วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 1 ประวัติความสำคัญ

บทที่ 1
ประวัติความสำคัญ

กล่าวนำทั่วไป
เวชกรรมป้องกัน กล่าวได้ว่า เป็นศาสตร์ว่าด้วยการศึกษา จาก การสังเกต การจำแนกความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดปรากฎต่าง ๆ ขึ้น หรืออุบัติการณ์ของโรค จากการใช้เหตุผล และสมมุติฐานเป็นสำคัญ
เวชกรรมป้องกัน กล่าวได้ว่า คือ ศาสตร์ของการเรียนรู้ธรรมชาติ ธรรมชาติมีปรากฏการณ์อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้นทุกเมื่อเชื่อวันไม่เปลี่ยนแปลง เวชกรรมป้องกันจึงสามารถตั้งเป็นกฏแห่งความจริงนั้น ๆ ได้ เป็นความจริงที่สามารถพิสูจน์ ได้ ว่าเป็นความจริงตลอดเวลา เวชกรรมป้องกันไม่ต่างกันกับธรรมชาติ คือสรรพสิ่งหรือสิ่งแวดล้อม เป็นศาสตร์ว่าด้วยการเรียนรู้ความจริงตลอดเวลา

ประวัติความสำคัญ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร เพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะอาชีพทางการเลี้ยงนั้น ได้มีการพัฒนาระบบการเลี้ยงไปทั้งประมาณและคุณภาพ ทั้งนี้เนื่องจากเพื่อผลิตอาหารทางด้านเนื้อสัตว์ให้เพียงพอกับประชากรของประเทศและของโลก ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งสัตว์เนื้อสัตว์ออกไปขายยังต่างประเทศ เป็นอันดับต้น ๆ ปีหนึ่ง ๆ รายได้จากการนำสัตว์ไปขายยังต่างประเทศมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นนโยบายหลักของรัฐบาล ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน คือการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการกินดีอยู่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
1. ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ
1.1 ในสภาวะที่สัตว์ป่วยเป็นโรคนั้นจะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาและในบางครั้งอาจถึงกับสูญเสียชีวิตสัตว์
1.2 มีผลต่อการส่งสินค้าไปต่างประเทศ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย ในโค กระบือ
1.3 เพิ่มค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรค
2. ความสำคัญด้านสาธารณสุข
2.1 สุขภาพอนามัยของประชาชน รัฐบาลมุ่งเน้นให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคและพยาธิในปศุสัตว์ที่มีอยู่มาก ในจำนวนโรคเหล่านี้บางโรคสามารถติดต่อมายังคนได้
2.2 รัฐบาลต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการที่จะต้องรักษาผู้ป่วยจากการติดโรคจากสัตว์ และการผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโรคในสัตว์เป็นจำนวนเงินไม่ใช้น้อย
3. ความสำคัญของการศึกษาโรคและพยาธิปศุสัตว์
3.1 เพื่อให้เกษตรกรที่ประกอบอาชีพสัตว์เลี้ยงจำเป็นอย่างยิ่งต้องศึกษาเกี่ยวกับโรคและพยาธิ
3.2 เพื่อจะได้รู้จักและป้องกันการเกิดโรคทั้งต่อตนเองและต่อสัตว์เลี้ยงได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นผลดี ในด้านผลผลิตภายในประเทศ และการส่งสัตว์ออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศ พร้อมกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การแบ่งลักษณะของโรค
การที่สัตว์เกิดโรคนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างมาประกอบกัน คือ D = H + A + E
Host เกี่ยวกับตัวสัตว์เอง ถ้าสัตว์ใดมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีความต้านทานโรคดี สัตว์จะป่วยเป็นโรคได้ยาก ถ้าสัตว์ใดมีความอ่อนแอ ไม่มีความต้านทานโรค เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปก็จะทำให้เป็นการเกิดโรคได้ง่าย
Agent ตัวเชื้อโรค ถ้าตัวสัตว์ได้รับเชื้อโรคเข้าไปมีความรุนแรงพอก็ทำให้สัตว์ป่วยเป็นโรคได้ง่าย ถ้าความรุนแรงของเชื้อโรคไม่พอ สัตว์ก็จะป่วยได้ยากหรือเป็นอย่างอ่อน
Environment สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของสัตว์มาก สัตว์ที่เคยอยู่ที่อบอุ่น หรือหนาว ถ้านำมาเลี้ยงในแถบร้อน เช่นไทย สัตว์นั้นก็จะเกิดโรคได้ง่าย อัตราการเจริญเติบโตไม่ดี ให้ผลผลิตต่ำ เช่น วัวพันธุ์ Holstein Friesian ซึ่งเป็นวัวนมพันธุ์ดีจากสวิสเซอร์แลนด์ มีสถิติการให้นมสูงสุด ถ้านำวัวพันธุ์นี้มาเลี้ยงในประเทศไทยที่มีอากาศร้อน วัวนี้จะให้ผลผลิตต่ำกว่าลูกผสมเสียอีก และยังเป็นโรค Babesia ได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงของอากาศจากร้อนเป็นหนาว และจากหนาวเป็นร้อนทันทีทันใด ก็จะมีผลกระทบกระเทือนแก่สัตว์เหมือนกัน
การที่สัตว์จะเกิดโรคได้นั้น จำเป็นต้องมีปัจจัยดังกล่าวมาแล้วเสริมซึ่งกันและกัน และการเป็นโรคนั้นยังมีระยะความรุนแรงของโรคต่างกันดังนี้ คือ
Per acte ความรุนแรงชนิดเฉียบพลัน
Acute ความรุนแรงชนิดร้ายแรง
Sub – acute ความรุนแรงชนิดชนิดอ่อน
Chronic ความรุนแรงชนิดเรื้อรัง

การแบ่งลักษณะของโรคสัตว์ แบ่งได้ดังนี้
1. แบ่งตามลักษณะอาการของการแพร่โรค
1.1 โรคติดต่อหรือโรคระบาด Coutagios Disease คือ โรคที่ติดต่อได้โดยทางตรงหรือ ทางอ้อม และติดต่อแพร่ระบาดไปได้รวดเร็วเป็นโรคที่เกิดจากการมีเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หรือ เกิดจากสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Bacillus anthracis โรคอหิวาห์สุกร ( Swine Fever ) เกิดจากเชื้อ Tortor suis
1.2 โรคติดต่อ ( Non Coutagious disease ) คือโรคที่เกิดขึ้นแล้วไม่มีการติดต่อไปยังตัวอื่น เป็นโรคเฉพาะตัว เช่น โรคขาดอาหารต่าง ๆ การเกิดบาดแผล อาหารติดคอ โรคท้องอืดในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ฝี และหนองธรรมดา เป็นต้น
2. แบ่งตามชนิดของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรค
2.1 โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ( Bacterial disease ) เช่น บาดทะยัก (Tetanus ) วัณโรค ( Tuberculosis ) โรคคอบวม ( Hemorrhagic septicemia )
2.2 โรคที่เกิดจากไวรัส ( Viral disease ) เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย ( Foot and Mouth disease ) โรคพิษสุนัขบ้า ( Rabies )
2.3 โรคที่เกิดจากตัวเบียฬ ( Parasitic disease ) เช่น โรคบิด ( Coccidiosis ) โรคขี้เรื้อน
( Mange )
2.4 โรคที่เกิดจากเชื้อรา ( Fungal disease ) เช่น ฝีระคำร้อย (Epizootic lymphangitis)
3. แบ่งตามระยะเวลาของการเกิดโรค
3.1 โรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ ( Heredity disease ) คือ โรคที่สืบเนืองมาจากไข่ (Ovum) และเชื้อตัวผู้ ( Sperm ) เช่น โรคไส้เลื่อนในสุกร ( Umbilical hermia ) โรคฮิบดีสพลาเซีย ( Hip displasia )
3.2 โรคที่เกิดขึ้นขณะเป็นลูกอ่อนก่อนคลอดหรือเป็นมาแต่กำเนิด ( Congenital disease ) โรคที่เกิดผิดปกติของการเจริญเติบโตของลูกอ่อนในท้อง เช่น โรคทวารหนักไม่เปิดในลูกสุกร โรคพยาธิตัวกลม โรคขี้ขาว ( Pullorum )
3.3 โรคที่เกิดขึ้นภายหลัง ( Acquired disease ) โรคที่เกิดขึ้นภายหลังโดยมีสาเหตุไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุอันแรกและที่สอง เช่น โรคลำไส้อักเสบ ( Enteritis ) โรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น อหิวาห์ไก่( Fonel cholera ) โรคบาดทะยัก ( Tetanus )

การติดต่อของโรค ( Transmission )
โรคสัตว์ มีสาเหตุ ๆ กันออกไปตามที่จำแนกแล้วทั้งหมด เชื้อโรคต่างชนิดกัน ย่อมต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกันในการดำรงชีวิตอยู่ทั้งในสิ่งแวดล้อม และในตัวสัตว์ที่มันเข้าไปทำให้เกิดโรคขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงสามารถจำแนกวิธีการที่เชื้อโรคต่าง ๆ ชนิดสามารถเข้าสู่ ( Infect ) ร่างกายสัตว์ได้ดังนี้
1. โดยการสัมผัสโดยตรง หมายถึง มีการติดเชื้อจากสัตว์ป่วยมายังสัตว์ที่ยังไม่ป่วยโดยตรง โดยไม่อาศัยพาหะอื่น ๆ วิธีนี้อาจเป็นไปได้โดย
- การกินสิ่งขับถ่าย ( excretion ) หรือสิ่งขับออก ( secretion ) ซึ่งมีเชื้อโรคของสัตว์ป่วยเข้าไป
- การสัมผัสกับผิวหนังที่ไม่มีบาดแผล เชื้อโรคจะแทรกซึมเข้าไปทางผิวหนังโดยตรง
- การเข้าทางบาดแผล เชื้อโรคบางชนิดที่เข้าทางบาดแผลของสัตว์ที่ยังไม่ป่วยได้ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
- โดยการสืบพันธุ์ ระหว่างสัตว์ป่วยกับสัตว์ที่ยังไม่ป่วย ส่วนใหญ่มักพบกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคของทางเดินระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น วิบริโอซีส ( Vibriosos )
2. ติดต่อโดยผ่านเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ คือ ติดต่อโดยเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่บนวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องมือในการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ รางอาหาร , รถขนส่งสัตว์ เป็นต้น
3. ติดต่อโดยสัตว์ที่เป็นตัวแพร่เชื้อ วิธีนี้ติดต่อโดยการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ ( infected animals ) แต่ไม่แสดงอาการให้เห็น และจำนำเชื้อไปสู่สัตว์ตัวอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้อาจเป็นสัตว์ชนิดเดียวกันหรือไม่ก็ได้ เช่น นกกระจอกสามารถนำเชื้ออหิวาห์ไก่ได้เป็นต้น
4. ติดต่อโดยเชื้อโรคอยู่ในดิน เชื้อโรคบางชนิดสามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน ๆ โดยอยู่ในรูปของ สปอร์ เช่น เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น
5. ติดต่อโดยกินจากอาหารและน้ำ โดยอาหารและน้ำที่ให้สัตว์กินไม่สะอาดมีการปนเปื่อนเชื้อโรคบางชนิดอยู่
6. ติดต่อโดยทางอากาศหรือลมหายใจ เชื้อโรคพวกนี้มีน้ำหนักเบาและมีขนาดเล็กมาก จะการกระจายอยู่ในอากาศ เมื่อสูดดมเข้าไปก็จะทำให้สัตว์ติดโรคนั้น ๆ ได้ง่าย เช่น เชื้อโรควัณโรค และเชื้อที่ทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
7. ติดต่อโดยแมลงบางชนิด เช่น เชื้อโรคโปรโตซัว พวก บาบีเซีย ( babesia ) สามารถถูกพาเข้าสู่สัตว์ที่ยังไม่ป่วย โดยอาศัยแมงดูดเลือดพวกเห็บ ( tick ) จึงเรียกว่าโรคที่เกิดจากเห็บนี้ว่า ทิค ฟีเวอร์ ( tick fever )
8. ติดต่อโดยเชื้อโรคที่พบในร่างกายของสัตว์ปกติ เชื้อบางชนิดอาศัยอยู่ในร่างกายสัตว์ปกติอยู่แล้ว แต่ไม่ทำให้เกิดโรค ยกเว้นในขณะที่สัตว์นั้นอ่อนแอลงเมื่อ เชื้อนี้ก็จะทำให้เกิดโรคขึ้นมาทันที เช่น โรคคอบวมในโค(Hemorrhagic septicemia)

ทางที่เชื้อโรคแพร่
โรคที่ที่เกิดกับสัตว์ทุกชนิดนั้นบางโรคก็ติดต่อไม่ได้ บางโรคก็สามารถที่จะติดต่อกันได้ จึงทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากสัตว์ตัวที่ป่วยไปสู่สัตว์ตัวอื่น ๆ ที่อยู่ด้วยกัน หรืออยู่ใกล้เคียงกันได้ สิ่งที่เราควรจะทราบเกี่ยวกับการแพร่ขยายของเชื้อโรคเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการหาวิธีป้องกัน และควบคุมเกี่ยวกับโรคและการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่สำคัญมีอยู่ 2 ทาง คือ
1. ทางที่เชื้อโรคแพร่ระบาดไปได้
1.1 ทางน้ำ ( Water )
1.2 ทางอาหาร ( Food )
1.3 ทางอากาศ ( Air )
1.4 ทางเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ( Inaterment )
1.5 ทางพาหะที่นำไป ( Vactor )
1.6 ทางอุจจาระและปัสสาวะ ( Feces and Urine )
1.1 ทางน้ำ ( Water ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไปได้ทางน้ำโดยเชื้อโรคสามารถที่จะปะปนอยู่ในน้ำที่สัตว์ป่วยดื่ม หรือ น้ำที่ใช้ในการล้างคอกและโรงเรือนของสัตว์ป่วย เช่น โรคหวัดไก่ โรคบิด เป็นต้น
1.2 ทางอาหาร ( Food ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคสามารถที่จะแพร่ระบาดไปได้โดยติดต่อไปทางอาหาร ที่ให้สัตว์กินได้ด้วย โดยการกินอาหารร่วมกันระหว่างสัตว์ดีและสัตว์ป่วย
1.3 ทางอากาศ ( Air ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคทางอากาศเป็นการแพร่ระบาดที่สำคัญทางหนึ่งและสามารถแพร่ระบาดออกไปได้อย่างกว้างขวางมาก เพราะการแพร่กระจายของเชื้อโรคทางอากาศจะกระจายออกไปได้ง่ายดาย ฟุ้งกระจายออกไปได้เร็วและกว้างไกลมาก
1.4 ทางเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ( Instrument ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคอีกทางหนึ่ง คือ การแพร่ระบาดทางเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ เช่น รถเข็นอาหาร ที่ตักอาหาร จอบ เสียม ที่ใช้ในการตักอาหาร และทำความสะอาดคอกต่าง ๆ ระหว่างคอกสัตว์และคอกสัตว์ป่วย เชื้อโรคสามารถติดต่อมากับเครื่องมือเครื่องใช้
1.5 ทางที่พาหะนำไป (Vactor ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโดยทางที่มีพาหะนำไป เช่น พวก เห็บ เหา ไร หมัด แมลงวัน ยุง หนู นก เป็นต้น พาหะพวกนี้จะเป็นตัวนำเชื้อโรคจากสัตว์ป่วยแพร่ระบาดไปสู่สัตว์ตัวอื่น ๆ ได้
1.6 ทางอุจจาระและปัสสาวะ ( Feces and Urine ) การแพร่ระบาดของเชื้อโรคทางอุจจาระและปัสสาวะนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากสัตว์ป่วยนั้นเกิดโรคที่สามารถที่ติดต่อได้ทางอุจจาระและปัสสาวะได้ เช่น โรค ปากและเท้าเปื่อย ( Food and Mouth Disease ) โรคอหิวาห์ ( Swine Fever ) เมื่อสัตว์ป่วยเป็นโรคนี้แล้วทำให้มีเชื้อโรคปะปนออกมากับอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ป่วย เพราะฉะนั้นจึงทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคทางอุจจาระและปัสสาวะได้
2. ทางที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายสัตว์
การแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่แพร่ออกไปแล้วเมื่อตัวสัตว์ได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ นั้นแล้ว ก็จะมีวิธีการที่เชื้อโรคจะหาวิธีการหรือหนทางเข้าสู่ตัวสัตว์ให้ได้ ซึ่งวิธีการและหนทางที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ตัวสัตว์ได้มี 7 ทาง คือ
2.1 ทางระบบหายใจ ( Respiratory System )
2.2 ทางระบบเครื่องย่อยอาหาร ( Digetive System )
2.3 ทางเยื้อหุ้มต่าง ๆ ( Membrance )
2.4 ทางผิวหนัง ( Skin )
2.5 ทางสายสะดือ และรก ( Umbilical and Placenta )
2.6 ทางอวัยวะสืบพันธุ์ ( Inoculation )
2.7 การฉีดเข้าร่างกาย ( )

2.1 ทางระบบหายใจ ( Respiratory System )
การเข้าร่างกายของเชื้อโรคทางระบบหายใจ จะเกิดขึ้นได้โดยการอยู่ร่วมกันของสัตว์ป่วยและสัตว์ดี แล้วหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่ระบาดทางอากาศ เช่น โรคหวัดใหญ่ วัณโรค
2.2 ทางระบบเครื่องย่อยอาหาร ( Digetive System )
การเข้าสู่ร่างกายของเชื้อโรคทางระบบเครื่องย่อยอาหาร เกิดขึ้นได้เรื่องจากการกินอาหารรวมกัน ของสัตว์ดีและสัตว์ป่วย หรือเกิดจากการกินอาหารของสัตว์ดีที่กินอาหารที่สกปรก มีเชื้อโรคชนิดนั้นเจือปนเข้าไปด้วย ทำให้เกิดโรคได้
2.3 ทางเยื่อหุ้มต่าง ๆ ( Membrance )
การเข้าสู่ร่างกายของเชื้อโรคทางเยื่อบุนั้น ๆ เกิดได้เนื่องจากเยื่อหุ้มนั้น หรืออวัยวะส่วนที่ได้รับเชื้อโรคแล้วเชื้อโรคผ่านเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อหุ้มอวัยวะนั้น ๆ เลย เช่น เยื่อหุ้มตา
2.4 ทางผิวหนัง ( Skin )
การที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายสัตว์ทางผิวหนังนี้ได้ก็เป็นวิธีการหนึ่ง ซึ่งผิวหนังตามปกติของคนและสัตว์จะสามารถป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดีพอสมควร ยกเว้นในกรณีที่ผิวหนังได้รับอันตรายเกิดการฉีกขาดขึ้น จะทำให้ผิวหนังเป็นแผลและเป็นทางที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
2.5 ทางสายสะดือ และรก ( Umbilical and Placenta )
วิธีการที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ตัวแม่ทำให้เกิดโรคแก่แม่สัตว์จนเชื้อโรคนั้นเข้าสู่กระแสโลหิตของแม่ แล้วติดต่อไปยังลูกที่อยู่ในครรภ์ ได้โดยทางสายสะดือและรก เพราะว่าการติดต่อส่งอาหารและออกซิเจนจากแม่ไปสู่ลูกอ่อนได้โดยทางสายสะดือนี้ จึงเป็นเหตุให้เชื้อเข้าสู่ลูกอ่อนทางสายสะดือได้ด้วย
2.6 ทางอวัยวะสืบพันธุ์ ( Inoculation )
เป็นโรคที่ติดต่อกันได้โดยการผสมพันธุ์ เช่น โรคบรูเซลโลซีส โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ต่าง ๆ
2.7 การฉีดเข้าร่างกาย ( )
การฉีดเข้าร่างกาย ได้แก่ทดลองฉีดเชื้อเข้าร่างกายสัตว์ เพื่อการทดลองเรื่องโรคต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น: