วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

บทที่ 3 หลักทั่วไปในการป้องกันควบคุมโรคระบาด

บทที่ 3
หลักทั่วไปในการป้องกันควบคุมโรคระบาด

หลักการป้องกันและควบคุมโรคสัตว์
ในการเลี้ยงสัตว์ทางทหารหรือสัตว์เศรษฐกิจ จำนวนมาก ๆ มักจะต้องประสบกับปัญหาของโรคระบาดต่าง ๆ อยู่เสมอ ทั้งนี้อาจเนื่องจากขาดประสบการณ์ ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการป้องกันและความคุมโรคในฝูงสัตว์ของตน หรือบางรายก็เกิดความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำการป้องกันโรคโดยที่มีความรู้ไม่จริงและเข้าใจผิด แต่ในบางรายโรคระบาดเกิดขึ้นทั้งที่มีความรู้ในหลักการดี แต่ประมาทเกินไป
การป้องกันโรค หมายถึง การจัดการด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่จะมิให้สัตว์ที่ไม่ป่วย เกิดการติดเชื้อและเกิดโรคขึ้น
การป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ต่าง ๆ สามารถใช้ความรู้ทางด้านปัจจุยสามทางระบาดวิทยาเป็นหลักในการวางแผนป้องกันควบคุมโรคคือ
1. การจัดการเลี้ยงดูสัตว์ให้มีสุขาภาพดี
2. การควบคุมและกำจัดสาเหตุของโรค
3. การควบคุมสภาพแวดล้อมและปัจจัยโน้มนำของโรค
แผนภูมิที่ 6 หลักการป้องกันและควบคุมโรคทั่วไป
สัตว์ สิ่งที่ทำให้เกิดโรค

สิ่งแวดล้อม
1. การเลี้ยงดูด้วยอาหารที่ถูกหลัก 1. การมีน้ำสะอาดให้เพียงพอ 1. การตรวจวินิจฉัยโดยเร็วและ โภชนาศาสตร์สัตว์ 2. การกำจัดมูลสัตว์ การรักษาทันที
2. การสร้างภูมิต้านทานโรคให้ 3. การกำจัดสัตว์และแมลงนำโรค 2. การค้นหาและรักษาหรือกำจัด
แก่สัตว์ 4. การควบคุมสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ สัตว์พาหะโรค
2.1 การฉีดวัคซีนหรือให้ภูมิคุ้มโรค 3. การควบคุมแหล่งแพร่เชื้อ
2.2 การใช้ยาหรือสารเคมีป้องกัน อื่น ๆ
การป้องกันโรคที่ตัวสัตว์
1. การเลี้ยงดูด้วยอาหารที่ถูกหลักโภชนาศาสตร์สัตว์ ทำให้สัตว์มีความอุดมสมบูรณ์มีความต้าน
ทานโรคได้ดี เช่น ลูกสุกรหย่านมถึงน้ำหนัก 15 กิโลกรัม อาหารต้องมีโปรตีนประกอบอยู่ 22 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก แคลเซียม 0.8 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.65 เปอร์เซ็นต์ ลูกสุกรอายุน้อยควรได้รับธาตุเหล็กเสริมตัวละ 200 มิลลิกรัม โดยวิธีการฉีด หรือป้ายลิ้น เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง เป็นต้น
2. การสร้างความต้านต้านทานโรคให้แก่สัตว์
2.1 การฉีดวัคซีนหรือให้ภูมิคุ้มโรค กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แนะนะการ
ทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดในสุกร ต้องทำอย่างน้อย 2 ชนิด คือวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกรและวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย นอกจากนั้นยังมีวัคซีนชนิดอื่นที่นิยมใช้กันได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคโพรงจมูกอักเสบ พาร์โวไวรัส อี. โคไล ฯลฯ
2.2 การใช้สารเคมีหรือยาป้องกัน วิธีนี้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ เช่น ในระยะหย่านมควรให้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารร่วมกับไวตามินรวมเพื่อลดความเครียดที่อาจเป็นสาเหตุโน้มนำของโรคต่าง ๆ หลายชนิด หรือการผสมสารประกอบสารหนูในอาหารเพื่อป้องกันโรคบิดมูกเลือด เป็นต้น

