขึ้นในบางราย เพราะการติดเชื้อบางอย่าง เช่น ไวรัส อาจยังไม่มียารักษาที่ได้ผลและอาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ หรือความพิการเกิดขึ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ เพื่อป้องกันมิให้มีการติดเชื้อตามธรรมชาติ หรือลดความรุนแรงของการติดเชื้อตามธรรมชาติ โดยที่วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันนั้นจะต้องมีความปลอดภัยต่อผู้รับ ดังต่อไปนี้ เช่น

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในม้า
1. ลูกม้าแรกเกิดจะไม่มีภูมิคุ้มกันโรคใดๆ ต้องได้รับจากแม่โดยการดื่มนมน้ำเหลือง
( COLOSTRUM ) ภายใน 18 ชั่วโมง
2. นมน้ำเหลืองจะมีโปรตีนซึ่งมีคุณค่าสูง ย่อยง่าย มีฤทธิ์ช่วยระบายอ่อนๆ จะเป็นประโยชน์ต่อลูกม้าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 18 ชั่วโมงแรกเกิด จะมีภูมิคุ้มกันจากแม่ในปริมาณที่มาก และสามารถดูดซึมผ่านลำไส้เข้าสู่ร่างกายลูกม้าได้ดี พบว่าสารนี้จะมีความเข้มข้นสูงสุดเฉพาะช่วง 12 – 24 ชั่วโมงแรก เท่านั้น
3. ลูกม้าจะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เมื่อมีอายุภายใน 1 – 3 เดือน
4. วัคซีนป้องกันโรคในม้ามีหลายชนิด ควรมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคม้าให้เหมาะสม ตามสภาพเมืองไทย และข้อกำหนดที่จำเป็นของสากล ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องส่งม้าไปต่างประเทศ โรคติดต่อในม้าที่ควรมีการฉีดวัคซีนป้องกัน คือ
- RHINOPNEUMONITIS ( โรคโพรงจมูกและปอดอักเสบ )
- INFLUENZA ( โรคไข้หวัดใหญ่ )
- JAPANESE ENCEPHALITIS ( JE. โรคไข้สมองอักเสบ )
- RABIES ( โรคพิษสุนัขบ้า )
- STRANGLES ( โรคมงคล่อ )
- TETANUS ( โรคบาดทะยัก )
5. ม้าทุกตัวจะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรค TETANUS ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันโรค STRANGLESควรพิจารณาทำในม้ารุ่น หรือม้าอายุน้อย หรือพวกที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคในช่วงการระบาดของโรค
6. วัคซีนในม้าที่ควรฉีดในประเทศไทย กำหนดไว้ตามตารางข้างล่างนี้


โปรแกรมการฉีดวัคซีนสำหรับม้า
ชนิดวัคซีน
( Vaccine )
การฉีดครั้งแรก
( Initial Series )
การฉีดซ้ำ
( Booster )
1. INFLUENZA
ฉีด 2 ครั้ง
ห่างกัน 3 หรือ 4 อาทิตย์
ฉีดซ้ำปีละครั้ง
2. RABIES
ฉีด 2 ครั้ง
ทุกปี
3. STRANGLES
ฉีด 2 หรือ 3 ครั้ง
ทุกๆ 1 เดือน
ปีละครั้ง
4. TETANUS TOXOID
ลูกม้า 3 เดือน ฉีด 2 ครั้ง
ห่างกัน 3 – 4 อาทิตย์
ปีละครั้งหรือเมื่อมีบาดแผลหรือหลังผ่าตัด
5. RHINOPNEUMONITIS
ฉีด 2 ครั้ง
ห่างกัน 3 – 4 อาทิตย์
ในม้าท้อง 5,7, 9 เดือน
6. JAPANESE ENCEPHALITIS
ฉีด 2 ครั้ง
ห่างกัน 1 – 4 อาทิตย์
ซ้ำแม่ม้าก่อนคลอด 1 เดือน

7. เป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์ในการกำหนดโปรแกรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ตลอดจนโปรแกรมการถ่ายพยาธิที่มีประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับสภาพในทุกๆ ด้านของหน่วยเลี้ยงม้า




วัคซีน ซีรั่มและทอกซอยด์
วัคซีน ( Vaccines กล่าวคือ เป็นผลิตผลที่เตรียมได้มาจากเชื้อโรคซึ่งทำให้เกิดโรคซึ่งทำให้ เกิดโรคหนึ่งโรคใดโดยเฉพาะ ที่ตัววัคซีนประกอบไปด้วย เชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต หรือตายแล้ว กล่าวคือ วัคซีนไวรัสที่มีชีวิตอยู่ จะเห็นได้ว่ามีอำนาจมากกว่าวัคซีนเชื้อไวรัสที่ตาย เพราะว่าเชื้อไวรัสในวัคซีนในวัคซีนจะสามารถเจริญเติบโตในร่างกายของสัตว์ได้ ในขณะที่วัคซีนเชื้อไวรัสที่ตายจะขึ้นอยู่กับตัวไวรัส ที่มีอยู่ในวัคซีนที่ให้แต่ละครั้ง โดยจะไปกระตุ้นการสร้างแอนตี้บอดี้ขึ้น วัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคสัตว์จะเป็นวัคซีนเชื้อไวรัสชนิดเชื้อเป็น สำหรับวัคซีนที่เตรียมมาจากเชื้อแบคทีเรียจะเป็นชนิดเชื้อตาย หรือที่ได้ทำให้อ่อนกำลังลง และมักเรียกชื่อว่า “แบคทีริน “ ( bacterin )
กล่าวคือ เชื้อโรคที่ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเมื่อนำไปให้แก่สัตว์แล้ว สามารถทำให้สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้น
Homogenous vaccine หมายถึง วัคซีนที่ประกอบด้วยแอนติเจนที่เตรียมได้จากตัวเชื้อจุลินทรีย์ ( pathogens ) ชนิดหนึ่งและใช้เพื่อป้องกันกับเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนั้น เช่นวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ที่เตรียมได้จากเชื้อไวรัส นิวคาสเซิล เป็นต้น
Heterogenous vaccine หมายถึง วัคซินที่เตรียมได้จากเชื้อจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อฉีดเข้าลูกสุนัขอายุน้อย ๆ ก็จะสามารถป้องกันโรค หัดติดต่อ ( distemper ) ได้
Autogenous vaccine หมายถึง วัคซีนที่ได้จากรอยโรค หรือวิการของโรค หรือจุลชีพที่กำลังเกิดโรคในสัตว์โดยเอา จุลชีพนั้นมาทำเป็นวัคซีน แล้วฉีดกลับคืนเข้าไปในสัตว์ป่วยนั้น จะทำให้สัตว์ป่วยนั้นหายป่วยได้ เช่นวัคซีนที่ได้จากโรคฝีดาษไก่ วัคซีนที่ได้จากโรคหูดในสัตว์พวกเลี้ยงลูกด้วยนม เป็นต้น
Polyvalent vaccine หมายถึง วัคซีนที่ประกอบไปด้วย แอนติเจน หลายชนิดเช่น วัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งมีเชื้อไวรัสมากกว่าหนึ่งสเตรน เป็นต้น
Nonovalent vaccine หมายถึง วัคซีนที่ประกอบไปด้วยแอนติเจนเพียงชนิดเดียว (สเตรนเดียว) เช่น วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล เป็นต้น

วัคซีน แบ่งออกเป็น 2 พวกใหญุ่ คือ
1. วัคซีนชนิดที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว ( Nonreplicative or killed or inactivated vaccine )
(วัคซีนเชื้อตาย)
2. วัคซีนชนิดที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือทำให้อ่อนกำลังลง ( Repiicative or live or attenuated vaccine ) (วัคซีนเชื้อเป็น)
วัคซีนเชื้อตาย เป็นวัคซีนซึ่งเตรียมจากเชื้อจุลินทรีย์ ที่มีความรุนแรง ( virulnnt organism ) ที่ถูกทำให้ตาย โดย กรรมวิธีทางฟิสิกส์ หรือเคมีก็ตาม หรือบางอย่าง ( เช่นวัคซีนป้องกันโรคอหิวาห์ของ กรมปศุสัตว์) อาจเป็นพิษของเชื้อโรคที่เรียกว่า (Toxoid )จุลชีพในวัคซีน ประเภทนี้จะไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้อีกต่อไป



วัคซีนเชื้อเป็น เป็นวัคซีนซึ่งเตรียมจากเชื้อโรค (จุลินทรีย์) ที่มีความรุนแรง ( virulnnt organisms ) ที่ถูกทำให้อ่อนแรงลง (Attenuated ) หรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นจุลชีพที่ไม่มีความรุนแรง ไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ การทำให้ลดความรุนแรงลงนั้น อาจใช้วิธีทางฟิสิกส์ เคมี หรือโดยการผ่านเข้าในไข่ฟัก หรือ ทิชชูว คัลเจอร์( tissue culture) หลาย ๆ ครั้ง จุลชีพเหล่านี้ยังมีชีวิตอยู่สามารถเพิ่มจำนวนได้ ในตัวถูกอาศัย
วัคซีนเชื้อตาย มีความปลอดภัยเมื่อให้มากกว่า แต่ระยะเวลาการให้ภูมิคุ้มกันโรคจะน้อยกว่าวัคซีนชนิดเชื้อเป็น แต่วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอาจทำให้เกิดโรคได้

การเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียในการใช้วัคซีนทั้ง 2 ชนิด
วัคซีนที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ตาย
วัคซีนที่ทำจากเชื้อจุลินทืรีย์ที่มีชีวิตอยู่หรือทำให้อ่อนกำลัง
· ปลอดภัย
· ความคุ้มโรคต่ำ
· ต้องฉีดกระตุ้น ( Booster ) หลายครั้ง จึงจะให้ความคุ้มอยู่ได้คงที่
· เกิดความไวผิดธรรมดาต่อแอนติเจน หรือ วัคซีน ( Hypersensitivity )
· เก็บง่าย , ใช้สดวก
· อาจทำให้เกิดโรคได้
· ความคุ้มโรคสูง
· ฉีดเพียงครั้งเดียวให้ความคุ้มอยู่ได้นาน

· ไม่เกิดความไวผิดธรรมดาต่อแอนติเจน หรือวัคซีน

· เก็บยาก (เก็บที่อุณหถูมิ 2 – 6 0 C.) ใช้ยาก


ทางที่ให้วัคซีน
1. ฉีดเข้าร่างกาย เช่น ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
2. พ่นเข้าทางจมูก หรือหยอด
3. ผสมอาหาร หรือ น้ำดื่ม
ประโยชน์ของการทำวัคซีน
1. ป้องกันโรค
2. รักษาโรค ถ้าให้วัคซีนเชื้อตายกับสัตว์ที่รับเชื้อโรคในระยะฟักตัว ใช้เป็นการรักษาได้

การใช้เซรุ่ม
- เซรุ่ม คือ ส่วนประกอบของเลือดสัตว์ ซึ่งแยกเอเฉพาะส่วนที่มีความคุ้มโรคอยู่ออกมาได้มาจากสัตว์ซึ่งร่างกายมีความคุ้มต่อโรคแล้ว ดังนี้เซรุ่มมีผลในการต่อต้านเชื้อโรคได้ทันที
- เซรุ่ม ให้ผลในการคุ้มโรคในระยะสั้น ดังนั้นจึงถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคมากกว่า แต่อาจใช้ให้ความคุ้มโรคแก่ลูกสัตว์ ซึ่งร่างกายยังไม่พร้อมที่จะสร้างความคุ้มโรคเอง
- การใช้เซรุ่มในสัตว์ก็เหมือนกับการใช้วัคซีน ต้องทำโดยผู้มีความรู้ เพราะผลการใช้เซรุ่มมีความเกี่ยวพันกับผลของการใช้วัคซีนด้วย ถ้าให้ในระยะใกล้เคียงกัน
- เซรุ่ม อาจเรียกว่า แอนตี้เซรุ่ม หรือ ไฮเปอร์อิมมูนเซรุ่ม ( Hyperimmune serum )

บทที่ 1 ประวัติความสำคัญ

บทที่ 1
ประวัติความสำคัญ

กล่าวนำทั่วไป
เวชกรรมป้องกัน กล่าวได้ว่า เป็นศาสตร์ว่าด้วยการศึกษา จาก การสังเกต การจำแนกความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดปรากฎต่าง ๆ ขึ้น หรืออุบัติการณ์ของโรค จากการใช้เหตุผล และสมมุติฐานเป็นสำคัญ
เวชกรรมป้องกัน กล่าวได้ว่า คือ ศาสตร์ของการเรียนรู้ธรรมชาติ ธรรมชาติมีปรากฏการณ์อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้นทุกเมื่อเชื่อวันไม่เปลี่ยนแปลง เวชกรรมป้องกันจึงสามารถตั้งเป็นกฏแห่งความจริงนั้น ๆ ได้ เป็นความจริงที่สามารถพิสูจน์ ได้ ว่าเป็นความจริงตลอดเวลา เวชกรรมป้องกันไม่ต่างกันกับธรรมชาติ คือสรรพสิ่งหรือสิ่งแวดล้อม เป็นศาสตร์ว่าด้วยการเรียนรู้ความจริงตลอดเวลา

ประวัติความสำคัญ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร เพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะอาชีพทางการเลี้ยงนั้น ได้มีการพัฒนาระบบการเลี้ยงไปทั้งประมาณและคุณภาพ ทั้งนี้เนื่องจากเพื่อผลิตอาหารทางด้านเนื้อสัตว์ให้เพียงพอกับประชากรของประเทศและของโลก ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งสัตว์เนื้อสัตว์ออกไปขายยังต่างประเทศ เป็นอันดับต้น ๆ ปีหนึ่ง ๆ รายได้จากการนำสัตว์ไปขายยังต่างประเทศมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นนโยบายหลักของรัฐบาล ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน คือการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการกินดีอยู่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
1. ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ
1.1 ในสภาวะที่สัตว์ป่วยเป็นโรคนั้นจะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาและในบางครั้งอาจถึงกับสูญเสียชีวิตสัตว์
1.2 มีผลต่อการส่งสินค้าไปต่างประเทศ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย ในโค กระบือ
1.3 เพิ่มค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรค
2. ความสำคัญด้านสาธารณสุข
2.1 สุขภาพอนามัยของประชาชน รัฐบาลมุ่งเน้นให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคและพยาธิในปศุสัตว์ที่มีอยู่มาก ในจำนวนโรคเหล่านี้บางโรคสามารถติดต่อมายังคนได้
2.2 รัฐบาลต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการที่จะต้องรักษาผู้ป่วยจากการติดโรคจากสัตว์ และการผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโรคในสัตว์เป็นจำนวนเงินไม่ใช้น้อย
3. ความสำคัญของการศึกษาโรคและพยาธิปศุสัตว์
3.1 เพื่อให้เกษตรกรที่ประกอบอาชีพสัตว์เลี้ยงจำเป็นอย่างยิ่งต้องศึกษาเกี่ยวกับโรคและพยาธิ
3.2 เพื่อจะได้รู้จักและป้องกันการเกิดโรคทั้งต่อตนเองและต่อสัตว์เลี้ยงได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นผลดี ในด้านผลผลิตภายในประเทศ และการส่งสัตว์ออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศ พร้อมกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การแบ่งลักษณะของโรค
การที่สัตว์เกิดโรคนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างมาประกอบกัน คือ D = H + A + E
Host เกี่ยวกับตัวสัตว์เอง ถ้าสัตว์ใดมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีความต้านทานโรคดี สัตว์จะป่วยเป็นโรคได้ยาก ถ้าสัตว์ใดมีความอ่อนแอ ไม่มีความต้านทานโรค เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปก็จะทำให้เป็นการเกิดโรคได้ง่าย
Agent ตัวเชื้อโรค ถ้าตัวสัตว์ได้รับเชื้อโรคเข้าไปมีความรุนแรงพอก็ทำให้สัตว์ป่วยเป็นโรคได้ง่าย ถ้าความรุนแรงของเชื้อโรคไม่พอ สัตว์ก็จะป่วยได้ยากหรือเป็นอย่างอ่อน
Environment สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของสัตว์มาก สัตว์ที่เคยอยู่ที่อบอุ่น หรือหนาว ถ้านำมาเลี้ยงในแถบร้อน เช่นไทย สัตว์นั้นก็จะเกิดโรคได้ง่าย อัตราการเจริญเติบโตไม่ดี ให้ผลผลิตต่ำ เช่น วัวพันธุ์ Holstein Friesian ซึ่งเป็นวัวนมพันธุ์ดีจากสวิสเซอร์แลนด์ มีสถิติการให้นมสูงสุด ถ้านำวัวพันธุ์นี้มาเลี้ยงในประเทศไทยที่มีอากาศร้อน วัวนี้จะให้ผลผลิตต่ำกว่าลูกผสมเสียอีก และยังเป็นโรค Babesia ได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงของอากาศจากร้อนเป็นหนาว และจากหนาวเป็นร้อนทันทีทันใด ก็จะมีผลกระทบกระเทือนแก่สัตว์เหมือนกัน
การที่สัตว์จะเกิดโรคได้นั้น จำเป็นต้องมีปัจจัยดังกล่าวมาแล้วเสริมซึ่งกันและกัน และการเป็นโรคนั้นยังมีระยะความรุนแรงของโรคต่างกันดังนี้ คือ
Per acte ความรุนแรงชนิดเฉียบพลัน
Acute ความรุนแรงชนิดร้ายแรง
Sub – acute ความรุนแรงชนิดชนิดอ่อน
Chronic ความรุนแรงชนิดเรื้อรัง

การแบ่งลักษณะของโรคสัตว์ แบ่งได้ดังนี้
1. แบ่งตามลักษณะอาการของการแพร่โรค
1.1 โรคติดต่อหรือโรคระบาด Coutagios Disease คือ โรคที่ติดต่อได้โดยทางตรงหรือ ทางอ้อม และติดต่อแพร่ระบาดไปได้รวดเร็วเป็นโรคที่เกิดจากการมีเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หรือ เกิดจากสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Bacillus anthracis โรคอหิวาห์สุกร ( Swine Fever ) เกิดจากเชื้อ Tortor suis
1.2 โรคติดต่อ ( Non Coutagious disease ) คือโรคที่เกิดขึ้นแล้วไม่มีการติดต่อไปยังตัวอื่น เป็นโรคเฉพาะตัว เช่น โรคขาดอาหารต่าง ๆ การเกิดบาดแผล อาหารติดคอ โรคท้องอืดในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ฝี และหนองธรรมดา เป็นต้น
2. แบ่งตามชนิดของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรค
2.1 โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ( Bacterial disease ) เช่น บาดทะยัก (Tetanus ) วัณโรค ( Tuberculosis ) โรคคอบวม ( Hemorrhagic septicemia )
2.2 โรคที่เกิดจากไวรัส ( Viral disease ) เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย ( Foot and Mouth disease ) โรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies )
2.3 โรคที่เกิดจากตัวเบียฬ ( Parasitic disease ) เช่น โรคบิด ( Coccidiosis ) โรคขี้เรื้อน
( Mange )
2.4 โรคที่เกิดจากเชื้อรา ( Fungal disease ) เช่น ฝีระคำร้อย (Epizootic lymphangitis)
3. แบ่งตามระยะเวลาของการเกิดโรค
3.1 โรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ ( Heredity disease ) คือ โรคที่สืบเนืองมาจากไข่ (Ovum) และเชื้อตัวผู้ ( Sperm ) เช่น โรคไส้เลื่อนในสุกร ( Umbilical hermia ) โรคฮิบดีสพลาเซีย ( Hip displasia )
3.2 โรคที่เกิดขึ้นขณะเป็นลูกอ่อนก่อนคลอดหรือเป็นมาแต่กำเนิด ( Congenital disease ) โรคที่เกิดผิดปกติของการเจริญเติบโตของลูกอ่อนในท้อง เช่น โรคทวารหนักไม่เปิดในลูกสุกร โรคพยาธิตัวกลม โรคขี้ขาว ( Pullorum )
3.3 โรคที่เกิดขึ้นภายหลัง ( Acquired disease ) โรคที่เกิดขึ้นภายหลังโดยมีสาเหตุไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุอันแรกและที่สอง เช่น โรคลำไส้อักเสบ ( Enteritis ) โรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น อหิวาห์ไก่( Fonel cholera ) โรคบาดทะยัก ( Tetanus )

การติดต่อของโรค ( Transmission )
โรคสัตว์ มีสาเหตุ ๆ กันออกไปตามที่จำแนกแล้วทั้งหมด เชื้อโรคต่างชนิดกัน ย่อมต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกันในการดำรงชีวิตอยู่ทั้งในสิ่งแวดล้อม และในตัวสัตว์ที่มันเข้าไปทำให้เกิดโรคขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงสามารถจำแนกวิธีการที่เชื้อโรคต่าง ๆ ชนิดสามารถเข้าสู่ ( Infect ) ร่างกายสัตว์ได้ดังนี้
1. โดยการสัมผัสโดยตรง หมายถึง มีการติดเชื้อจากสัตว์ป่วยมายังสัตว์ที่ยังไม่ป่วยโดยตรง โดยไม่อาศัยพาหะอื่น ๆ วิธีนี้อาจเป็นไปได้โดย
- การกินสิ่งขับถ่าย ( excretion ) หรือสิ่งขับออก ( secretion ) ซึ่งมีเชื้อโรคของสัตว์ป่วยเข้าไป
- การสัมผัสกับผิวหนังที่ไม่มีบาดแผล เชื้อโรคจะแทรกซึมเข้าไปทางผิวหนังโดยตรง
- การเข้าทางบาดแผล เชื้อโรคบางชนิดที่เข้าทางบาดแผลของสัตว์ที่ยังไม่ป่วยได้ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
- โดยการสืบพันธุ์ ระหว่างสัตว์ป่วยกับสัตว์ที่ยังไม่ป่วย ส่วนใหญ่มักพบกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคของทางเดินระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น วิบริโอซีส ( Vibriosos )
2. ติดต่อโดยผ่านเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ คือ ติดต่อโดยเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่บนวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องมือในการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ รางอาหาร , รถขนส่งสัตว์ เป็นต้น
3. ติดต่อโดยสัตว์ที่เป็นตัวแพร่เชื้อ วิธีนี้ติดต่อโดยการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ ( infected animals ) แต่ไม่แสดงอาการให้เห็น และจำนำเชื้อไปสู่สัตว์ตัวอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้อาจเป็นสัตว์ชนิดเดียวกันหรือไม่ก็ได้ เช่น นกกระจอกสามารถนำเชื้ออหิวาห์ไก่ได้เป็นต้น
4. ติดต่อโดยเชื้อโรคอยู่ในดิน เชื้อโรคบางชนิดสามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน ๆ โดยอยู่ในรูปของ สปอร์ เช่น เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น
5. ติดต่อโดยกินจากอาหารและน้ำ โดยอาหารและน้ำที่ให้สัตว์กินไม่สะอาดมีการปนเปื่อนเชื้อโรคบางชนิดอยู่
6. ติดต่อโดยทางอากาศหรือลมหายใจ เชื้อโรคพวกนี้มีน้ำหนักเบาและมีขนาดเล็กมาก จะการกระจายอยู่ในอากาศ เมื่อสูดดมเข้าไปก็จะทำให้สัตว์ติดโรคนั้น ๆ ได้ง่าย เช่น เชื้อโรควัณโรค และเชื้อที่ทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
7. ติดต่อโดยแมลงบางชนิด เช่น เชื้อโรคโปรโตซัว พวก บาบีเซีย ( babesia ) สามารถถูกพาเข้าสู่สัตว์ที่ยังไม่ป่วย โดยอาศัยแมงดูดเลือดพวกเห็บ ( tick ) จึงเรียกว่าโรคที่เกิดจากเห็บนี้ว่า ทิค ฟีเวอร์ ( tick fever )
8. ติดต่อโดยเชื้อโรคที่พบในร่างกายของสัตว์ปกติ เชื้อบางชนิดอาศัยอยู่ในร่างกายสัตว์ปกติอยู่แล้ว แต่ไม่ทำให้เกิดโรค ยกเว้นในขณะที่สัตว์นั้นอ่อนแอลงเมื่อ เชื้อนี้ก็จะทำให้เกิดโรคขึ้นมาทันที เช่น โรคคอบวมในโค(Hemorrhagic septicemia)

ทางที่เชื้อโรคแพร่
โรคที่ที่เกิดกับสัตว์ทุกชนิดนั้นบางโรคก็ติดต่อไม่ได้ บางโรคก็สามารถที่จะติดต่อกันได้ จึงทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากสัตว์ตัวที่ป่วยไปสู่สัตว์ตัวอื่น ๆ ที่อยู่ด้วยกัน หรืออยู่ใกล้เคียงกันได้ สิ่งที่เราควรจะทราบเกี่ยวกับการแพร่ขยายของเชื้อโรคเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการหาวิธีป้องกัน และควบคุมเกี่ยวกับโรคและการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่สำคัญมีอยู่ 2 ทาง คือ
1. ทางที่เชื้อโรคแพร่ระบาดไปได้
1.1 ทางน้ำ ( Water )
1.2 ทางอาหาร ( Food )
1.3 ทางอากาศ ( Air )
1.4 ทางเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ( Inaterment )
1.5 ทางพาหะที่นำไป ( Vactor )
1.6 ทางอุจจาระและปัสสาวะ ( Feces and Urine )
1.1 ทางน้ำ ( Water ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไปได้ทางน้ำโดยเชื้อโรคสามารถที่จะปะปนอยู่ในน้ำที่สัตว์ป่วยดื่ม หรือ น้ำที่ใช้ในการล้างคอกและโรงเรือนของสัตว์ป่วย เช่น โรคหวัดไก่ โรคบิด เป็นต้น
1.2 ทางอาหาร ( Food ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคสามารถที่จะแพร่ระบาดไปได้โดยติดต่อไปทางอาหาร ที่ให้สัตว์กินได้ด้วย โดยการกินอาหารร่วมกันระหว่างสัตว์ดีและสัตว์ป่วย
1.3 ทางอากาศ ( Air ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคทางอากาศเป็นการแพร่ระบาดที่สำคัญทางหนึ่งและสามารถแพร่ระบาดออกไปได้อย่างกว้างขวางมาก เพราะการแพร่กระจายของเชื้อโรคทางอากาศจะกระจายออกไปได้ง่ายดาย ฟุ้งกระจายออกไปได้เร็วและกว้างไกลมาก
1.4 ทางเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ( Instrument ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคอีกทางหนึ่ง คือ การแพร่ระบาดทางเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ เช่น รถเข็นอาหาร ที่ตักอาหาร จอบ เสียม ที่ใช้ในการตักอาหาร และทำความสะอาดคอกต่าง ๆ ระหว่างคอกสัตว์และคอกสัตว์ป่วย เชื้อโรคสามารถติดต่อมากับเครื่องมือเครื่องใช้
1.5 ทางที่พาหะนำไป (Vactor ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโดยทางที่มีพาหะนำไป เช่น พวก เห็บ เหา ไร หมัด แมลงวัน ยุง หนู นก เป็นต้น พาหะพวกนี้จะเป็นตัวนำเชื้อโรคจากสัตว์ป่วยแพร่ระบาดไปสู่สัตว์ตัวอื่น ๆ ได้
1.6 ทางอุจจาระและปัสสาวะ ( Feces and Urine ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคทางอุจจาระและปัสสาวะนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากสัตว์ป่วยนั้นเกิดโรคที่สามารถที่ติดต่อได้ทางอุจจาระและปัสสาวะได้ เช่น โรค ปากและเท้าเปื่อย ( Food and Mouth Disease ) โรคอหิวาห์ ( Swine Fever ) เมื่อสัตว์ป่วยเป็นโรคนี้แล้วทำให้มีเชื้อโรคปะปนออกมากับอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ป่วย เพราะฉะนั้นจึงทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคทางอุจจาระและปัสสาวะได้
2. ทางที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายสัตว์
การแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่แพร่ออกไปแล้วเมื่อตัวสัตว์ได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ นั้นแล้ว ก็จะมีวิธีการที่เชื้อโรคจะหาวิธีการหรือหนทางเข้าสู่ตัวสัตว์ให้ได้ ซึ่งวิธีการและหนทางที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ตัวสัตว์ได้มี 7 ทาง คือ
2.1 ทางระบบหายใจ ( Respiratory System )
2.2 ทางระบบเครื่องย่อยอาหาร ( Digetive System )
2.3 ทางเยื้อหุ้มต่าง ๆ ( Membrance )
2.4 ทางผิวหนัง ( Skin )
2.5 ทางสายสะดือ และรก ( Umbilical and Placenta )
2.6 ทางอวัยวะสืบพันธุ์ ( Inoculation )
2.7 การฉีดเข้าร่างกาย ( )

2.1 ทางระบบหายใจ ( Respiratory System )
การเข้าร่างกายของเชื้อโรคทางระบบหายใจ จะเกิดขึ้นได้โดยการอยู่ร่วมกันของสัตว์ป่วยและสัตว์ดี แล้วหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่ระบาดทางอากาศ เช่น โรคหวัดใหญ่ วัณโรค
2.2 ทางระบบเครื่องย่อยอาหาร ( Digetive System )
การเข้าสู่ร่างกายของเชื้อโรคทางระบบเครื่องย่อยอาหาร เกิดขึ้นได้เรื่องจากการกินอาหารรวมกัน ของสัตว์ดีและสัตว์ป่วย หรือเกิดจากการกินอาหารของสัตว์ดีที่กินอาหารที่สกปรก มีเชื้อโรคชนิดนั้นเจือปนเข้าไปด้วย ทำให้เกิดโรคได้
2.3 ทางเยื่อหุ้มต่าง ๆ ( Membrance )
การเข้าสู่ร่างกายของเชื้อโรคทางเยื่อบุนั้น ๆ เกิดได้เนื่องจากเยื่อหุ้มนั้น หรืออวัยวะส่วนที่ได้รับเชื้อโรคแล้วเชื้อโรคผ่านเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อหุ้มอวัยวะนั้น ๆ เลย เช่น เยื่อหุ้มตา
2.4 ทางผิวหนัง ( Skin )
การที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายสัตว์ทางผิวหนังนี้ได้ก็เป็นวิธีการหนึ่ง ซึ่งผิวหนังตามปกติของคนและสัตว์จะสามารถป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดีพอสมควร ยกเว้นในกรณีที่ผิวหนังได้รับอันตรายเกิดการฉีกขาดขึ้น จะทำให้ผิวหนังเป็นแผลและเป็นทางที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
2.5 ทางสายสะดือ และรก ( Umbilical and Placenta )
วิธีการที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ตัวแม่ทำให้เกิดโรคแก่แม่สัตว์จนเชื้อโรคนั้นเข้าสู่กระแสโลหิตของแม่ แล้วติดต่อไปยังลูกที่อยู่ในครรภ์ ได้โดยทางสายสะดือและรก เพราะว่าการติดต่อส่งอาหารและออกซิเจนจากแม่ไปสู่ลูกอ่อนได้โดยทางสายสะดือนี้ จึงเป็นเหตุให้เชื้อเข้าสู่ลูกอ่อนทางสายสะดือได้ด้วย
2.6 ทางอวัยวะสืบพันธุ์ ( Inoculation )
เป็นโรคที่ติดต่อกันได้โดยการผสมพันธุ์ เช่น โรคบรูเซลโลซีส โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ต่าง ๆ
2.7 การฉีดเข้าร่างกาย ( )
การฉีดเข้าร่างกาย ได้แก่ทดลองฉีดเชื้อเข้าร่างกายสัตว์ เพื่อการทดลองเรื่องโรคต่าง ๆ