วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

บทที่ 5 การปฏิบัติเมื่อเกิดโรคระบาด

บทที่ 5
การปฏิบัติเมื่อเกิดโรคระบาด

วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดโรคระบาด
หลักปฏิบัติเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้น การปฏิบัติของผู้เลี้ยงเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นในฟาร์มนั้นนับว่ามีความสำคัญ อย่างยิ่ง ในการป้องกันโรคไม่ให้แพร่ระบาดออกไปอีก ในที่นี้จะขอกล่าวเป็นข้อ ดังนี้
การสังเกตลักษณะอาการที่ปกติ
ผู้เลี้ยงสัตว์ที่ดีนั้นต้องหมั่นเฝ้าดูการกินอาหาร และน้ำ และการให้ผลผลิตอยู่ตลอดเวลาแต่อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ คอยสังเกตดูลักษณะอาการท่าทาง ที่ปกติของสัตว์ในฝูงไว้ให้ดี ซึ้งถ้ามีอาการที่ผิดปกติไปจากที่เคยเห็นประจำก็สามารถลงความเห็นได้ว่า สัตว์ในฝูงมีอาการที่ผิดปกติซึ่งอาจเกิดจากโรคก็ได้ ผู้เลี้ยงความปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไป
1. ตรวจสอบว่าเกิดจากโรคติดต่อหรือไม่
มีบ่อยครั้งเหมือนกันที่ผลจากการวินิจฉัยาโรคจากห้องปฏิบัติการปรากฏไม่ได้เกิดจากโรคติดต่อ แต่เป็นผลเนื่องมาจาก การจัดการ เช่น ไก่มีการตัดปากที่ผิดวิธี การกินวัสดุปูพื้น และ เศษวัตถุต่าง ๆ
การอดอาหาร และน้ำ , การหนาวสั่นในลูกไก่ บาดแผลจากการจับที่รุนแรง หรือจากเครื่องมือชนิดอัตโนมัติ หรือ จากการฉีดยา ความล้มเหลวในด้านการให้แสง การจิกกันของไก่ การสำลักควัน เลี้ยงสัตว์ในคอกแน่นเกินไป ให้อาหารน้อยไป ใช้รางอาหารรางน้ำน้อยไป ไม่พอสำหรับจำนวนสัตว์ การระบายอากาศไม่ดี อาหารที่ใช้เลี้ยงมีคุณค่าทางอาหารต่ำ สภาพต่าง ๆ เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องส่งไปตรวจยังห้องปฏิบัติการแต่อย่างใด สำหรับพยาธิภายนอก ( เช่น ตัวหมัด ,เหา, หิด,เห็บ เป็นต้น) ผู้เลี้ยงสามารถตรวจดูรู้ได้โดยตัวเอง
2. ให้แยกกักกันสัตว์ป่วย
จากการตรวจดูถ้าแน่ใจแล้วว่าสภาวะที่เกิดกับสัตว์ในฝูงไม่ได้มีปัจจัยเกี่ยวกับการจัดการ มาเกี่ยวข้องแล้ว ขั้นต่อไปก็ให้ตั้งต้นกักกันคอก โรงเรือน บริวณฟาร์ม ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับลักษณะของฟาร์มเป็นสำคัญ ถ้าเป็นไปได้ก็ให้แยกคนเลี้ยงในฝูงสัตว์ที่ป่วย ไม่ให้ไปยุ้งกับสัตว์ในฝูงหรือคอกที่ปกติ และให้เปลี่ยนเสื้อผ้ารวมทั้งรองเท้าตัวใหม่ หรือคู่ใหม่ทุกครั้ง ระหว่างเข้าคอกแต่ละคอก ถ้าแยกไม่ได้จริง ๆ ก็ให้ผู้เลี้ยงเข้าคอกสัตว์ป่วยสุถดท้ายหลังจากเข้าคอกสัตว์ปกติแล้ว
3. ส่งตัวอย่างโรคหรือติดต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์โดยตรง
ผู้เลี้ยงหรือเจ้าของหรือเจ้าหน้าที่บริการจากบริษัท ควรที่จะได้ส่งตัวอย่างของโรคไปตรวจยังห้องปฏิบัติการวินิจฉัยโรค หรืออาจติดต่อกับเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ทางด้านโรคสัตว์ให้มาช่วยตรวจสัตว์คอกหรือฝูงที่ป่วย
4. ให้การวินิจฉัยโรคโดยทันที
เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะวินิจฉัยโรคโดยทันที ซึ่งที่ระยะเวลาในการวินิจฉัยที่ขึ้นอยู่กับโรคที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ การวินิจฉัยโรค โดยการผ่าซากบางครั้ง ถ้าผู้วินิจฉัยโรคมีความชำนาญก็อาจจะทราบได้ว่าสัตว์เป็นโรคอะไร แต่บ่อยครั้งที่จำเป็นต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันให้แน่นอนอีกครั้ง
5. ให้การระมัดระวังเป็นพิเศษ
ในกรณีที่สัตว์ป่วยเป็นโรคที่สงสัยหรือได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคที่สำคัญอันตรายต่อมนุษย์ เช่น โรค ไข้หวัดนก , โรคอีรอชีฟีแอส และการติดเชื้อรา ก็ให้ผู้เลี้ยงและผู้ตรวจเพิ่มความระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ สำหรับในต่างประเทศ บางประเทศนั้น ถ้าปรากฏว่า มีไข้หวัดนก การติดเชื้อชาลโมเนลล่า , โรคกล่องเสียงอักเสบ เกิดขึ้นเมื่อใด ก็ตามผู้เลี้ยง หรือเจ้าของต้องแจ้งให้ทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคสัตว์ทราบทันที ทันใด มิฉะนั้นถือว่าเป็นความผิด
6. การใช้ยารักษา
ไม่ควรใช้ยารักษาก่อนที่จะได้มีการวินิจฉัยโรคที่แน่นอน หรือได้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ที่ชำนาญทางด้านโรคสัตว์เสียก่อน การใช้ยาที่ผิดหรือไม่ถูกต้องโรคนั้น แทนที่จะเสียเงินเสียทองโดยไม่คุ้มแล้ว ทำให้เป็นอันตราย หรือเป็นภัยวิบัติตามมาก็ได้ ถ้าผลการวินิจฉัยโรคว่าเกิดจากโรคติดต่อ ก็ให้ใช้ยาทำการรักษาทันที โดยให้ใช้ตามาคำแนะนำ ในต่างประเทศมีหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการให้ความรู้ในการใช้ยาต่าง ๆ ในการรักษาโรคโดยเฉพาะ ทั้งนี้เพราะว่ามียาหลายชนิดถ้านำมาใช้กับสัตว์แล้วฤทธิ์ของยาจะตกค้างอยู่ในผลผลิตของมัน เช่น ในไข่ และในเนื้อได้ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องทำความเข้าใจกับยาชนิดต่าง ๆ ให้ดี และเข้าใจเสียก่อน
ถ้าเกิดโรคระบาดกับฝูงสัตว์หรือในคอกพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งสามารถแพร่ระบาดผ่านสู่ลูกได้ เช่นผ่านทางไขฝัก ได้แก่ โรคซาลโมเนลโลซีส , ไมโคพลาสโมซีส , โรคเยื่อหุ้มสมองอับเสบ (ไข่ที่ได้จากฝูงพ่อแม่พันธุ์ ไม่ควรนำมาใช้สำหรับฟัก ให้พึงระลึกอยู่เสมอว่า ฤทธิ์ของยาที่ใช้ในการรักษาพ่อแม่พันธุ์ที่ป่วย อาจจะตกค้างด้วย ผ่านสู่ไขและบางครั้งบางคราวอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนในไข่ได้เหมือนกัน)
7. ทำลายสัตว์ป่วย ที่มีโอกาศหายจากโรค
สัตว์ที่ป่วย หรือ พิการในคอก ควรจะฆ่า ทำลายโดยต้องไม่ให้เลือด หรือ เอ็กซูเดท ( exudate ) แพร่กระจาย สัตว์ที่ตายเนื่องจากโรคหรือ ที่ได้ฆ่าให้ตายให้จัดการกำจัดทิ้งโดยการ เผา หรือ ฝัง ให้ถูกหลักวิชาการ

การปฏิบัติเมื่อเกิดโรคระบาด
การทำความสะอาดโรงเรือนและการใช้ยาฆ่าเชื้อโรค
การทำความสะอาดโรงเรือนคอกสัตว์ และอุปกรณ์ภายในโรงเรือนเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการทำอยู่เสมอ ๆ เป็นกิจวัตร ครั้งนี้เพื่อทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เพิ่มจำนวนขึ้นในแต่ละวัน และเป็นการกำจัดของเสีย และสิ่งเหลือใช้ที่อาจเป็นพิษต่อสัตว์ได้ การทำความสะอาดควรจะทำทุกซอกทุกมุมเท่าที่จะเป็น
ไปได้ เพื่อให้เชื้อโรคและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ถูกกำจัดหมด ผู้ที่จะทำความสะอาดควรฝึกนิสัย ให้เป็นคนรักงาน มีความละเอียดรอบคอบและรู้จักใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ อีกด้วย
การใช้ยาฆ่าเชื้อโรคซึมเข้าถึงตัวเชื้อโรคได้ ยาฆ่าเชื้อโรคจะออกฤทธิ์ได้เต็มาที่เชื้อโรคบางชนิดมีระบบป้องกันอันตรายของตัวมันเอง เช่น มีสารฉาบอยู่ที่ผิว ทำให้ไม่เปียกน้ำ ใน กรณีเช่นนี้ เราควรใช้สารที่ทำให้เปียกน้ำด้วยเรียกว่า Wetting agent เช่น สบู่ ผงซักฟอก การใช้ยาฆ่าเชื้อโรคก็เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความรู้ด้วย ตามปกติควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จึงจะทำให้การใช้ได้ผลดีที่สุด
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำความสะอาดโรงเรือน
1. ไม้กวาดพื้นและเพดาน , ไม้กวาดทางมะพร้าว
2. แปรงถูพื้นแบบต่าง ๆ
3. ถังน้ำ
4. สายยาง
5. เศษผ้า
6. ฟองน้ำ
7. พลั่ว
8. รถเข็นขยะมูลฝอย
9. สบู่ ผงซักฟอก
10. รองเท้าบูท
ขั้นตอนในการทำความสะอาดโรงเรือน
1. จัดเตรียมอุปกรณ์การทำความสะอาดโรงเรือน
2. เตรียมตัวให้พร้อมเช่น เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย, สวมรองเท้า , ใส่หมวก เป็นต้น
3. เก็บอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเข้าที่
4. กวาดพื้นและเพดาน ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด
5. เก็บขยะมูลฝอย , อุจจาระ , เศษอาหาร
6. ใช้น้ำฉีดพ่นพร้อมกับใช้แปรงหรือไม้กวาดทางมะพร้าวล้างให้ทั่วทุกมุกคอก
7. ใช้สบู่ หรือ ผงซักฟอก ละลายน้ำแล้วทำการล้างให้ทั่ว
8. ทำการล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้งหนึ่ง
หมายเหตุ การทำความสะอาดคอกสัตว์ควรทำหลังจากในคอกสัตว์ไม่มีสัตว์แล้ว การใช้น้ำ , ใช้สารเคมีให้พิจารณาใช้เมื่อจำเป็น นอกจากนี้ไม่ควรใช้กับสัตว์บางประเภท เช่น ลูกสัตว์ เป็นต้น
ยาฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ประจำในคอกสัตว์ ยาฆ่าเชื้อโรคมีมากมายหลายชนิด ยาฆ่าเชื้อโรคที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1. ราคาถูกแต่มีคุณสมบัติดี
2. คงทนออกฤทธิ์ ได้นานไม่เสื่อมสลายได้ง่ายเมื่อผสมน้ำ
3. ไม่มีอันตรายต่อคนและสัตว์
4. ใช้ง่ายสะดวก วิธีการไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้เครื่องมือมาก
5. ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนจนสามารถทำลายอุปกรณ์และคอกสัตว์
6. หาซื้อง่าย
7. กลิ่นดีไม่เหม็นติดเครื่องใช้ต่าง ๆ
8. ออกฤทธิ์ได้กว้างขวาง ทำลายเชื้อโรคได้หลายชนิดและออกฤทธิ์ได้ดีที่อุณหภูมิได้ดี
9. ไม่ค่อยสะสมหรือมีฤทธิ์ตกค้าง ในร่างกายสัตว์นาน
10. เมื่อใช้แล้วไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อผลิตผลจากสัตว์
11. สามารถใช้ได้กับสัตว์ทุกชนิดทุกอายุ
12. มีความเข้มข้น
แม้ว่าจะไม่มียาใดที่มีคุณสมบัติครบทุกข้อก็ตามแต่กฏเกณฑ์ดังกล่าวนี้ ควรจะยึดถือเป็นแนวการพิจารณา
ยาฆ่าเชื้อโรคที่พบบ่อย ๆ มีดังนี้
1. Phenol หรือ Carbolic สารเคมีนี้ได้จากน้ำมันถ่านหิน (Coal tar ) ยานี้ส่วนมากมีขายในรูปสารละลาย แต่เนื่องจากราคาแพงจึงไม่แพร่หลายทั่วไปสารละลายเข้มข้น 2 % จะเป็นยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับบาดแผล แต่ถ้าความเข้มข้นมากกว่านี้ จะกัดผิวหนัง
2. Crude Carbolic acid เป็นส่วนผสมของ Phenol cresol และสิ่งเจือปนอื่น ๆ ประโยชน์ของยานี้ขึ้นอยู่กับเปอร์เซนต์ของ Cresol ที่ผสมอยู่เนื่องจากส่วนผสมไม่แน่นอนจึงไม่นิยมใช้มากนัก แต่บางคนใช้ปราบ เหา ไร ได้ดี
3. Cresol ลักษณะเป็นของเหลวข้น สีเหลืองหรือสีน้ำตาล ผสมน้ำได้ แต่ละลายน้ำได้เล็กน้อย สารละลาย Cresol ประกอบด้วย
Cresol 500 gm
น้ำมันสน 350 gm เติมน้ำให้ครบ 1,000 gm
Potassium Hydrate 80 gm
อัตราส่วนที่ใช้สารละลาย 4 ออนซ์ ต่อน้ำ 1 แกลลอน
4. Coal tar เป็นพวกผลิตภัณฑ์จาก Cresol เป็นสารแขวนลายสีขาวขนาดใช้ดูจากคำแนะนำ
5. Chlorine gas เป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในรูปของ Hypochloride ถ้าใช้ถูกต้องตามคำแนะนำจะมีประสิทธิภาพมาก แต่ยานี้มีข้อเสียที่ว่าละลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกอากาศหรือ อินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ราคาแพง มักนิยมใช้ฆ่าเชื้อตู้ฟัก เครื่องฟัก รางน้ำ และรางอาหาร
6. Chlorinated Lime เรารู้จักสารนี้ในรูปของผงฟอกสี ได้จากเดิม Cl2 ลงในปูนสุก มี Cl2 ประมาณ 30 – 35 % ในการใช้ยาฆ่าเชื้อควรจะให้มีความเข้มข้นของ Cl2 ประมาณ 1 – 2 % โดยน้ำหนัก
7. Quick Lime ( Cao) ในการฆ่าเชื้อมักผสมกับ Chlorinated Lime ปูนนี้นิยมผสมลงในปุ๋ยคอกเพื่อฆ่าเชื้อ Samonella และ Pasteurella
8. Lye เป็นตัวทำความสะอาดได้ดีเลิศและมีคุณภาพดี ในการฆ่าเชื้อด้วยสารละลายของ Sodium hydroxyl 2 % เป็นอัตราส่วนพอเหมาะกับการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้ เนื่องจากเป็นสารที่กัดผิวหนัง ดังนั้นจึงควรใช้อย่างระมัดระวัง
9. Pomaldehyde สารนี้เป็น Gas ขายกันในรูปของฟอร์มาลิน จึงมีตัวยาละลายอยู่ประมาณ 40 % ในการใช้ฉีดฆ่าเชื้อโรคต้องผสมน้ำให้มีความเข้มข้น 10 % ก็พอ ข้อเสียของยานี้ก็คือ ระเหยง่ายกลิ่นฉุนและกัดผิวหนัง แต่ข้อดีมีมาก เช่น สามารถใช้ในรูปของ gas หรือ ไออบห้องเล็ก ๆ เช่น ห้องฟักได้ดี ไม่ทำอันตรายต่อเครื่องใช้มีประสิทธิภาพสูง
10. Copper Sulfate เป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพต่อเชื้อโรค และสำหรับบางชนิดความเข้มข้น 0.5 % ก็สามารถฆ่าเชื้อในรางน้ำ รางอาหาร และบริเวณที่เลี้ยงสัตว์ ที่มีการระบาดของเชื้อโรคได้ ส่วนมากไม่ใช้อย่าง
กว้างขวาง แต่ควรใช้หลังจากการวินิจฉัยโรคเสียก่อน
11. Potassium Permanganate ด่างทับทิม เป็นยาฆ่าเชื้อที่ดี นิยมใช้ทำความสะอาดเต้านม ก่อนจะรีดหรือ ผสมลงในน้ำดื่มเพียงเล็กน้อยเพื่อฆ่าเชื้อ เนื่องจากด่างทับทิมกัดพวกโลหะ ดังนั้นควรจะอยู่ในภาชนะเคลือบขนาดขนาดที่ใช้ประมาณ 1 ช้อนชาต่อ น้ำ 1 แกลลอน
12. Sodium Orthoheny Phenate ไม่มีกลิ่นหน้ารังเกียจ สีเทา หรือ ขาว หรือ น้ำตาล ละลายน้ำได้ง่าย ต้องเก็บในขวดอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันการระเหย พบว่าใช้ฆ่าพวกเหา ไร ได้ดีมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุ่นให้ร้อน
13. Sodium hydroxide โซดาไฟเป็นยาฆ่าเชื้อที่สามารถฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เช่นโรคแท่งติดต่อ เชื้อไวรัส เชื้ออหิวาต์ ใช้ฆ่าเชื้อภายในคอกบริเวณคอกได้ดี
14. Iodine ไอโอดีนมีประสิทธิภาพดีแต่ทว่ามีราคาแพง ยาทิงเจอร์ไอโอดีนเป็นยาฆ่าเชื้อดีมาก สำหรับบาดแผล ผิวหนัง แต่ห้ามใช้ดื่มกิน
15. Murcuric chloride แม้จะมีประสิทธิภาพดีในการฆ่าเชื้อ แต่ทว่ามีราคาแพง เป็นพิษและกัดโลหะ นิยมใช้ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1000 (ในน้ำ) แต่ใช้ไม่ค่อยดี เมื่อถูกกับพวกสารอินทรีย์ ดังนั้นจึงไม่นิยมฆ่าเชื้อในโรงเรือน หรือ วัตถุรองพื้น
16. Quaternary ammonium Compound เป็นสารที่ใสไม่มีกลิ่น ไม่กัดผิวหนังและยังทำความสะอาดสิ่งของได้ด้วย นิยมใช้ทำความสะอาดไข่ หรือ บริเวณโรงฟักทั่วไป แต่อย่าใช้ปะปนกับสารละลายสบู่
17. แสงแดดเป็นตัวฆ่าเชื้อโรคได้ดีที่สุดเท่าที่ทราบกัน ดังนั้นการสร้างโรงเรือน จึงควรนึกถึงหลักข้อนี้ด้วยอุปกรณ์บางอย่าง ต้องทำความสะอาดก่อนที่จะผึ่งแดด บางครั้งจึงเป็นอุปสรรค บ้าง
18. น้ำร้อน (Hot water) น้ำร้อนช่วยเร่งปฏิกิริยาของยาฆ่าเชื้อหลายชนิดน้ำเดือดอย่างเดียวก็สามารถฆ่าเชื้อได้
19. ความร้อนแห้ง (Dry heat) อาจใช้ในรูปของเปลวไฟไปสัมผัสเชื้อโรค แต่พบว่าวิธีนี้ ไม่ค่อยปลอดภัย การฆ่าเชื้ออาจไม่ทั่วถึง
หมายเหตุ
นอกเหนือจากใช้ยาแล้ว การฆ่าเชื้อโรคยังอาจใช้วิธีอื่นได้อีก เช่น ใช้น้ำร้อน แสงแดด แสงอุลตราไวโอเลต Infrared ความร้อนแห้ง (dry heat) Pasteeurisation เป็นต้น

บทที่ 4 การทำลายเชื้อโรค

บทที่ 4
การทำลายเชื้อโรค

การทำลายเชื้อโรคโดยวิธีต่าง ๆ
หลักในการฆ่าเชื้อ
1. ทำความสะอาดสิ่งของที่เราต้องการฆ่าเชื้อให้สะอาดเสียก่อน
2. ควรใช้ยาให้ทั่วบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อ
3. การทำให้น้ำยาเจือจางต้องปฏิบัติตามคำแนะนำให้เคร่งครัด
4. อุณหภูมิเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณา เพราะยาฆ่าเชื้อส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพสูงเมื่ออุณหภูมิสูง
5. เลือกใช้ยาฆ่าเชื้อให้เหมาะสมเช่น ไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อร่วมกันกับการทำวัคซีน
การใช้ยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรคต่อ (Infected materials)
คำว่า Infected Materials หมายถึง วัตถุหรือสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ตาง ๆ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ซาก หรือส่วนแห่งซากสัตว์ , เนื้อ กระดูก เขา ขน หนัง น้ำมัน ไข่ สิ่งต่าง ๆ ที่ขับออกจากร่างกายสัตว์ และรวมตลอดถึงโรงเรือน คอกสัตว์ ตลาด ยวดยานพาหนะ ฯลฯ ซึ่งติดเชื้อมาจากสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เป็นโรคระบาด
วิธีการทำลายเชื้อโรค
แบ่งออกได้เป็น 2 ข้อใหญ่ คือ วิธีการทำลายเชื้อโรคโดยทาง ฟิสิกส์ ( Physical disinfectant ) และวิธีการทำลายเชื้อโรคโดยการใช้สารเคมี ( Chemical disinfection )
1. วิธีการทำลายเชื้อโรคโดยทางฟิสิกส์
หมายถึง การกวาด ถู ล้าง พวกเชื้อโรคออกไป คือ การทำความสะอาดนั่นเอง และ รวมถึงความร้อนจากแสงอาทิตย์ , ความแห้ง , ความร้อนสูงจากแหล่งกำเนิดอื่น ๆ เป็นต้น แสงอาทิตย์มีคุณสมบัติเป็น Disinfectant เพราะมีแสงอุลตราไวโอเลท (Ultra violet rays)
การใช้ความร้อนสูงมาก ๆ จะทำลายเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี การใช้ความร้อนแบ่งเป็น Dry heat และ Moist heat แต่นิยมใช้ Mosit heat เช่นน้ำเดือดหรือไอน้ำเดือดกันมากกว่า เพราะให้ผลในการทำลายเชื้อโรคดีกว่า การต้มเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้ผลดีในการทำลาย Vegetative from ของ แบคทีเรีย แต่ไม่ค่อยได้ผลในการทำลายสปอร์ของแบคทีเรีย (Bactenial spore ) นอกจากจะต้มให้เดือดเป็นเวลานาน ๆ เศษอาหารต่าง ๆ ที่นำไปเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสุกรซึ่งเจ้าของสัตว์ในบ้านเรานิยมกันมากเพราะหาง่ายและราคาถูกกว่าการใช้อาหารผสมเลี้ยง เช่น ได้เศษอาหารจากโรงเรือน โรงพยาบาล ร้านอาหาร ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเศษอาหารเหล่านี้อาจมีเชื้อโรคหลายอย่างปะปนอยู่ เช่น ไวรัส ของโรคปากและเท้าเปื่อย , โรคอหิวาห์สุกร, โรคนิวคาสเซิล , หรือแบคทีเรียพวก Salmonalla speciec ต่าง ๆ ดังนั้นการใช้เศษอาหารเลี้ยงสัตว์จึงจำเป็นต้องต้มให้เดือดประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วจึงนำไปเลี้ยง เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับโคนม มักนิยมฆ่าเชื้อโรคโดยการพ่นด้วยไอน้ำเดือด ซึ่งให้ผลดีในการทำลายเชื้อโรคทั่วไป แต่ไม่ได้ผลสำหรับสปอร์ของแบคทีเรียบางชนิด
การพาสเจอไรซ์ น้ำนมใช้ความร้อน 142 - 149 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ ( 62 – 65 องศาเซ็นเซียส) นาน 30 นาที หรือใช้ความร้อน 159.8 – 161.6 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ (71 – 72 องศาเซ็นเซียส) นาน 15 วินาที โดยวิธีนี้จะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรค และ บรูเซลโลซิสได้ แต่ถ้าเรา สเตอร์ริไลซ์น้ำนม โดยเพิ่มอุณหภูมิจนถึงจุดเดือดจะสามารถฆ่า Vegetative Microoganisme ได้ทั้งหมด
2. วิธีการทำลายเชื้อโรคโดยใช้สารเคมี
หมายถึง การใช้ยาฆ่าเชื้อโรค ( Disinfectant ) ต่าง ๆ ยาฆ่าเชื้อโรค คือ สารใด ๆ ก็ตามซึ่งเมื่อไปสัมผัสกับเชื้อโรคแล้ว จะเข้าไปทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับเชื้อโรคนั้นแล้วทำให้เชื้อโรคนั้นตาย
การทำลายเชื้อโรคตามบ้านเรือน คอกสัตว์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ นิยมใช้สารเคมีกันมาก เช่น ครีโซล (Cresol ) และ ไลโซล (Lysol) ซึ่งเป็น Coal tar derivatives นอกจากนี้ก็มีพวก ฮาโลเจน (Halogen) ฟอร์มาติไฮต์ , แอมโมเนีย , แอมโมเนียมคอมบาวนด์ โซเดียมคาร์บอเนต เป็นต้น
ยาฆ่าเชื้อโคลทาร์ (Coal tar disinfectant)
นิยมใช้กันมากเพราะราคาถูก และมีอำนาจในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย , สปอร์ และไวรัส แต่ Penetration power มีน้อย สำหรับการทำลายเชื้อโรคในตู้ฟักนิยมใช้ในรูปของแก๊ส โดยเอา โปรแตสเซี่ยมเปอร์แมงกาเนต (ด่างทับทิม) ใส่ลงในฟอร์มาลีนในถ้วยกระเบื้องเคลือบ โดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 2 เช่น ตู้ฟักไข่ ขนาด 100 ตารางฟุต ก็ให้ใช้ ด่างทับทิม 17.5 กรัม ใส่ในฟอร์มาลีน 35 ซี.ซี. แล้วปิดตู้ฟักไข่อบไว้
ยาฆ่าเชื้อพวกฮาโลเจน ( Halogen disinfectant) ที่นิยมใช้กันก็คือ โซเดียมไฮโปคลอไรด์ มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อได้สูง เพราะคลอรีนเป็นส่วนประกอบอยู่แต่ถ้ามี Organic matter ปะปนอยู่ คุณสมบัติในการทำลายเชื้อโรค ของมันจะลดลงอย่างรวดเร็ว โซเดียมไฮโปคลอไรด์ ใช้ฆ่าเชื้อโรคในตู้ฟักไข่ และใช้ปนกับไอน้ำเดือดพ่นฆ่าเชื้อโรคเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ของฟาร์มโคนม
ยาฆ่าเชื้อโรคแอมเนียมคอมเบานด์ต่าง ๆ
นิยมทำเป็นสารละลายเจือจาง (Dilute Solution) ใช้ล้างเต้านม, หัวนม, ของแม่โคก่อนทำการรีดนม และน้ำล้างเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ในฟาร์มโคนม นอกจากนี้ยังใช้เช็ดเปลือกไข่ไก่ , ไข่เป็ด ก่อนเอาเข้าฟักตู้
แอมโมเนีย (Ammonia)
ทำเป็นน้ำยาเจือจาง 10 % ใช้ได้ผลดีมากในการทำลาย
หมายเหตุ โซเดียมคาร์บอเนต หรือที่เราเรียกกันว่า โซดาซักผ้านั้น นิยมทำให้เป็นน้ำยาเจือจาง
4 % ในน้ำร้อน แล้วใช้ล้างโรงเรือน, คอกสัตว์เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ลักษณะและคุณสมบัติของมันคล้ายกับเป็นพวก Mechanicai oleonser มากกว่ายาฆ่าเชื้อโรค แต่ในประเทศอังกฤษได้รับรอง แล้วว่ามันเป็นยาฆ่าเชื้อโรคที่ ใช้ได้ผลดีมากในการทำลายเชื้อไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคปากและโรคเท้าเปื่อย , โรคอหิวาต์สุกร และโรค Fowt post
การทำลายเชื้อ (Sterization)
หมายถึง การฆ่าทำลายล้างสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่สุด คือ เชื้อไวรัส จนถึงสัตว์และพืชที่มีขนาดใหญ่โต แต่การทำลายเชื้อที่สมบูรณ์แบบดังกล่าวนนี้จะทำได้สำเร็จเฉพาะอุปกรณ์ หรือภาชนะที่มีขนาดเล็กเท่านั้น เช่น เครื่องมือผ่าตัด สำหรับโรงเรือนและอุปกรณ์ขนาดใหญ่แล้วไม่นิยมทำกัน เพราะทำสำเร็จได้ผลน้อยมาก
วิธีทำลายเชื้อโรค สามารถดำเนินการได้หลายวิธี เช่น
1. ทำลายเชื้อโรคโดยการใช้ความร้อน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
ก. แบบแห้ง (Dry heat) ฆ่าเชื้อโดยใช้เปลวไฟ
ข. แบบชื้น หรือเปียก (Moist heat) เป็นการฆ่าเชื้อโดยการต้มหรือ ลวก อบไอน้ำ และ อบไอน้ำภายใต้ความดัน
2. ทำลายเชื้อโรคโดยการฉายรังสี (Radiation)
ก. ฉายรังสีอุตราไวโอเลต (Ultraviolet Radiation)
ข. ฉายรังสีไอออน (Ionizing Radiation) ได้แก่รังสีแกมมา รังสีเบตา และรังสีนิวตรอน
3. ทำลายเชื้อโรคด้วยสารเคมี (Chemicals) เช่น แอลกอฮอล ฟีนอล และครีซอล

การกำจัดเชื้อโรคจะกระทำเมื่อ
1. เพื่อป้องกันการสะสมและหมักหมมเชื้อโรคในโรงเรือนคอกสัตว์ ภาชนะและอุปกรณ์ตัวอย่าง เช่น เมื่อคอกว่างหลังจากหย่านมลูกสุกร คอกขุนว่างหลังจากขายหรือ ย้ายสัตว์ออกเป็นชุด ๆ
2. เพื่อป้องกันการนำเชื้อจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม โดยการสร้างอ่างน้ำยาที่ประตูเข้าฟาร์ม อ่างจุ่มเท้า หน้าโรงเรือนทุกหลัง และการฆ่าเชื้อเครื่องมือแพทย์
3. ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ยกตัวอย่าง เช่นในกรณีที่สัตว์ป่วยตาย ซึ่งสงสัยว่าอาจตายด้วยโรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อบางชนิด จะต้องทำลายซากด้วยการฝังหรือ เผา ก่อนเผาหรือฝังซากให้ทำลายด้วยการราดน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วทำความสะอาดบริเวณคอกและโรงเรือนที่สัตว์ป่วยอยู่ทั้งก่อนและหลังตาย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดต่อไป

วิธีการใช้ยาฆ่าเชื้อโรคให้มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อได้ผลตามวัตถุประสงค์ จงปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ก่อนใช้น้ำย่าฆ่าเชื้อต้องเก็บกวาด ขัดถู พื้นฝาผนัง และหลังคาทุกซอกทุกมุม เพื่อขจัดโคลน อุจาระ ไขมัน และสิ่งปฏิกูลอื่น ๆ ที่เคลือบคลุมอยู่ออกให้หมด แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดและผงซักฟอก เพราะสิ่งเหล่านนี้มักป้องกันไม่ให้น้ำยาฆ่าเชื้อทำปฏิกิริยาทำลายเชื้อโรคได้ผลเท่าที่ควร
2. เมื่อได้ปฏิบัติการตามข้อ 1. แล้ว จงใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีปริมาณสูง และผสมน้ำ (น้ำอุ่นยิ่งให้ผลทำลายดี) ให้ความเข้มข้นถูกต้องตามคำบ่งใช้ของบริษัทผู้ผลิตน้ำยานั้น ๆ อาจจะราดอัดฉีด ขัดถู แล้วปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่งตามข้อกำหนดของยาแต่ละอย่าง
3. ทั้งคนและพาหนะที่เข้าออกฟาร์มจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง เมื่อคิดการสูญเสียเนื่องจากโรค จึงต้องดำเนินการควบคุมโรค และพยาธิให้ได้ โดยจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงสิ่งที่ทำให้เกิดจุดอ่อนขึ้นทุกแง่ทุกมุม สิ่งต่าง ๆ ที่จะนำมาพิจารณาเปรียบเสมือนห่วงโซ่ที่เกี่ยวพันกันอยู่ถ้าห่วงใดห่วงหนึ่งอ่อนแอ ในไม่ช้าห่วงนั้นก็จะขาดผลก็คือสุขภาพสัตว์เสื่อม โทรมลง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

บทที่ 3 หลักทั่วไปในการป้องกันควบคุมโรคระบาด

บทที่ 3
หลักทั่วไปในการป้องกันควบคุมโรคระบาด

หลักการป้องกันและควบคุมโรคสัตว์
ในการเลี้ยงสัตว์ทางทหารหรือสัตว์เศรษฐกิจ จำนวนมาก ๆ มักจะต้องประสบกับปัญหาของโรคระบาดต่าง ๆ อยู่เสมอ ทั้งนี้อาจเนื่องจากขาดประสบการณ์ ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการป้องกันและความคุมโรคในฝูงสัตว์ของตน หรือบางรายก็เกิดความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำการป้องกันโรคโดยที่มีความรู้ไม่จริงและเข้าใจผิด แต่ในบางรายโรคระบาดเกิดขึ้นทั้งที่มีความรู้ในหลักการดี แต่ประมาทเกินไป
การป้องกันโรค หมายถึง การจัดการด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่จะมิให้สัตว์ที่ไม่ป่วย เกิดการติดเชื้อและเกิดโรคขึ้น
การป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ต่าง ๆ สามารถใช้ความรู้ทางด้านปัจจุยสามทางระบาดวิทยาเป็นหลักในการวางแผนป้องกันควบคุมโรคคือ
1. การจัดการเลี้ยงดูสัตว์ให้มีสุขาภาพดี
2. การควบคุมและกำจัดสาเหตุของโรค
3. การควบคุมสภาพแวดล้อมและปัจจัยโน้มนำของโรค
แผนภูมิที่ 6 หลักการป้องกันและควบคุมโรคทั่วไป
สัตว์ สิ่งที่ทำให้เกิดโรค

สิ่งแวดล้อม
1. การเลี้ยงดูด้วยอาหารที่ถูกหลัก 1. การมีน้ำสะอาดให้เพียงพอ 1. การตรวจวินิจฉัยโดยเร็วและ โภชนาศาสตร์สัตว์ 2. การกำจัดมูลสัตว์ การรักษาทันที
2. การสร้างภูมิต้านทานโรคให้ 3. การกำจัดสัตว์และแมลงนำโรค 2. การค้นหาและรักษาหรือกำจัด
แก่สัตว์ 4. การควบคุมสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ สัตว์พาหะโรค
2.1 การฉีดวัคซีนหรือให้ภูมิคุ้มโรค 3. การควบคุมแหล่งแพร่เชื้อ
2.2 การใช้ยาหรือสารเคมีป้องกัน อื่น ๆ
การป้องกันโรคที่ตัวสัตว์
1. การเลี้ยงดูด้วยอาหารที่ถูกหลักโภชนาศาสตร์สัตว์ ทำให้สัตว์มีความอุดมสมบูรณ์มีความต้าน
ทานโรคได้ดี เช่น ลูกสุกรหย่านมถึงน้ำหนัก 15 กิโลกรัม อาหารต้องมีโปรตีนประกอบอยู่ 22 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก แคลเซียม 0.8 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.65 เปอร์เซ็นต์ ลูกสุกรอายุน้อยควรได้รับธาตุเหล็กเสริมตัวละ 200 มิลลิกรัม โดยวิธีการฉีด หรือป้ายลิ้น เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง เป็นต้น
2. การสร้างความต้านต้านทานโรคให้แก่สัตว์
2.1 การฉีดวัคซีนหรือให้ภูมิคุ้มโรค กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แนะนะการ
ทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดในสุกร ต้องทำอย่างน้อย 2 ชนิด คือวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกรและวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย นอกจากนั้นยังมีวัคซีนชนิดอื่นที่นิยมใช้กันได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคโพรงจมูกอักเสบ พาร์โวไวรัส อี. โคไล ฯลฯ
2.2 การใช้สารเคมีหรือยาป้องกัน วิธีนี้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ เช่น ในระยะหย่านมควรให้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารร่วมกับไวตามินรวมเพื่อลดความเครียดที่อาจเป็นสาเหตุโน้มนำของโรคต่าง ๆ หลายชนิด หรือการผสมสารประกอบสารหนูในอาหารเพื่อป้องกันโรคบิดมูกเลือด เป็นต้น

การป้องกันโรคที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
1. จัดหาน้ำสะอาดให้กินอย่างเพียงพอ และตลอดเวลา
2. การกำจัดมูลสัตว์ให้ถูกลักษณะสุขาภิบาล โรคสุกรหลายชนิดมีการแพร่ระบาดโดยเชื้อปน
ออกมากับอุจจาระ เช่น โรคพยาธิต่าง ๆ โรคอหิวาต์สุกร โรค ที.จี.อ. ฯลฯ การกำจัดมูลสุกรจะลดการแพร่กระจายเชื้อได้ พื้นคอกจึงควรสร้างให้ลาดเอียงไปทางตอนท้ายเล็กน้อย เพื่อใช้ระบายหรือชะล้างได้ง่าย หรืออาจใช้เป็นพื้นสแลต ( Slatted floor ) ซึ่งทำให้มูลสัตว์ตกลงช่องระบายทันที
3. การกำจัดสัตว์และแหล่งนำโรคมีการป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นเข้าไปภายในฟาร์ม มีโปรแกรม
กำจัดปรสิตภายนอกอย่างสม่ำเสมอ เช่น แม่สุกรท้องแก่ ควรได้รับการกำจัดเห็บ เหา หมัดไร ก่อนนำเข้าโรงเรือนคลอด เพราะเหาสุกรเป็นพาหะนำโรคอเพอร์โทรซูโนซิส เป็นต้น
4. การควบคุมสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การระบาดอากาศที่ดี ไม่ร้อนอบอ้าว ไม่มีฝุ่นละออง
อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ที่นำมาจากฟาร์มอื่นต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคก่อนน้ำเข้าฟาร์ม ทุ่งหญ้าที่ตรวจพบมีไข่พยาธิอยู่ก็ควรหลีกเลี่ยงการให้สัตวืเลี้ยงลงแปลงอย่างเด็ดขาด
การป้องกันโรคที่เกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เกิดโรค
1. การตรวจหาสาเหตุของโรคโดยเร็วและรักษาทันที เมื่อสัตว์เริ่มมีอาหารป่วยควรตรวจร่างกาย
และตรวจทางห้องปฏิบัติการหาสาเหตุอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้ทำการรักษาทันที ทำให้สัตว์ป่วยหายจากโรคเร็วขึ้น และลดโอกาสหรือระยะเวลาการแพร่โรคจากสัตว์ป่วยไปยังสัตว์อื่น เช่น สุกรมีอาการโลหิตจาง ดีซ่าน และแท้ง ต้องรีบตรวจร่างกาย และตรวจเลือดหาสาเหตุทันที อาจพบเชื้อเลปโตสไปร่า หรือ อิเพอร์โทรซูน ซอิส เป็นต้น
2. การค้นหาและกำจัดพาหะของโรค สุกรทุกตัวควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ โดย
เฉพาะสุกรพ่อและแม่พันธุ์ เช่น การกำหนดเป็นโปรแกรมสุขภาพมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสภาวะโรคแท้งติดต่ออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เมื่อพบตัวที่เป็นพาหะหรือให้ผลบวกต่อการทดสอบเชื้อ ให้รีบรักษาหรือคัดทิ้งหรือกำจัดออกจากฟาร์ม เพื่อไม่ให้แพร่โรคต่อไป
3. การควบคุมแหล่งแพร่เชื่อ
3.1 แยกสัตว์ป่วยออกจากฝูงไว้ในคอกกักกัน ทำการฆ่าเชื้อโรคสิ่งขับถ่ายและอุปกรณ์ที่
สัมผัสกับสัตว์ป่วย
3.2 แหล่งแพร่เชื้อตามธรรมชาติ เช่น บอน้ำที่มีหอยคันอยู่มากและเป็นโฮสต์กึ่งกลางของ
พยาธิในไม้ลำไส้ ก็ให้ใช้จุนสีโรยรอบ ๆ บ่อ เพื่อทำลายหอย เป็นต้อน
3.3 สัตว์ที่นำมาจากฟาร์มอื่น ต้องตรวจสอบหรือแยกเลี้ยงต่างหากอย่างน้อย 30 วันจนแน่ใจ
ว่าไม่เป็นโรคติดต่อแล้ว จึงนำมาเลี้ยงรวมฝูงกับสัตว์ที่มีอยู่เดิมได้


ดัชนีที่เกี่ยวกับโรคสัตว์
เป็นเครื่องชีวัดสภาวะโรคของสัตว์ที่เลี้ยงในโรงเรือนหรือทั่วประเทศโดยมากเป็นการวัดปริมาณในลักษณะของอัตราส่วน หรือสัดส่วน ทำให้ทราบถึงลักษณะการกระจายของโรค แนวโน้มการเกิดโรคภายในฝูงสัตว์เพื่อใช้วางแผนแก้ปัญหาและป้องกันโรค และใช้ศึกษาทางวิทยาการระบาดเกี่ยวกับสัตว์ด้วย


อัตราอุบัติการณ์ของโรค ( Incidence rate )
หมายถึงจำนวนสัตว์ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่ ต่อหน่วยประชากรสัตว์ที่เฝ้าสังเกตในช่วงระยะเวลาที่กำหนด มักคำนวณออกมาเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์

อัตราอุบัติการณ์ของโรค = จำนวนสัตว์ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่ x 100
จำนวนสัตว์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคขณะนั้น
ตัวอย่าง ในฟาร์มแห่งหนึ่งเลี้ยงสุกรรวมกันทั้งหมด 1,000 ตัว มีสุกรป่วยด้วยโรคอหิวาต์สุกร 600 ตัว ในเวลาเดียวกัน และก่อนหน้านี้ไม่เคยมีสุกรป่วยเลย
อัตราอุบัติการณ์ของโรค = 600 x 100
1,000
= 60 %
อัตราอุบัติการณ์ของโรค เป็นตัวบ่งชี้ถึงโอกาสที่จะเกิดโรคในฝูงสัตว์มีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีอุบัติการณ์ของโรคสูง สัตว์ที่เลี้ยงอยู่ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง และใช้ประเมินการป้องกันและควบคุมโรคว่าได้ผลเพียงใด ถ้าการป้องกันโรคได้ผลดี อัตราอุบัติการณ์ของโรคก็มีค่าต่ำ
อัตราความชุกของโรค
หมายถึงจำนวนสัตว์ป่วยทั้งหมดที่มีอยู่ทั้งเก่าและใหม่ต่อหน่วยประชากรที่จุดเวลากำหนด
อัตราความชุกของโรค = จำนวนสัตว์ป่วยทั้งหมด x 100
จำนวนสัตว์ทั้งหมดที่จุดเวลาเดียวกัน
ตัวอย่าง Talor ( 1981 ) รายงายการสำรวจสภาวะโรคพาร์โวไวรัสในสุกรประเทศอังกฤษ มีอัตราความชุกสูงถึง 53 % และเชื่อว่าลักษณะความชุกของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกันทั่วโลก
คิดคำนวณจาก
อัตราความชุกของโรคโวไวรัส ปี 1981
= จำนวนสุกรป่วยด้วยโรคพาร์โวไวรัส ปี 1981 x 100
จำนวนสุกรทั่วประเทศอังกฤษ 1981
ดัชนีนี้ใช้บอกสภาวการณ์ของโรค ทำให้ทราบถึงความต้องการด้านการรักษาและป้องกันโรค
อัตราตาย ( Mortality rate )
อัตราตายเฉพาะโรค = จำนวนสัตว์ตายด้วยโรคใด ๆ x 100
จำนวนสัตว์ที่เลี้ยงไว้ทั้งหมด
ตัวอย่าง ในฟาร์มแห่งหนึ่งมีการเลี้ยงสุกรรวมกันทั้งหมด 1,000 ตัว มีลูกสุกรอายุ 0 – 7 วัน จำนวน 100 ตัว อายุ 8 – 14 วัน 200 ตัว และอายุ 15 – 21 วัน จำนวน 100 ตัว ลูกสุกรดังกล่าวจายด้วยโรค ที.จี.อี. จำนวน 100 , 100 และ 25 ตัว ตามลำดับ

อัตราตายด้วยโรค ที.จี.อี. ในลูกสุกร 0 – 7 วัน = 100 x 100
100
= 100 เปอร์เซ็นต์
และอัตราตายด้วยโรค ที.จี.อี. ในลูกสุกรอายุ 8 – 14 วัน และ 15 – 21 วัน เท่ากับ 50 % และ 25 % ตามลำดับ
อัตราตายชนิดนี้ใช้เปรียบเทียบความรุนแรงที่เกิดกับสัตว์ในกลุ่มอายุต่าง ๆ ได้ดีทำให้ทราบถึงอันตรายและความเสี่ยงต่อการตายในสัตว์แต่ละอายุ และใช้วางแผนป้องกันโรคได้
ข้อมูลเบื้อต้นทางสรีรวิทยาของสุกร
พันธุ์สุกร สุกรพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมากในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ได้แก่ พันธุ์ลาร์จไวท์ แลนด์ เรช ดูร็อคเจอร์ซี่ แฮมเชียร์ เพียเทรียม และสุกรพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ไหหลำ สุกรป่า
ข้อมูลทางสรีรวิทยา
อุณหภูมิร่างกายปกติ 39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดที่ตรวจวัดได้ในสุกรปกติ 38.4 องศาเซลเซียส สูงสุด 40 องศาเซลเซียส
อัตราการหายใจ 20 – 30 ครั้งต่อนาที
ชีพจร 70 – 80 ครั้งต่อนาที
การเต้นของชีพจรจะเพิ่มมากขึ้นในลูกสุกรอายุน้อย ลูกสุกรแรกเกิดอาจสูงถึง 200 – 280 ครั้ง ต่อนาที
ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น ( P.C.V. ) 42 ( 32.0 – 50.0 ) เปอร์เซ็นต์
เม็ดเลือดแดง 7.2 ( 6.0 – 9.0 ) x 106 ต่อ มม. 3
เม็ดเลือดขาว 18.0 ( 10.0 – 23.0 ) x 103 ต่อ มม. 3
เกร็ดเลือด 400.0 ( 250.0 – 700.0 ) x 103 ต่อ มม. 3
ฮีโมโกลบิน 14.0 ( 11.0 – 17.0 ) กรัมต่อ 100 ซม.3



ปัจจัยทางด้านการสัตวบาล
1. อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสุกรขนาดต่าง ๆ
สุกรโตเต็มที่ คอกสุกรพันธุ์ 15 – 20 องศาเซลเซียส
คอกคลอด 15 – 18 องศาเซลเซียส
ลูกสุกรแรกเกิด น้ำหนัก 5 กก. 25 – 30 องศาเซลเซียส
ลูกสุกรแรกเกิด น้ำหนัก 5 - 18 กก. 23 – 27 องศาเซลเซียส
ลูกสุกรขนาด 19 – 45 กิโลกรัม 21 – 24 องศาเซลเซียส
สุกรขนาด 45 – 95 กิโลกรัม 13 – 18 องศาเซลเซียส
สุกรขนาด 90 – 115 กิโลกรัม 10 – 15 องศาเซลเซียส

ข้อมูลทางระบบสืบพันธุ์ของสุกร
วัยเจริญพันธุ์ เพศผู้ 8 – 9 เดือน เพศเมีย 7 เดือน
วงรอบการเป็นสัด 21 วัน
ระยะอุ้มท้อง 112 – 116 วัน
จำนวนลูกสุกรรอดชีวิตเมื่อแรกคลอด 10.8 ตัวต่อครอก
จำนวนลูกสุกรตายภายหลังคลอด 5 เปอร์เซ็นต์ ( ไม่เกิน 8 เปอร์เซ็นต์ )
น้ำหนักลูกสุกรเมื่อหย่านม
3 สัปดาห์ 5.44 กิโลกรัม
5 สัปดาห์ 11.34 กิโลกรัม
6 สัปดาห์ 13.60 กิโลกรัม

การป้องกันโรคทั่วไป
สาเหตุของโรค (ETIOLOGY ) แบ่งเป็น 2 ชนิด
1. สาเหตุโน้มนำ
2. สาเหตุแท้จริง
1. สาเหตุโน้มนำ คือสาเหตุหรือความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นในตัวสัตว์เองได้แก่
1.1 สาเหตุทางกรรมพันธุ์
1.2 ความผิดปกติของอวัยวะของสัตว์เอง
นอกจากนี้ยังมีเหตุอื่น ๆ ภายในสัตว์อีก เช่น
- ชนิดของสัตว์ โรคบางโรคเกิดกับสัตว์ชนิดหนึ่งแต่ไม่เกิดในสัตว์ชนิดอื่น เช่น อหิวาห์สุกร เป็นเฉพาะสุกร
- พันธุ์
- อายุ
- เพศ
- สีผิว
2. สาเหตุที่แท้จริง
2.1 สาเหตุทางกายภาพ เช่น ความร้อน รังสี (ultraviolet) กัมมันตภาพรังสี ความเย็นจัด กระแสไฟฟ้า ความกดดันของบรรยากาศ การกระทบกระแทก
2.2 สาเหตุทางเคมี ได้แก่ ได้รับสารเคมี เช่น กรด ด่าง โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ยาเบื่อ ฯลฯ และภาวะขาดอาหาร
2.3 สาเหตุจากเชื้อโรคและพยาธิ
การติดโรค
โรคที่เกิดกับสัตว์ บางโรคก็ติดต่อไม่ได้ บางโรคก็ติดต่อกันได้
โรคที่ติดต่อกันได้ ประเภทหนึ่ง เป็นโรคที่ติดต่อกัน โดยไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคแต่ เป็นการติดต่อทางกรรมพันธุ์ ประเภทนี้ถือว่าเป็นโรคระบาด
โรคที่ติดต่อกันได้อีกประเภทหนึ่ง ติดต่อกันโดยการแพร่ของเชื้อโรคเป็นสาเหตุของ โรคประเภทนี้ถือว่าเป็นโรคระบาด

การป้องกันโรคสัตว์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
เมื่อเกิดโรคขึ้น วิธีที่ดีที่สุด คือทำลายตัวที่ป่วยและแยกสัตว์ดีออกไป การทำลายเชื้ออาจทำได้ง่ายเพราะเชื้อถูกทำลายได้ง่าย โดยสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ยาฆ่าเชื้อจึงไม่ค่อยจำเป็น นอกจากนี้ยังป้องกันโรคได้โดยการฉีดวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ซึ่งจะให้ความคุ้มโรคได้ดี
การรักษาด้วยยา การรักษาความสะอาดทั้งหมดทุกระบบภายในฟาร์ม หรือในคอกและเล้าเลี้ยงสัตว์

การป้องกันโรคสัตว์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส
มีสถานเดียวที่ดี เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทำได้โดย ถ้าเป็นแม่สัตว์หรือลูก ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรค หรือการป้องกันโรคอีกวิธีหนึ่ง คือให้ แอนตี้เซรุ่ม โดยการกินก็ได้ ถ้าเป็นช่วงโรคมีการระบาด ต้องมีการจัดการเกี่ยวกับการสุขาภิบาลให้ดี

การป้องกันโรคสัตว์ที่เกิดจากเชื้อปาราสิต
มีการแยกสัตว์ดีกับสัตว์ป่วยออกจากกัน หรือออกจากฝูง ทำความสะอาดเรือนโรงเลี้ยงด้วยการฉีดพ่นยา และสามารถป้องกันพร้อมรักษาด้วยยาหรือการใช้ยาถ่ายก็ได้ หมั่นทำความสะอาดคอกและบริเวณที่ใช้เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดตลอดเวลา

การควบคุมโรคระบาดสัตว์
การควบคุมโรค หมายถึง การจัดการมิให้สัตว์ที่ป่วยแพร่เชื้อติดต่อไปยังสัตว์ตัวอื่น ๆ หรือ การจัดการมิให้สัตว์ที่เคยป่วยและรักษาจนหายดีแล้วติดเชื้อและเป็นโรคขึ้นมาอีก หรือ ทำให้สัตว์ที่เลี้ยงไว้ปราศจากโรค หลักการที่จะทำให้สัตว์ปราศจากโรคมีหลักการดังนี้
- ป้องกันไม่ให้มีการสัมผัสกันระหว่างสัตว์ป่วยกับสัตว์ดี
- สร้าง หรือเพิ่มความต้านทานโรคให้แก่สัตว์ดี
- ทำการบำบัดรักษาสัตว์ป่วยให้หายจากโรค และสร้างความต้านทานโรคแก่สัตว์นั้น ๆ

การควบคุมโรคระบาด
1. การลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรค ซึ่งสามารถทำได้โดย
2. การรักษาสัตว์ป่วย ทำให้ลดการเกิดโรคภายในประชากรสัตว์
3. การป้องกันโรค เป็นการป้องกันไม่ให้สัตว์สัมผัสกับเชื้อโรค
4. การสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่สัตว์
การควบคุมโรคระบาด (Eradication :)
การทำลายเชื้อโรคให้หมดไปจากโลกนี้ (Cockburn, 1963) การกำจัดโรคจะไม่สมบูรณ์ถ้าเชื้อโรคใดก็ตามยังมีชีวิตอยู่ได้ตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันมีเพียงโรคบางอย่างเท่านั้นที่สามารถกำจัดได้ตามความหมายนี้ เช่น human smallpoxการลดการเกิดโรคติดเชื้อโรคใดโรคหนึ่งจากพื้นที่ที่ต้องการจนถึงระดับที่ไม่เกิดการติดต่ออีกต่อไป (Andrews and Langmuis, 1963)
การควบคุมโรคระบาด (Eradication )
การลดโรคติดเชื้อจนอยู่ในระดับที่โรคหยุดชะงัก ไม่เป็นปัญหาต่อสุขภาพอีกต่อไป แม้ว่าการติดต่ออาจจะยังมีอยู่บ้างในเขตนั้น (Maslakov, 1968) การทำลายล้างเชื้อโรคใดโรคหนึ่งออกจากพื้นที่ที่เฉพาะ (เป็นความหมายที่ใช้กันมากในทางสัตวแพทย์)
หลักทั่วไปในการจัดการสุขภาพ เพื่อการควบคุมและป้องกันโรค
1. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณลักษณะที่ดี โดยคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะถูกต้องตามสายพันธุ์ มีการเติบโตดี ปราศจากโรคติดต่อและโรคทางพันธุกรรม
2. จัดการอาหารและน้ำที่ดี การให้อาหารที่มีโภชนะครบถ้วน ให้น้ำสะอาดปราศจากวัตถุปนเปื้อน
3. สารพิษตกค้าง จะทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง มีความต้านทานโรคดี การสังเกตและดูแลสุขภาพสัตว์เป็นประจำ การสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ด้วยตาเปล่า การสังเกตอาการผิดปกติไปจากธรรมดา การตรวจสุขภาพร่างกายสัตว์ที่แสดงออกให้เห็น เช่น ซูบผอม จมูกแห้ง ขนหยาบ ผิวหนังอักเสบ เยื่อเมือกซีดหรือเหลือง นัยน์ตาจมลึก น้ำตาไหลมาก อาการไอ หอบ หายใจลำบาก การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ สิ่งต่างๆ เหล่านี้บ่งบอกถึงสุขภาพของสัตว์
4. การคัดสัตว์ที่เป็นโรคและมีลักษณะผิดปกติออกจากฝูง คัดสัตว์ที่มีลักษณะไม่ดี เช่น แคระ
แกร็น อายุมากเกินไป หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับโรคติดต่อ
5. การใช้สารเคมีหรือยาฆ่าเชื้อโรค โดยการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดคอก โรงเรือน เพื่อทำลายเชื้อที่อยู่ในสถานที่ดังกล่าว นอกจากนี้ควรกำจัดอุจจาระ ปัสสาวะของสัตว์บ่อยๆ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อ
6. การปรึกษาสัตวแพทย์ในกรณีที่มีปัญหาโรคขึ้น โดยเฉพาะกรณีการเกิดโรคระบาดต้องรีบปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
7. การกักกัน หมายถึง การแยกสัตว์ออกมาโดยทีสัตว์เหล่านั้นมีการติดเชื้อหรือสงสัยว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่ง หรือสัตว์ที่ไม่มีการติดเชื้อแต่อยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
8. การทำลาย ในกรณีที่สัตว์เจ็บป่วยเรื้อรัง และเป็นแหล่งแพร่โรคให้กับสัตว์ตัวอื่น เพื่อเป็นการลดผลเสียทางเศรษฐกิจ จำต้องทำลายสัตว์นั้นเสีย หรือในรายโรคระบาดจำเป็นต้องกำจัดแหล่งของการแพร่เชื้อด้วย
9.การทำวัคซีนป้องกันโรค เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับสัตว์ เป็นการลดจำนวนสัตว์ที่มีภูมิไวรับต่อการติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้โรคระบาดลดลง
10. การให้ยาเพื่อบำบัดและป้องกันโรค ยาปฏิชีวนะ ยาถ่ายพยาธิ และยาอื่นๆ นำมาใช้เพื่อการบำบัดรักษา และยังนำมาใช้กับสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค
11. การควบคุมพาหะ โรคติดเชื้อทั้งหลายที่นำโดยพาหะต่างๆ สามารถควบคุมได้ด้วยการกำจัดพาหะของโรค
12.. ปรับปรุงสภาพแวดล้อม การเลี้ยง และการให้อาหาร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการจัดการการเลี้ยงดู

พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.๒๔๙๙
แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๔๒
พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๒
1. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๑-๗
2. หมวด ๑ การป้องกันโรคระบาด มาตรา ๘-๑๐
3. หมวด ๒ เขตปลอดโรคระบาด มาตรา ๑๑-๑๔
4. หมวด ๓ เขตโรคระบาด มาตรา ๑๕-๒๐
5. หมวด ๔ การควบคุมการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ มาตรา ๒๑-๒๔
6. หมวด ๕ เบ็ดเตล็ด มาตรา ๒๕-๓๘
7. หมวด ๖ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๙-๕๑
8. อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ

สัตว์ตามมาตรา ๔
1. สัตว์ใหญ่และสัตว์เล็ก ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ สุกร สุนัข แมว กระต่าย ลิง ชะนี และให้หมายความรวมถึงน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์ และเอ็มบริโอ (ตัวอ่อนของสัตว์ที่ยังไม่เจริญเติบโตจนถึงขั้นที่มีอวัยวะครบบริบูรณ์) ของสัตว์เหล่านั้น
2. สัตว์ปีก จำพวกนก ไก่ เป็ด ห่าน และให้หมายความรวมถึงไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ด้วย และ
3. สัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
สัตว์ตามมาตรา ๔ สัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
1. ฉบับที่ 11 (พ.ศ.๒๕๑๒): แรด กระซู่ สมเสร็จหรือผสมเสร็จ กูปรีหรือโคไพร ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมันหรือเนื้อสมัน ทรายหรือเนื้อทรายหรือตามะแน เลียงผาหรือเยียง หรือโครำหรือกูรำ กวางผา กระทิงหรือเมย วัวแดงหรือวัวดำ หรือวัวเพาะ กวาง อีเก้งหรือฟาน กระจงหรือไก้ อูฐ ยีราฟ ฮิปโปโปเตมัส เสือ สิงโต หมี แมวป่า นางอายหรือลิงลม ค่าง
สัตว์ตามมาตรา ๔
1. กฎกระทรวงฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๕๒๘) : ผึ้ง
2. กฎกระทรวงฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ.๒๕๔๑) : นากหญ้า
3. กฎกระทรวงฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ.๒๕๔๒) : หมูป่า
โรคระบาดตามมาตรา ๔
1. โรครินเดอร์เปสต์
2. โรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย
3. โรคแอนแทรกซ์
4. โรคเซอร่า
5. โรคสารติก
6. โรคมงคล่อพิษ
7. โรคปากและเท้าเปื่อย
8. โรคอหิวาต์สุกร
9. โรคอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
โรคอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๔๙๙)
1. วัณโรค
2. โรคพิษสุนัขบ้า
3. โรคขี้ขาว
4. กาฬโรคของสัตว์ปีก
5. โรคนิวคาสเซิล
6. โรคลาริงโกเทรคีไอตีสติดต่อ
7. โรคโลหิตจางติดต่อ
8. โรคบรูเซลโลซีส
9. โรคพลูโรนิวมอเนียติตต่อของโค กระบือ
10 .โรคอาโทรฟิกไรไนตีส
11. โรคเอนเซฟาโลไมอีไลตีส
โรคอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๒๘)
1. โรคอเมริกันฟาล์วบรูด
2. โรคยูโรเปี่ยนฟาล์วบรูด
3. โรคโนซีมา
4. โรคชอล์คบรูด
5. โรคแซคบรูด
6. โรคอัมพาตของผึ้ง
7. โรควาร์รัว
8. โรคโทรปิลิแลปส์
9. โรคอะคาไรน์
10. โรคเบราลา
โรคอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๔๔
1. โรคกาฬโรคเป็ด
2. โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า
3. โรคไข้หวัดใหญ่ม้า (ไวรัสไทป์เอ)
4. โรคไข้เห็บม้า
5. โรคแซลโมเนลลา
6. โรคดูรีน
7. โรคทริคิโนซีส
8. โรคนิวคาสเซิล
9. โรคบรูเซลโลซีส
10. โรคปากอักเสบพุพอง
11. โรคฝีดาษม้า
12. โรคโพรงจมูกและปอดอักเสบในม้า
13. โรคมดลูกอักเสบติอต่อในม้า
14. โรคเรื้อนม้า
15. โรคโลหิตจางติดต่อในม้า
16. โรคเรื้อนม้า
17. โรคเลปโทสไปรา
18. โรคโลหิตจางติดเชื้อในม้า
19. โรควัณโรค
20. โรควัวบ้า
21. โรคสมองอักเสบนิปาห์
22. โรคสมองและไขสันหลังอักเสบในม้า
23.โรคสมองและไขสันหลังอักเสบเวเสซู-เอลาในม้า
24. โรคสมองอักเสบเจแปนิส
25. โรคหลอดเลือดอักเสบติดเชื้อในม้า
26. โรคเอเวียนอินฟลูเอนซา
มาตรา ๕ ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องใช้บังคับตามกฎหมายฉบับนี้
1. สัตว์ของกระทรวงกลาโหม
2. สัตว์ของส่วนราชการอื่นที่กำหนดในกระทรวง
หน้าที่เบื้องต้นของเจ้าของเกี่ยวกับสัตว์เมื่อเกิดโรคระบาด
1. กรณีสัตว์ป่วย ควบคุม และห้ามเคลื่อนย้าย
2. กรณีสัตว์ตาย ควบคุม ห้ามเคลื่อนย้ายหรือชำแหละ
3. ระยะเวลาการควบคุม ๔๘ ชั่วโมง
4. การฝังซากสัตว์
5. สัตว์เล็ก ฝังซากสัตว์นั้นใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
6. สัตว์ใหญ่ ให้พูนดินกลมหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร









ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดและการทำลายสัตว์หรือ
ซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด
1. สัตว์ หมายความว่า สัตว์ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์และสัตว์อื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในกฎหมายดังกล่าว
2. ซากสัตว์ หมายความว่า ซากสัตว์ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
3. โรคระบาด หมายความว่า โรคระบาดตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ และโรคระบาดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในกฎหมายดังกล่าว
4. สัตว์ที่เป็นโรคระบาด หมายความว่า สัตว์ป่วยด้วยโรคระบาด
5. สัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด หมายความว่า สัตว์ใดที่อยู่รวมหรือเคยอยู่รวมกับสัตว์ที่เป็นโรคระบาดอย่างใกล้ชิดอันอาจติดเชื้อโรคในระยะฟักเชื้อและสัตว์นั้นสามารถแพร่เชื้อโรคและระบาดออกไปยังสัตว์อื่นได้
6. ซากสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หมายความว่า ร่างกายหรือส่วนของร่างกายสัตว์ที่ตายด้วยโรคระบาดและให้หมายความรวมถึง งา เขา และขนที่ได้ตัดออกจากสัตว์ที่เป็นโรคระบาด ขณะมีชีวิตและยังไม่ได้แปรสภาพเป็นสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป
7. ซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด หมายความว่า ร่างกายหรือส่วนของร่างกายสัตว์ที่เป็น พาหะของโรคระบาดในขณะที่สัตว์นั้นยังมีชีวิตและยังไม่ได้แปรสภาพเป็นสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป
8. สัตวแพทย์ หมายความว่า สัตวแพทย์ของกรมปศุสัตว์และผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้ง เช่นหัวหน้าด่านกักกันสัตว์ ปศุสัตว์เขต ปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอ
9. ผู้รักษาราชการแทน หมายความว่า ผู้รักษาราชการแทนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือ ผู้รักษาราชการในตำแหน่งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี
10. ในการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด และการทำลายสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามระเบียบนี้ ให้ผู้สั่งทำลายสัตว์ดำเนินการเพื่อให้เจ้าของสัตว์ได้รับการชดใช้ราคาค่าสัตว์ซึ่งต้องถูกสั่งทำลายตามระเบียบนี้ในอัตราตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
11. ในกรณีที่เจ้าของสัตว์ได้จงใจกระทำความผิดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ เจ้าของสัตว์จะไม่ได้รับการชดใช้ราคาค่าสัตว์ซึ่งต้องถูกสั่งทำลายและในกรณีเช่นนี้ผู้สั่งทำลายไม่ต้องดำเนินการเพื่อให้เจ้าของสัตว์ได้รับการชดใช้ราคาค่าสัตว์ตามวรรคหนึ่งแต่อย่างใด
12. เมื่อได้มีการตรวจพิสูจน์ตามหลักวิชาการสัตวแพทยศาสตร์แล้ว ปรากฏผลเป็นที่แน่ชัดว่า สัตว์ใดเป็นสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาดแล้วแต่กรณี ให้สัตวแพทย์หรือผู้รักษาการแทนแห่งท้องที่พบสัตว์นั้น มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ทำลายสัตว์นั้น
13. ให้สัตวแพทย์ในตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามชนิดของสัตว์ในคราวหนึ่งๆ ได้ไม่เกินจำนวนดังต่อไปนี้
14. ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคระบาด (สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์)มีอำนาจ
- สั่งทำลายโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา และ/หรือล่อ คราวละไม่เกิน ๕๐๐ ตัวหรือ
- สั่งทำลายไก่ เป็ด และ/หรือห่าน คราวละไม่เกิน ๒๐๐๐๐ ตัว
15. หัวหน้าด่านกักสัตว์ มีอำนาจ
- สั่งทำลายโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา และ/หรือล่อ คราวละไม่เกิน ๒๕ ตัวหรือ
- สั่งทำลายไก่ เป็ด และ/หรือห่าน คราวละไม่เกิน ๕๐๐ ตัว
16. ปศุสัตว์เขต มีอำนาจ
- สั่งทำลายโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา และ/หรือล่อ คราวละไม่เกิน ๑๐๐ ตัวหรือ
- สั่งทำลายไก่ เป็ด และ/หรือห่าน คราวละไม่เกิน ๗๐๐๐ ตัว
17. ปศุสัตว์จังหวัด มีอำนาจ
- สั่งทำลายโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา และ/หรือล่อ คราวละไม่เกิน ๕๐ ตัวหรือ
- สั่งทำลายไก่ เป็ด และ/หรือห่าน คราวละไม่เกิน ๕๐๐๐ ตัว
18. ปศุสัตว์อำเภอ มีอำนาจ
- สั่งทำลายโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา และ/หรือล่อ คราวละไม่เกิน ๒๕ ตัวหรือ
- สั่งทำลายไก่ เป็ด และ/หรือห่าน คราวละไม่เกิน ๕๐๐ ตัว
19. ใช้วัตถุมีพิษให้สัตว์กินหรือฉีดเข้าร่างกายสัตว์เพื่อให้สัตว์นั้นตาย
20. ฆ่าทำลายสัตว์ด้วยปืนชนิดยิงสัตว์โดยเฉพาะ ยิงสัตว์นั้นให้ตาย หรือ
21. ฆ่าทำลายด้วยอาวุธปืนตามกฎหมายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนฯ และสิ่งเทียมอาวุธปืน ในกรณีเช่นนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอแห่งท้องที่จังหวัดหรืออำเภอนั้นก่อนแล้วแต่กรณี
22. ซากสัตว์ที่ได้จากการทำลายให้ผู้ทำลายสัตว์จัดการฝังซากสัตว์เหล่านั้นใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
23. ให้ใช้วิธีการต่อไปนี้ ทำลายซากสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามลักษณะของซากสัตว์ดังนี้
- ซากสัตว์ซึ่งมีลักษณะยังเป็นตัวสัตว์ทั้งตัวอยู่
- ให้ผู้สั่งทำลายซากสัตว์มีคำสั่งให้ฝังซากสัตว์ใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตรอีกด้วย
- ใช้สารเคมีที่สามารถฆ่าทำลายเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคต่างๆ ได้ ทำการแช่ ราด หรือโรยที่ส่วนต่างๆ ของซากสัตว์นั้นจนทั่ว หรือ
- ใช้ไฟเผาซากสัตว์นั้นให้ไหม้จนหมดสิ้น