การป้องกันโรคที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
1. จัดหาน้ำสะอาดให้กินอย่างเพียงพอ และตลอดเวลา
2. การกำจัดมูลสัตว์ให้ถูกลักษณะสุขาภิบาล โรคสุกรหลายชนิดมีการแพร่ระบาดโดยเชื้อปน
ออกมากับอุจจาระ เช่น โรคพยาธิต่าง ๆ โรคอหิวาต์สุกร โรค ที.จี.อ. ฯลฯ การกำจัดมูลสุกรจะลดการแพร่กระจายเชื้อได้ พื้นคอกจึงควรสร้างให้ลาดเอียงไปทางตอนท้ายเล็กน้อย เพื่อใช้ระบายหรือชะล้างได้ง่าย หรืออาจใช้เป็นพื้นสแลต ( Slatted floor ) ซึ่งทำให้มูลสัตว์ตกลงช่องระบายทันที
3. การกำจัดสัตว์และแหล่งนำโรคมีการป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นเข้าไปภายในฟาร์ม มีโปรแกรม
กำจัดปรสิตภายนอกอย่างสม่ำเสมอ เช่น แม่สุกรท้องแก่ ควรได้รับการกำจัดเห็บ เหา หมัดไร ก่อนนำเข้าโรงเรือนคลอด เพราะเหาสุกรเป็นพาหะนำโรคอเพอร์โทรซูโนซิส เป็นต้น
4. การควบคุมสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การระบาดอากาศที่ดี ไม่ร้อนอบอ้าว ไม่มีฝุ่นละออง
อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ที่นำมาจากฟาร์มอื่นต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคก่อนน้ำเข้าฟาร์ม ทุ่งหญ้าที่ตรวจพบมีไข่พยาธิอยู่ก็ควรหลีกเลี่ยงการให้สัตวืเลี้ยงลงแปลงอย่างเด็ดขาด
การป้องกันโรคที่เกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เกิดโรค
1. การตรวจหาสาเหตุของโรคโดยเร็วและรักษาทันที เมื่อสัตว์เริ่มมีอาหารป่วยควรตรวจร่างกาย
และตรวจทางห้องปฏิบัติการหาสาเหตุอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้ทำการรักษาทันที ทำให้สัตว์ป่วยหายจากโรคเร็วขึ้น และลดโอกาสหรือระยะเวลาการแพร่โรคจากสัตว์ป่วยไปยังสัตว์อื่น เช่น สุกรมีอาการโลหิตจาง ดีซ่าน และแท้ง ต้องรีบตรวจร่างกาย และตรวจเลือดหาสาเหตุทันที อาจพบเชื้อเลปโตสไปร่า หรือ อิเพอร์โทรซูน ซอิส เป็นต้น
2. การค้นหาและกำจัดพาหะของโรค สุกรทุกตัวควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ โดย
เฉพาะสุกรพ่อและแม่พันธุ์ เช่น การกำหนดเป็นโปรแกรมสุขภาพมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสภาวะโรคแท้งติดต่ออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เมื่อพบตัวที่เป็นพาหะหรือให้ผลบวกต่อการทดสอบเชื้อ ให้รีบรักษาหรือคัดทิ้งหรือกำจัดออกจากฟาร์ม เพื่อไม่ให้แพร่โรคต่อไป
3. การควบคุมแหล่งแพร่เชื่อ
3.1 แยกสัตว์ป่วยออกจากฝูงไว้ในคอกกักกัน ทำการฆ่าเชื้อโรคสิ่งขับถ่ายและอุปกรณ์ที่
สัมผัสกับสัตว์ป่วย
3.2 แหล่งแพร่เชื้อตามธรรมชาติ เช่น บอน้ำที่มีหอยคันอยู่มากและเป็นโฮสต์กึ่งกลางของ
พยาธิในไม้ลำไส้ ก็ให้ใช้จุนสีโรยรอบ ๆ บ่อ เพื่อทำลายหอย เป็นต้อน
3.3 สัตว์ที่นำมาจากฟาร์มอื่น ต้องตรวจสอบหรือแยกเลี้ยงต่างหากอย่างน้อย 30 วันจนแน่ใจ
ว่าไม่เป็นโรคติดต่อแล้ว จึงนำมาเลี้ยงรวมฝูงกับสัตว์ที่มีอยู่เดิมได้


ดัชนีที่เกี่ยวกับโรคสัตว์
เป็นเครื่องชีวัดสภาวะโรคของสัตว์ที่เลี้ยงในโรงเรือนหรือทั่วประเทศโดยมากเป็นการวัดปริมาณในลักษณะของอัตราส่วน หรือสัดส่วน ทำให้ทราบถึงลักษณะการกระจายของโรค แนวโน้มการเกิดโรคภายในฝูงสัตว์เพื่อใช้วางแผนแก้ปัญหาและป้องกันโรค และใช้ศึกษาทางวิทยาการระบาดเกี่ยวกับสัตว์ด้วย


อัตราอุบัติการณ์ของโรค ( Incidence rate )
หมายถึงจำนวนสัตว์ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่ ต่อหน่วยประชากรสัตว์ที่เฝ้าสังเกตในช่วงระยะเวลาที่กำหนด มักคำนวณออกมาเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์

อัตราอุบัติการณ์ของโรค = จำนวนสัตว์ป่วยที่เกิดขึ้นใหม่ x 100
จำนวนสัตว์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคขณะนั้น
ตัวอย่าง ในฟาร์มแห่งหนึ่งเลี้ยงสุกรรวมกันทั้งหมด 1,000 ตัว มีสุกรป่วยด้วยโรคอหิวาต์สุกร 600 ตัว ในเวลาเดียวกัน และก่อนหน้านี้ไม่เคยมีสุกรป่วยเลย
อัตราอุบัติการณ์ของโรค = 600 x 100
1,000
= 60 %
อัตราอุบัติการณ์ของโรค เป็นตัวบ่งชี้ถึงโอกาสที่จะเกิดโรคในฝูงสัตว์มีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีอุบัติการณ์ของโรคสูง สัตว์ที่เลี้ยงอยู่ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง และใช้ประเมินการป้องกันและควบคุมโรคว่าได้ผลเพียงใด ถ้าการป้องกันโรคได้ผลดี อัตราอุบัติการณ์ของโรคก็มีค่าต่ำ
อัตราความชุกของโรค
หมายถึงจำนวนสัตว์ป่วยทั้งหมดที่มีอยู่ทั้งเก่าและใหม่ต่อหน่วยประชากรที่จุดเวลากำหนด
อัตราความชุกของโรค = จำนวนสัตว์ป่วยทั้งหมด x 100
จำนวนสัตว์ทั้งหมดที่จุดเวลาเดียวกัน
ตัวอย่าง Talor ( 1981 ) รายงายการสำรวจสภาวะโรคพาร์โวไวรัสในสุกรประเทศอังกฤษ มีอัตราความชุกสูงถึง 53 % และเชื่อว่าลักษณะความชุกของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกันทั่วโลก
คิดคำนวณจาก
อัตราความชุกของโรคโวไวรัส ปี 1981
= จำนวนสุกรป่วยด้วยโรคพาร์โวไวรัส ปี 1981 x 100
จำนวนสุกรทั่วประเทศอังกฤษ 1981
ดัชนีนี้ใช้บอกสภาวการณ์ของโรค ทำให้ทราบถึงความต้องการด้านการรักษาและป้องกันโรค
อัตราตาย ( Mortality rate )
อัตราตายเฉพาะโรค = จำนวนสัตว์ตายด้วยโรคใด ๆ x 100
จำนวนสัตว์ที่เลี้ยงไว้ทั้งหมด
ตัวอย่าง ในฟาร์มแห่งหนึ่งมีการเลี้ยงสุกรรวมกันทั้งหมด 1,000 ตัว มีลูกสุกรอายุ 0 – 7 วัน จำนวน 100 ตัว อายุ 8 – 14 วัน 200 ตัว และอายุ 15 – 21 วัน จำนวน 100 ตัว ลูกสุกรดังกล่าวจายด้วยโรค ที.จี.อี. จำนวน 100 , 100 และ 25 ตัว ตามลำดับ

อัตราตายด้วยโรค ที.จี.อี. ในลูกสุกร 0 – 7 วัน = 100 x 100
100
= 100 เปอร์เซ็นต์
และอัตราตายด้วยโรค ที.จี.อี. ในลูกสุกรอายุ 8 – 14 วัน และ 15 – 21 วัน เท่ากับ 50 % และ 25 % ตามลำดับ
อัตราตายชนิดนี้ใช้เปรียบเทียบความรุนแรงที่เกิดกับสัตว์ในกลุ่มอายุต่าง ๆ ได้ดีทำให้ทราบถึงอันตรายและความเสี่ยงต่อการตายในสัตว์แต่ละอายุ และใช้วางแผนป้องกันโรคได้
ข้อมูลเบื้อต้นทางสรีรวิทยาของสุกร
พันธุ์สุกร สุกรพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมากในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ได้แก่ พันธุ์ลาร์จไวท์ แลนด์ เรช ดูร็อคเจอร์ซี่ แฮมเชียร์ เพียเทรียม และสุกรพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ไหหลำ สุกรป่า
ข้อมูลทางสรีรวิทยา
อุณหภูมิร่างกายปกติ 39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดที่ตรวจวัดได้ในสุกรปกติ 38.4 องศาเซลเซียส สูงสุด 40 องศาเซลเซียส
อัตราการหายใจ 20 – 30 ครั้งต่อนาที
ชีพจร 70 – 80 ครั้งต่อนาที
การเต้นของชีพจรจะเพิ่มมากขึ้นในลูกสุกรอายุน้อย ลูกสุกรแรกเกิดอาจสูงถึง 200 – 280 ครั้ง ต่อนาที
ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น ( P.C.V. ) 42 ( 32.0 – 50.0 ) เปอร์เซ็นต์
เม็ดเลือดแดง 7.2 ( 6.0 – 9.0 ) x 106 ต่อ มม. 3
เม็ดเลือดขาว 18.0 ( 10.0 – 23.0 ) x 103 ต่อ มม. 3
เกร็ดเลือด 400.0 ( 250.0 – 700.0 ) x 103 ต่อ มม. 3
ฮีโมโกลบิน 14.0 ( 11.0 – 17.0 ) กรัมต่อ 100 ซม.3



ปัจจัยทางด้านการสัตวบาล
1. อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสุกรขนาดต่าง ๆ
สุกรโตเต็มที่ คอกสุกรพันธุ์ 15 – 20 องศาเซลเซียส
คอกคลอด 15 – 18 องศาเซลเซียส
ลูกสุกรแรกเกิด น้ำหนัก 5 กก. 25 – 30 องศาเซลเซียส
ลูกสุกรแรกเกิด น้ำหนัก 5 - 18 กก. 23 – 27 องศาเซลเซียส
ลูกสุกรขนาด 19 – 45 กิโลกรัม 21 – 24 องศาเซลเซียส
สุกรขนาด 45 – 95 กิโลกรัม 13 – 18 องศาเซลเซียส
สุกรขนาด 90 – 115 กิโลกรัม 10 – 15 องศาเซลเซียส

ข้อมูลทางระบบสืบพันธุ์ของสุกร
วัยเจริญพันธุ์ เพศผู้ 8 – 9 เดือน เพศเมีย 7 เดือน
วงรอบการเป็นสัด 21 วัน
ระยะอุ้มท้อง 112 – 116 วัน
จำนวนลูกสุกรรอดชีวิตเมื่อแรกคลอด 10.8 ตัวต่อครอก
จำนวนลูกสุกรตายภายหลังคลอด 5 เปอร์เซ็นต์ ( ไม่เกิน 8 เปอร์เซ็นต์ )
น้ำหนักลูกสุกรเมื่อหย่านม
3 สัปดาห์ 5.44 กิโลกรัม
5 สัปดาห์ 11.34 กิโลกรัม
6 สัปดาห์ 13.60 กิโลกรัม

การป้องกันโรคทั่วไป
สาเหตุของโรค (ETIOLOGY ) แบ่งเป็น 2 ชนิด
1. สาเหตุโน้มนำ
2. สาเหตุแท้จริง
1. สาเหตุโน้มนำ คือสาเหตุหรือความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นในตัวสัตว์เองได้แก่
1.1 สาเหตุทางกรรมพันธุ์
1.2 ความผิดปกติของอวัยวะของสัตว์เอง
นอกจากนี้ยังมีเหตุอื่น ๆ ภายในสัตว์อีก เช่น
- ชนิดของสัตว์ โรคบางโรคเกิดกับสัตว์ชนิดหนึ่งแต่ไม่เกิดในสัตว์ชนิดอื่น เช่น อหิวาห์สุกร เป็นเฉพาะสุกร
- พันธุ์
- อายุ
- เพศ
- สีผิว
2. สาเหตุที่แท้จริง
2.1 สาเหตุทางกายภาพ เช่น ความร้อน รังสี (ultraviolet) กัมมันตภาพรังสี ความเย็นจัด กระแสไฟฟ้า ความกดดันของบรรยากาศ การกระทบกระแทก
2.2 สาเหตุทางเคมี ได้แก่ ได้รับสารเคมี เช่น กรด ด่าง โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ยาเบื่อ ฯลฯ และภาวะขาดอาหาร
2.3 สาเหตุจากเชื้อโรคและพยาธิ
การติดโรค
โรคที่เกิดกับสัตว์ บางโรคก็ติดต่อไม่ได้ บางโรคก็ติดต่อกันได้
โรคที่ติดต่อกันได้ ประเภทหนึ่ง เป็นโรคที่ติดต่อกัน โดยไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคแต่ เป็นการติดต่อทางกรรมพันธุ์ ประเภทนี้ถือว่าเป็นโรคระบาด
โรคที่ติดต่อกันได้อีกประเภทหนึ่ง ติดต่อกันโดยการแพร่ของเชื้อโรคเป็นสาเหตุของ โรคประเภทนี้ถือว่าเป็นโรคระบาด

การป้องกันโรคสัตว์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
เมื่อเกิดโรคขึ้น วิธีที่ดีที่สุด คือทำลายตัวที่ป่วยและแยกสัตว์ดีออกไป การทำลายเชื้ออาจทำได้ง่ายเพราะเชื้อถูกทำลายได้ง่าย โดยสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ยาฆ่าเชื้อจึงไม่ค่อยจำเป็น นอกจากนี้ยังป้องกันโรคได้โดยการฉีดวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ซึ่งจะให้ความคุ้มโรคได้ดี
การรักษาด้วยยา การรักษาความสะอาดทั้งหมดทุกระบบภายในฟาร์ม หรือในคอกและเล้าเลี้ยงสัตว์

การป้องกันโรคสัตว์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส
มีสถานเดียวที่ดี เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทำได้โดย ถ้าเป็นแม่สัตว์หรือลูก ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรค หรือการป้องกันโรคอีกวิธีหนึ่ง คือให้ แอนตี้เซรุ่ม โดยการกินก็ได้ ถ้าเป็นช่วงโรคมีการระบาด ต้องมีการจัดการเกี่ยวกับการสุขาภิบาลให้ดี

การป้องกันโรคสัตว์ที่เกิดจากเชื้อปาราสิต
มีการแยกสัตว์ดีกับสัตว์ป่วยออกจากกัน หรือออกจากฝูง ทำความสะอาดเรือนโรงเลี้ยงด้วยการฉีดพ่นยา และสามารถป้องกันพร้อมรักษาด้วยยาหรือการใช้ยาถ่ายก็ได้ หมั่นทำความสะอาดคอกและบริเวณที่ใช้เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดตลอดเวลา

การควบคุมโรคระบาดสัตว์
การควบคุมโรค หมายถึง การจัดการมิให้สัตว์ที่ป่วยแพร่เชื้อติดต่อไปยังสัตว์ตัวอื่น ๆ หรือ การจัดการมิให้สัตว์ที่เคยป่วยและรักษาจนหายดีแล้วติดเชื้อและเป็นโรคขึ้นมาอีก หรือ ทำให้สัตว์ที่เลี้ยงไว้ปราศจากโรค หลักการที่จะทำให้สัตว์ปราศจากโรคมีหลักการดังนี้
- ป้องกันไม่ให้มีการสัมผัสกันระหว่างสัตว์ป่วยกับสัตว์ดี
- สร้าง หรือเพิ่มความต้านทานโรคให้แก่สัตว์ดี
- ทำการบำบัดรักษาสัตว์ป่วยให้หายจากโรค และสร้างความต้านทานโรคแก่สัตว์นั้น ๆ

การควบคุมโรคระบาด
1. การลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรค ซึ่งสามารถทำได้โดย
2. การรักษาสัตว์ป่วย ทำให้ลดการเกิดโรคภายในประชากรสัตว์
3. การป้องกันโรค เป็นการป้องกันไม่ให้สัตว์สัมผัสกับเชื้อโรค
4. การสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่สัตว์
การควบคุมโรคระบาด (Eradication :)
การทำลายเชื้อโรคให้หมดไปจากโลกนี้ (Cockburn, 1963) การกำจัดโรคจะไม่สมบูรณ์ถ้าเชื้อโรคใดก็ตามยังมีชีวิตอยู่ได้ตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันมีเพียงโรคบางอย่างเท่านั้นที่สามารถกำจัดได้ตามความหมายนี้ เช่น human smallpoxการลดการเกิดโรคติดเชื้อโรคใดโรคหนึ่งจากพื้นที่ที่ต้องการจนถึงระดับที่ไม่เกิดการติดต่ออีกต่อไป (Andrews and Langmuis, 1963)
การควบคุมโรคระบาด (Eradication )
การลดโรคติดเชื้อจนอยู่ในระดับที่โรคหยุดชะงัก ไม่เป็นปัญหาต่อสุขภาพอีกต่อไป แม้ว่าการติดต่ออาจจะยังมีอยู่บ้างในเขตนั้น (Maslakov, 1968) การทำลายล้างเชื้อโรคใดโรคหนึ่งออกจากพื้นที่ที่เฉพาะ (เป็นความหมายที่ใช้กันมากในทางสัตวแพทย์)
หลักทั่วไปในการจัดการสุขภาพ เพื่อการควบคุมและป้องกันโรค
1. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณลักษณะที่ดี โดยคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะถูกต้องตามสายพันธุ์ มีการเติบโตดี ปราศจากโรคติดต่อและโรคทางพันธุกรรม
2. จัดการอาหารและน้ำที่ดี การให้อาหารที่มีโภชนะครบถ้วน ให้น้ำสะอาดปราศจากวัตถุปนเปื้อน
3. สารพิษตกค้าง จะทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง มีความต้านทานโรคดี การสังเกตและดูแลสุขภาพสัตว์เป็นประจำ การสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ด้วยตาเปล่า การสังเกตอาการผิดปกติไปจากธรรมดา การตรวจสุขภาพร่างกายสัตว์ที่แสดงออกให้เห็น เช่น ซูบผอม จมูกแห้ง ขนหยาบ ผิวหนังอักเสบ เยื่อเมือกซีดหรือเหลือง นัยน์ตาจมลึก น้ำตาไหลมาก อาการไอ หอบ หายใจลำบาก การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ สิ่งต่างๆ เหล่านี้บ่งบอกถึงสุขภาพของสัตว์
4. การคัดสัตว์ที่เป็นโรคและมีลักษณะผิดปกติออกจากฝูง คัดสัตว์ที่มีลักษณะไม่ดี เช่น แคระ
แกร็น อายุมากเกินไป หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับโรคติดต่อ
5. การใช้สารเคมีหรือยาฆ่าเชื้อโรค โดยการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดคอก โรงเรือน เพื่อทำลายเชื้อที่อยู่ในสถานที่ดังกล่าว นอกจากนี้ควรกำจัดอุจจาระ ปัสสาวะของสัตว์บ่อยๆ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อ
6. การปรึกษาสัตวแพทย์ในกรณีที่มีปัญหาโรคขึ้น โดยเฉพาะกรณีการเกิดโรคระบาดต้องรีบปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
7. การกักกัน หมายถึง การแยกสัตว์ออกมาโดยทีสัตว์เหล่านั้นมีการติดเชื้อหรือสงสัยว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่ง หรือสัตว์ที่ไม่มีการติดเชื้อแต่อยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
8. การทำลาย ในกรณีที่สัตว์เจ็บป่วยเรื้อรัง และเป็นแหล่งแพร่โรคให้กับสัตว์ตัวอื่น เพื่อเป็นการลดผลเสียทางเศรษฐกิจ จำต้องทำลายสัตว์นั้นเสีย หรือในรายโรคระบาดจำเป็นต้องกำจัดแหล่งของการแพร่เชื้อด้วย
9.การทำวัคซีนป้องกันโรค เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับสัตว์ เป็นการลดจำนวนสัตว์ที่มีภูมิไวรับต่อการติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้โรคระบาดลดลง
10. การให้ยาเพื่อบำบัดและป้องกันโรค ยาปฏิชีวนะ ยาถ่ายพยาธิ และยาอื่นๆ นำมาใช้เพื่อการบำบัดรักษา และยังนำมาใช้กับสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค
11. การควบคุมพาหะ โรคติดเชื้อทั้งหลายที่นำโดยพาหะต่างๆ สามารถควบคุมได้ด้วยการกำจัดพาหะของโรค
12.. ปรับปรุงสภาพแวดล้อม การเลี้ยง และการให้อาหาร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการจัดการการเลี้ยงดู

พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.๒๔๙๙
แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๔๒
พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๒
1. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๑-๗
2. หมวด ๑ การป้องกันโรคระบาด มาตรา ๘-๑๐
3. หมวด ๒ เขตปลอดโรคระบาด มาตรา ๑๑-๑๔
4. หมวด ๓ เขตโรคระบาด มาตรา ๑๕-๒๐
5. หมวด ๔ การควบคุมการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ มาตรา ๒๑-๒๔
6. หมวด ๕ เบ็ดเตล็ด มาตรา ๒๕-๓๘
7. หมวด ๖ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๙-๕๑
8. อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ

สัตว์ตามมาตรา ๔
1. สัตว์ใหญ่และสัตว์เล็ก ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ สุกร สุนัข แมว กระต่าย ลิง ชะนี และให้หมายความรวมถึงน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์ และเอ็มบริโอ (ตัวอ่อนของสัตว์ที่ยังไม่เจริญเติบโตจนถึงขั้นที่มีอวัยวะครบบริบูรณ์) ของสัตว์เหล่านั้น
2. สัตว์ปีก จำพวกนก ไก่ เป็ด ห่าน และให้หมายความรวมถึงไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ด้วย และ
3. สัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
สัตว์ตามมาตรา ๔ สัตว์ชนิดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
1. ฉบับที่ 11 (พ.ศ.๒๕๑๒): แรด กระซู่ สมเสร็จหรือผสมเสร็จ กูปรีหรือโคไพร ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมันหรือเนื้อสมัน ทรายหรือเนื้อทรายหรือตามะแน เลียงผาหรือเยียง หรือโครำหรือกูรำ กวางผา กระทิงหรือเมย วัวแดงหรือวัวดำ หรือวัวเพาะ กวาง อีเก้งหรือฟาน กระจงหรือไก้ อูฐ ยีราฟ ฮิปโปโปเตมัส เสือ สิงโต หมี แมวป่า นางอายหรือลิงลม ค่าง
สัตว์ตามมาตรา ๔
1. กฎกระทรวงฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๕๒๘) : ผึ้ง
2. กฎกระทรวงฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ.๒๕๔๑) : นากหญ้า
3. กฎกระทรวงฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ.๒๕๔๒) : หมูป่า
โรคระบาดตามมาตรา ๔
1. โรครินเดอร์เปสต์
2. โรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย
3. โรคแอนแทรกซ์
4. โรคเซอร่า
5. โรคสารติก
6. โรคมงคล่อพิษ
7. โรคปากและเท้าเปื่อย
8. โรคอหิวาต์สุกร
9. โรคอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
โรคอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๔๙๙)
1. วัณโรค
2. โรคพิษสุนัขบ้า
3. โรคขี้ขาว
4. กาฬโรคของสัตว์ปีก
5. โรคนิวคาสเซิล
6. โรคลาริงโกเทรคีไอตีสติดต่อ
7. โรคโลหิตจางติดต่อ
8. โรคบรูเซลโลซีส
9. โรคพลูโรนิวมอเนียติตต่อของโค กระบือ
10 .โรคอาโทรฟิกไรไนตีส
11. โรคเอนเซฟาโลไมอีไลตีส
โรคอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๒๘)
1. โรคอเมริกันฟาล์วบรูด
2. โรคยูโรเปี่ยนฟาล์วบรูด
3. โรคโนซีมา
4. โรคชอล์คบรูด
5. โรคแซคบรูด
6. โรคอัมพาตของผึ้ง
7. โรควาร์รัว
8. โรคโทรปิลิแลปส์
9. โรคอะคาไรน์
10. โรคเบราลา
โรคอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๔๔
1. โรคกาฬโรคเป็ด
2. โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า
3. โรคไข้หวัดใหญ่ม้า (ไวรัสไทป์เอ)
4. โรคไข้เห็บม้า
5. โรคแซลโมเนลลา
6. โรคดูรีน
7. โรคทริคิโนซีส
8. โรคนิวคาสเซิล
9. โรคบรูเซลโลซีส
10. โรคปากอักเสบพุพอง
11. โรคฝีดาษม้า
12. โรคโพรงจมูกและปอดอักเสบในม้า
13. โรคมดลูกอักเสบติอต่อในม้า
14. โรคเรื้อนม้า
15. โรคโลหิตจางติดต่อในม้า
16. โรคเรื้อนม้า
17. โรคเลปโทสไปรา
18. โรคโลหิตจางติดเชื้อในม้า
19. โรควัณโรค
20. โรควัวบ้า
21. โรคสมองอักเสบนิปาห์
22. โรคสมองและไขสันหลังอักเสบในม้า
23.โรคสมองและไขสันหลังอักเสบเวเสซู-เอลาในม้า
24. โรคสมองอักเสบเจแปนิส
25. โรคหลอดเลือดอักเสบติดเชื้อในม้า
26. โรคเอเวียนอินฟลูเอนซา
มาตรา ๕ ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องใช้บังคับตามกฎหมายฉบับนี้
1. สัตว์ของกระทรวงกลาโหม
2. สัตว์ของส่วนราชการอื่นที่กำหนดในกระทรวง
หน้าที่เบื้องต้นของเจ้าของเกี่ยวกับสัตว์เมื่อเกิดโรคระบาด
1. กรณีสัตว์ป่วย ควบคุม และห้ามเคลื่อนย้าย
2. กรณีสัตว์ตาย ควบคุม ห้ามเคลื่อนย้ายหรือชำแหละ
3. ระยะเวลาการควบคุม ๔๘ ชั่วโมง
4. การฝังซากสัตว์
5. สัตว์เล็ก ฝังซากสัตว์นั้นใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
6. สัตว์ใหญ่ ให้พูนดินกลมหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร









ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดและการทำลายสัตว์หรือ
ซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด
1. สัตว์ หมายความว่า สัตว์ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์และสัตว์อื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในกฎหมายดังกล่าว
2. ซากสัตว์ หมายความว่า ซากสัตว์ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
3. โรคระบาด หมายความว่า โรคระบาดตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ และโรคระบาดอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในกฎหมายดังกล่าว
4. สัตว์ที่เป็นโรคระบาด หมายความว่า สัตว์ป่วยด้วยโรคระบาด
5. สัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด หมายความว่า สัตว์ใดที่อยู่รวมหรือเคยอยู่รวมกับสัตว์ที่เป็นโรคระบาดอย่างใกล้ชิดอันอาจติดเชื้อโรคในระยะฟักเชื้อและสัตว์นั้นสามารถแพร่เชื้อโรคและระบาดออกไปยังสัตว์อื่นได้
6. ซากสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หมายความว่า ร่างกายหรือส่วนของร่างกายสัตว์ที่ตายด้วยโรคระบาดและให้หมายความรวมถึง งา เขา และขนที่ได้ตัดออกจากสัตว์ที่เป็นโรคระบาด ขณะมีชีวิตและยังไม่ได้แปรสภาพเป็นสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป
7. ซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด หมายความว่า ร่างกายหรือส่วนของร่างกายสัตว์ที่เป็น พาหะของโรคระบาดในขณะที่สัตว์นั้นยังมีชีวิตและยังไม่ได้แปรสภาพเป็นสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป
8. สัตวแพทย์ หมายความว่า สัตวแพทย์ของกรมปศุสัตว์และผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้ง เช่นหัวหน้าด่านกักกันสัตว์ ปศุสัตว์เขต ปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอ
9. ผู้รักษาราชการแทน หมายความว่า ผู้รักษาราชการแทนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือ ผู้รักษาราชการในตำแหน่งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี
10. ในการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด และการทำลายสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามระเบียบนี้ ให้ผู้สั่งทำลายสัตว์ดำเนินการเพื่อให้เจ้าของสัตว์ได้รับการชดใช้ราคาค่าสัตว์ซึ่งต้องถูกสั่งทำลายตามระเบียบนี้ในอัตราตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
11. ในกรณีที่เจ้าของสัตว์ได้จงใจกระทำความผิดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ เจ้าของสัตว์จะไม่ได้รับการชดใช้ราคาค่าสัตว์ซึ่งต้องถูกสั่งทำลายและในกรณีเช่นนี้ผู้สั่งทำลายไม่ต้องดำเนินการเพื่อให้เจ้าของสัตว์ได้รับการชดใช้ราคาค่าสัตว์ตามวรรคหนึ่งแต่อย่างใด
12. เมื่อได้มีการตรวจพิสูจน์ตามหลักวิชาการสัตวแพทยศาสตร์แล้ว ปรากฏผลเป็นที่แน่ชัดว่า สัตว์ใดเป็นสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาดแล้วแต่กรณี ให้สัตวแพทย์หรือผู้รักษาการแทนแห่งท้องที่พบสัตว์นั้น มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ทำลายสัตว์นั้น
13. ให้สัตวแพทย์ในตำแหน่งต่อไปนี้มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามชนิดของสัตว์ในคราวหนึ่งๆ ได้ไม่เกินจำนวนดังต่อไปนี้
14. ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคระบาด (สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์)มีอำนาจ
- สั่งทำลายโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา และ/หรือล่อ คราวละไม่เกิน ๕๐๐ ตัวหรือ
- สั่งทำลายไก่ เป็ด และ/หรือห่าน คราวละไม่เกิน ๒๐๐๐๐ ตัว
15. หัวหน้าด่านกักสัตว์ มีอำนาจ
- สั่งทำลายโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา และ/หรือล่อ คราวละไม่เกิน ๒๕ ตัวหรือ
- สั่งทำลายไก่ เป็ด และ/หรือห่าน คราวละไม่เกิน ๕๐๐ ตัว
16. ปศุสัตว์เขต มีอำนาจ
- สั่งทำลายโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา และ/หรือล่อ คราวละไม่เกิน ๑๐๐ ตัวหรือ
- สั่งทำลายไก่ เป็ด และ/หรือห่าน คราวละไม่เกิน ๗๐๐๐ ตัว
17. ปศุสัตว์จังหวัด มีอำนาจ
- สั่งทำลายโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา และ/หรือล่อ คราวละไม่เกิน ๕๐ ตัวหรือ
- สั่งทำลายไก่ เป็ด และ/หรือห่าน คราวละไม่เกิน ๕๐๐๐ ตัว
18. ปศุสัตว์อำเภอ มีอำนาจ
- สั่งทำลายโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา และ/หรือล่อ คราวละไม่เกิน ๒๕ ตัวหรือ
- สั่งทำลายไก่ เป็ด และ/หรือห่าน คราวละไม่เกิน ๕๐๐ ตัว
19. ใช้วัตถุมีพิษให้สัตว์กินหรือฉีดเข้าร่างกายสัตว์เพื่อให้สัตว์นั้นตาย
20. ฆ่าทำลายสัตว์ด้วยปืนชนิดยิงสัตว์โดยเฉพาะ ยิงสัตว์นั้นให้ตาย หรือ
21. ฆ่าทำลายด้วยอาวุธปืนตามกฎหมายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนฯ และสิ่งเทียมอาวุธปืน ในกรณีเช่นนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอแห่งท้องที่จังหวัดหรืออำเภอนั้นก่อนแล้วแต่กรณี
22. ซากสัตว์ที่ได้จากการทำลายให้ผู้ทำลายสัตว์จัดการฝังซากสัตว์เหล่านั้นใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
23. ให้ใช้วิธีการต่อไปนี้ ทำลายซากสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามลักษณะของซากสัตว์ดังนี้
- ซากสัตว์ซึ่งมีลักษณะยังเป็นตัวสัตว์ทั้งตัวอยู่
- ให้ผู้สั่งทำลายซากสัตว์มีคำสั่งให้ฝังซากสัตว์ใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตรอีกด้วย
- ใช้สารเคมีที่สามารถฆ่าทำลายเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคต่างๆ ได้ ทำการแช่ ราด หรือโรยที่ส่วนต่างๆ ของซากสัตว์นั้นจนทั่ว หรือ
- ใช้ไฟเผาซากสัตว์นั้นให้ไหม้จนหมดสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น: